Home>>บ่นเรื่อยเปื่อย>>การสำรองข้อมูลคือการลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย
ลูกเต๋าที่หน้าเต๋าเขียนข้อความอ่านได้ว่า Profit Loss Risk
บ่นเรื่อยเปื่อยQNAP User Guide

การสำรองข้อมูลคือการลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย

หลายครั้งเลยที่เวลามีผู้ใช้งาน QNAP NAS หลายคนที่สอบถามปัญหาเข้ามา มันเป็นปัญหาที่รุนแรงถึงระดับข้อมูลสูญหาย ซึ่งมันป้องกันได้ด้วยการสำรองข้อมูลเก็บเอาไว้ แต่ก็อีกเช่นกันที่ส่วนใหญ่แล้วกลับไม่ได้มีการวางแผนสำรองข้อมูลเอาไว้เลย ไม่ใช่แค่ในกรณีของผู้ใช้งานทั่วไปเท่านั้นนะ แต่ผู้ใช้งานระดับองค์กรก็ด้วยเช่นกัน เวลาถามว่าทำไมไม่ทำ คำตอบที่ได้มักจะเป็นเรื่องของ “ไม่รู้ว่าจะวางแผนยังไง” “ไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง” และอีกเหตุผลยอดนิยมก็คือ “ไม่มีงบประมาณในการทำ” ผมว่ามันถึงเวลาต้องเปลี่ยนวิธิคิดแล้วละครับ

ไม่มีการแบ็กอัพ เพราะไม่รู้ว่าจะวางแผนยังไง

ผมเข้าใจนะ แบบว่ามือใหม่หัดขับ แน่นอนมันก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไง เป็นเรื่องปกติ แต่จริงๆ แล้วหลักการของการสำรองข้อมูล หรือการแบ็กอัพ มันไม่ได้ยากอะไรเลยนะครับ สำรองข้อมูล พูดง่ายๆ ก็คือ มีข้อมูลชุดเดียวกันมาสำรองไว้อีกซักชุด หรือมากกว่า เผื่อเกิดเหตุการณ์สุดวิสัยขึ้นมา ข้อมูลของเราก็จะไม่สูญหายไปตลอดกาล

เครื่องหมายคำถามสีส้ม ท่ามกลางเครื่องหมายคำถามสีดำ บนพื้นแบ็กกราวด์สีดำ

ถ้าไม่รู้ว่าจะวางแผนยังไง ง่ายสุด ลอง Google ดูสิครับ ด้วยคีย์เวิร์ดแบบง่ายๆ เช่น “การวางแผนสำรองข้อมูล” “การวางแผนแบ็กอัพ” หรือถ้าไม่ติดปัญหาเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ ก็ใช้คีย์เวิร์ดแบบเดียวกัน แต่เป็นภาษาอังกฤษแทน เช่น “plan data backup” “develop data backup strategy” อะไรแบบนี้ หรือถ้าขี้เกียจกว่านั้น และไว้ใจผม (ฮา) ก็อ่านบล็อก “วางแผนสำรองข้อมูลบน QNAP NAS ยังไง ให้แน่ใจว่าไม่ชิบหาย” ของผมเอาก็ได้

ไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง

ผู้ผลิตอุปกรณ์จำพวก NAS ไม่ว่าจะยี่ห้ออะไรก็ตาม เขาตระหนักถึงความสำคัญของการสำรองข้อมูลอยู่แล้ว ฉะนั้นเขาก็มักจะมีฟีเจอร์ หรือโปรแกรมเข้ามาช่วยเรื่องสำรองข้อมูลเอาไว้ให้

อินโฟกราฟิกแสดงตัวอย่างโซลูชันการแบ็กอัพด้วย HBS 3 ของ QNAP

QNAP NAS ก็เช่นกัน เฟิร์มแวร์ล่าสุด (ณ เวลาที่เขียนบล็อกนี้อยู่) เขาก็ได้ทำการรวบรวมโซลูชันในการสำรองข้อมูลให้ไปอยู่ในแอปเดียวคือ HBS 3 ซึ่งสามารถตั้งค่าการสำรองข้อมูลได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น จาก NAS สู่ NAS, จาก NAS สู่ Cloud storage และอื่นๆ อีกมากมาย อ่านบล็อก “QNAP NAS 101 – EP13: รู้จัก HBS 3 โซลูชันการแบ็กอัพของ QNAP NAS” และ “QNAP NAS 101 – EP14: การใช้งาน HBS 3 เพื่อสำรองข้อมูล” ของผมเพื่อทำความรู้จักกับโซลูชันนี้

ไม่มีงบประมาณในการทำ

อันนี้ผมเข้าใจนะ NAS ตัวนึงไม่ใช่ถูกๆ ฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ก็ไม่ใช่ถูกๆ เช่นกัน ลองคิดง่ายๆ คนทั่วๆ ไปใช้ QNAP NAS รุ่น 2-bay หรือ 4-bay ใส่ฮาร์ดดิสก์ไปซักลูกละ 2TB ก็เท่ากับมีข้อมูลที่เก็บไว้สูงสุด 2-6TB โดยประมาณ ถ้าต้องการสำรองข้อมูลทั้งหมด ก็ต้องหาโซลูชันที่สามารถเก็บข้อมูลได้ 2-6TB ด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นผู้ใช้งานระดับองค์กร ก็อาจจะต้องการความจุมากกว่านี้อีกด้วยซ้ำ มันก็ไม่ใช่ถูกๆ เลย จริงไหมล่ะ

แต่นั่นคือในกรณีที่คุณเอะอะก็จะสำรองข้อมูลทั้งหมดนะครับ ซึ่งอันนั้นผมเรียกว่า มักง่าย

ความเป็นจริงก็คือ โดยส่วนมากแล้ว ไม่ใช่ข้อมูลทุกชิ้นที่จะหายไม่ได้เลย ไม่ใช่ข้อมูลทุกชิ้นที่จะต้องสำรองเอาไว้รัวๆ เพราะมันไม่ได้มีการถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ คุณต้องทำการวางแผนให้ดีก่อน ว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่จำเป็นต้องสำรองข้อมูลไว้ มีความสำคัญขนาดไหน และต้องการการสำรองข้อมูลถี่ห่างขนาดไหน จากนั้นคุณก็จะประเมินได้ว่า แท้จริงแล้ว คุณต้องการเนื้อที่ในการสำรองข้อมูลมากแค่ไหนกันแน่ … สำหรับคนทั่วไป เอาเข้าจริงๆ คุณอาจต้องการ External HDD ขนาดซัก 2-4TB มาจิ้มเพื่อเก็บสำรองข้อมูลเท่านั้นเอง ไม่ได้จำเป็นต้องซื้อ QNAP NAS มาอีกตัวเพื่อสำรองข้อมูลด้วยซ้ำไป

ภาพช่วงเอวของผู้ชายใส่เสื้อยืดสีดำและกางเกงยีนส์ขาสั้น เอามือล้วงกระเป๋าออกมาว่าไม่มีอะไรอยู่ในกระเป๋า

ส่วนผู้ใช้งานในระดับองค์กร พวก SMEs หลายๆ ที่ที่เคยมาปรึกษาผม พอผมสอบถามเข้าจริงๆ ส่วนใหญ่มีข้อมูลน้อยกว่าที่คิดมาก ผมเคยเจอที่นึง พอสอบถามเข้า ปรากฏว่าข้อมูลที่เขาต้องเก็บไว้เนี่ยมีแค่ 40GB เองด้วยซ้ำ! ผมยังแปลกใจเลยว่าทำไมไม่ไปใช้ Cloud storage แบบ Business แทน ประหยัดกว่าเยอะ

แต่ถ้าเป็นพวก SMEs ในกลุ่มที่ต้องการเนื้อที่เก็บข้อมูลเยอะๆ (เช่น พวก Production house หรือพวกร้านค้าที่มีการถ่ายทำวิดีโอเยอะๆ) หรือองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ถ้าข้อมูลพวกนี้สำคัญจริงๆ การหาซื้อ QNAP NAS ความจุพอๆ กันอีกซักชุดเพื่อสำรองข้อมูลเอาไว้อีกเซ็ต มันก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าไหมอ่ะ ถ้าเทียบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากข้อมูลมันสูญหายไป?

ฉะนั้น เปลี่ยนความคิดนะครับ การสำรองข้อมูลไม่ใช่ค่าใช้จ่าย แต่มันคือการลงทุน

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Discover more from บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า