Skip to content
  • กว่าจะมาเป็น … นายกาฝาก
  • รู้จักนายกาฝาก
  • ติดต่อนายกาฝาก
บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
ข่าวเขาฝากมา
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล ยกทัพ SSD แบบพกพาความจุเต็มพิกัดทุกแบรนด์ในตระกูลออกจำหน่าย พร้อมนำเสนอทางเลือก SSD แบบพกพาความจุสูงถึง 4TB ที่หลากหลายให้กับผู้ใช้งานทั่วไปและระดับโปรเฟสชันนัลในยุคที่สตอเรจจำเป็นต้องเร็วและมีความทนทาน
  • realme จัดแคมเปญ ‘Empower The Next Gen’ เสริมพลังขับเคลื่อนคนรุ่นใหม่ เปิดพื้นที่โชว์ 4 ศักยภาพอย่างไร้ขีดจำกัด
  • ชี้เป้าสมาร์ทโฟน 5G สุดคุ้ม “Galaxy A42 5G” จากซัมซุง เร็วแรงพร้อมลุยทุกการใช้งาน ในราคาหมื่นต้น!
  • ดีแทคจับมือยารา เปิดตัว Kaset Go เครือข่ายดิจิทัลชุมชนเพื่อเกษตรกรแห่งแรกในประเทศไทย
  • อาร์ทีบีฯ ส่งแพ็กคอนเทนต์ครีเอเตอร์!!! ชุดหูฟัง ATH-M40x พร้อมไมโครโฟน ATR2500X-USB ของ Audio-Technica ราคาสุดคุ้มเอาใจผู้ผลิตคอนเทนต์
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล เปิดตัว WD_BLACK SN850 NVMe SSD มอบอีกขั้นของความเร็วแรงบนเทคโนโลยี PCIe® GEN4 รุ่นใหม่
Home>>บทความ How-to>>วางแผนสำรองข้อมูลบน QNAP NAS ยังไง ให้แน่ใจว่าไม่ชิบหาย
บทความ How-toQNAP User Guide

วางแผนสำรองข้อมูลบน QNAP NAS ยังไง ให้แน่ใจว่าไม่ชิบหาย

นายกาฝาก
มกราคม 25, 2019 2447 Views1

ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางแผนสำรองข้อมูลบน QNAP NAS เอาไว้แล้วในบล็อกเก่าของผม แต่เนื่องจากเวลาผ่านไป ผมย้ายบล็อก และพบว่ายังมีมิตรสหายผู้ใช้ QNAP NAS บางท่าน ยังไม่เข้าใจกระจ่างเรื่องการแบ็กอัพข้อมูลซักเท่าไหร่ ผมก็เลยขอหยิบมารีรันในบล็อกใหม่อีกทีนะครับ เพราะอีกไม่นาน บล็อกเก่าก็จะหายไปแล้วล่ะ (รอโดเมนเนมหมดอายุ)

บทความนี้เหมาะกับใคร?

บทความนี้เหมาะกับผู้ใช้งานระดับองค์กร โดยเฉพาะพวก SOHO (Small Office/Home Office) ที่ไม่ได้มีไอทีคอยดูแลเป็นตัวเป็นตน แต่หากใครเป็นมือใหม่หัดใช้ NAS ในองค์กรระดับที่ใหญ่ขึ้นกว่านี้ ก็สามารถอ่านได้เช่นกันครับ

ทำไมต้องสำรองข้อมูลด้วย?

ถ้าผู้บริหารถามคุณแบบนี้ละก็ แววความชิบหายนี่เห็นไวๆ เลยนะครับ ให้ตอบผู้บริหารกลับไปว่า พระท่านว่า “ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง ข้อมูลอยู่ดีๆ ยังสูญหายได้” แม้ว่าเราจะเก็บข้อมูลลงไปใน NAS และเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์สำหรับ NAS โดยเฉพาะแล้วก็ตาม มันไม่ได้หมายความว่า NAS จะไม่มีทางพัง ฮาร์ดดิสก์จะไม่มีทางเจ๊งนะครับ และที่สำคัญ อย่าคิดว่าเราจะสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้ 100% ยังกะซีรี่ส์ CSI หรือในหนังฮอลลีวู้ดเด็ดขาด

ถ้าวันนึงข้อมูลมันหาย แล้วบริษัทจะชิบหายไหม? ถ้าคำตอบคือใช่ นั่นแหละ เหตุผลว่าทำไมถึงต้องสำรองข้อมูล

นายกาฝาก

ให้ย้อนกลับไปถามตัวเองว่า สมมติว่าอยู่มาวันนึงข้อมูลมันหาย ไม่ว่าจะเพราะเผลอลบทิ้ง หรือ ฮาร์ดดิสก์เจ๊ง หรือไฟไหม้บริษัท วอดวายไปทุกอย่าง แล้ว บริษัทจะชิบหายไหม? ถ้าคำตอบคือใช่ นั่นแหละ เหตุผลว่าทำไมถึงต้องสำรองข้อมูล … โอเคปะ

แล้วยังไงถึงจะเรียกได้ว่ามีข้อมูลสำรองเอาไว้?

เวลาเราก็อปปี้ข้อมูลมาไว้อีกชุด นั่นเรียกว่าการทำสำเนาครับ พอมีข้อมูลสองชุด ชุดนึงหายไป อีกชุดก็สามารถเอามาใช้ต่อได้ แบบนี้คือเรียกว่ามีข้อมูลสำรองเอาไว้แล้ว แต่การสำรองข้อมูลที่ดี ควรจะต้องมีลักษณะตามนี้ครับ

  1. มีข้อมูลเดียวกันอย่างน้อย 2 ชุดขึ้นไป
  2. ข้อมูลที่ถูกสำรอง ควรได้มีการอัพเดตให้ตรงกับข้อมูลต้นฉบับเสมอ
  3. ข้อมูลต้นฉบับและที่ถูกสำรอง ควรจะอยู่บนคนละสื่อบันทึกข้อมูล เพราะเผื่อสื่อบันทึกข้อมูลเจ๊ง ข้อมูลอีกชุดก็ยังอยู่รอด
  4. ข้อมูลที่ถูกสำรอง ควรจะอยู่ละพื้นที่ (Location) กับข้อมูลต้นฉบับด้วย เพราะเผื่อเกิดไฟไหม้ น้ำท่วม ภัยพิบัติอะไรขึ้นมา ข้อมูลอีกชุดก็จะได้ยังอยู่รอด

เงื่อนไขตามแบบด้านบนเนี่ย มันคือสุดยอดการสำรองข้อมูลในอุดมคติชัดๆ ครับ แต่เอาเข้าจริงๆ มันก็สามารถทำได้นะ ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน เงื่อนไขข้างต้นบางอัน มันสามารถใช้เทคโนโลยีและเทคนิคในการทำได้ครับ และไม่ได้จำเป็นว่าเราต้องเป็นออฟฟิศขนาดใหญ่ถึงจะทำได้ด้วยนะ บ้านๆ อย่างพวกเรา หรือออฟฟิศขนาดเล็ก ก็สามารถทำได้แล้วครับ สมัยนี้ ค่าใช้จ่ายมันถูกลงไปเยอะ เมื่อเทคโนโลยีมันก้าวไกลขึ้น

แล้วเราจะวางแผนการสำรองข้อมูลกันยังไง?

ในอุดมคติแล้ว มันจะดีมาก ถ้าเราสามารถสำรองข้อมูลทุกอย่างที่เรามีได้ แต่นั่นมันมีแต่จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงขึ้น ยิ่งถ้าเป็นผู้ใช้งานทั่วไปตามบ้าน หรือ ออฟฟิศขนาดเล็กแล้วละก็ คงจะจ่ายไม่ไหว จริงปะ ฉะนั้น เพื่อให้การสำรองข้อมูลเกิดขึ้นอย่างคุ้มค่าที่สุด ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดครับ

สองปัจจัยสำคัญในการพิจารณาวางแผนสำรองข้อมูลก็คือ

  • ข้อมูลอะไรบ้างที่คุณคิดว่าถ้าหายไปนี่ชิบหายแน่ … อันไหนที่คิดว่าหายไปชิบหายแน่ (เช่น ภาพถ่ายตอนไปเที่ยว ภาพถ่ายลูกตอนหัดเดิน ไฟล์งานเอกสารของออฟฟิศ) นั่นคือต้องสำรองข้อมูลไว้ อันไหนคิดว่าหายไปก็หาใหม่ได้ (เช่น เพลงหรือหนังที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต) ก็ไม่ต้องสำรองข้อมูล
  • ในบรรดาข้อมูลที่ต้องสำรองไว้นั้น ถ้าเกิดข้อมูลต้นฉบับสูญหายขึ้นมา เรายอมรับได้ว่าเวลากู้ข้อมูลไปแล้ว มันจะถอยกลับไปเก่าสุดได้แค่ไหน อันนี้เขาเรียกว่า กำหนด Recovery Point Objective (RPO) เช่น ไฟล์เอกสารอันนึงมันสูญหายไป เราก็ไปกู้กลับมาจากข้อมูลที่สำรอง ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเวอร์ชันเมื่อสัปดาห์ก่อนก็ยังโอเค แบบนี้เราก็คิดได้ง่ายๆ ว่า สำรองข้อมูลทุกสัปดาห์ก็พอ ไรงี้ … ปกติแล้ว เราพิจารณาจากความถี่ห่างในการอัพเดตของข้อมูล เช่น ถ้าเป็นภาพถ่าย ซึ่งไม่มีการอัพเดต แบบนี้สำรองข้อมูลไว้เดือนละหนก็ถี่พอแล้วด้วยซ้ำ แต่ถ้าเป็นไฟล์บัญชีการเงินของออฟฟิศ แบบนี้อาจจะต้องสำรองข้อมูลทุกชั่วโมง หรือเผลอๆ ก็ต้องสำรองข้อมูลแบบ Real-time เลย

เมื่อพิจารณาสองปัจจัยแล้ว ต่อมาก็มาดูกันว่ามีตัวเลือกอะไรบ้างในการสำรองข้อมูล และแต่ละวิธี มันปกป้องข้อมูลกันยังไง มีข้อดีข้อจำกัดยังไง

โจทย์แรก ป้องกัยข้อมูลสูญหายจากความเสียหายของสื่อบันทึกข้อมูลด้วย RAID

สำหรับผู้ใช้งานตามบ้านและออฟฟิศขนาดเล็ก (รวมไปถึงออฟฟิศขนาดใหญ่) เราสามารถตอบโจทย์เงื่อนไขที่ 1, 2 และ 3 ที่พูดถึงข้างต้นได้ด้วยการสอย NAS มาแล้วทำ RAID ครับ ซึ่งที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน และ ออฟฟิศขนาดเล็ก ก็จะเป็น

  • RAID1 สำรองข้อมูลโดยใช้ฮาร์ดดิสก์ 2 ลูก ทั้งสองลูกจะมีข้อมูลเหมือนกันเป๊ะ ลูกนึงเสียไป อีกลูกนึงก็ใช้งานต่อได้ ข้อเสียสำคัญคือค่าใช้จ่ายสูง เพราะว่าต้องซื้อฮาร์ดดิสก์สองลูกใช้งาน เช่น ถ้าต้องการความจุ 4TB ก็ต้องซื้อ 4TB สองลูก แพงเป็นสองเท่านั่นแหละ
  • RAID5 สำรองข้อมูลโดยการใช้ฮาร์ดดิสก์ 3 ลูกขึ้นไป แต่ละลูกจะมีการกันเนื้อที่บางส่วนเอาไว้เก็บข้อมูลที่เอาไว้สำหรับกู้ข้อมูล กรณีที่มีฮาร์ดดิสก์ลูกใดลูกหนึ่งเสียหาย RAID5 จะมีค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องใช้ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 3 ลูก แต่ที่ได้มาก็คือ เนื้อที่เก็บข้อมูลที่ดีกว่า RAID1 เพราะความจุที่ได้ จะมีค่าเท่ากับ ((N – 1) × ความจุ) เมื่อ N คือจำนวนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด เช่น ทำ RAID5 ด้วย 4TB × 3 ก็จะมีความจุ 8TB, 4TB × 4 ก็จะมีความจุ 12TB เป็นต้น … ข้อจำกัดคือ มันกู้ข้อมูลกลับได้แค่ในกรณีฮาร์ดดิสก์เจ๊งลูกเดียวเท่านั้นนะครับ
  • RAID6 จะคล้ายๆ กับ RAID5 แต่มันจะเก็บข้อมูลเอาไว้สำหรับกู้ข้อมูลมากกว่า เลยยอมให้กู้ข้อมูลกลับได้แม้จะมีฮาร์ดดิสก์เจ๊งไปสองลูก แต่ก็เลยต้องมีฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 4 ลูกครับ ส่งผลให้ได้เนื้อที่น้อยกว่า คือ
    ((N – 1) × ความจุ) เท่านั้นเอง

ในบรรดา RAID ที่ผมพูดถึงไปข้างต้น ที่ผู้ใช้งานตามบ้านหรือออฟฟิศขนาดเล็ก จะใช้กันบ่อยๆ ก็ RAID1 ไม่ก็ RAID5 ครับ เหมาะสำหรับ QNAP NAS ที่มีจำนวน 2 ถึง 4-bay แต่ในระดับสูงเนี่ย อาจจะมีการตั้งค่า RAID ซับซ้อนขึ้นไปอีก เช่น RAID10 (RAID0 + RAID1) หรือ RAID50 (RAID5 + RAID0) หรือ RAID60 (RAID6 + RAID0) อะไรแบบนี้ ซึ่งจะเหมาะกับพวกองค์กรขนาดใหญ่มากกว่า

แต่ต้องย้ำว่า RAID จะป้องกันข้อมูลสูญหายกรณีที่ฮาร์ดดิสก์เกิดเสียหายเท่านั้น แต่ถ้าเกิดเผลอลบไฟล์ หรือ เซฟผิดไฟล์ อะไรแบบนี้ RAID จะไม่ได้ช่วยอะไรเลยนะครับ นอกจากนี้ เมื่อฮาร์ดดิสก์เสียหายแล้ว RAID จะถูกปรับไปอยู่ในโหมด Downgrade ซึ่งระหว่างนั้นหากฮาร์ดดิสก์เกิดเสียหายเพิ่ม ก็จบกัน … ช่วงเวลานั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่เราควรจะรีบ

  1. สำรองข้อมูลออกมาเก็บไว้อีกชุดด้วยวิธีอื่น และ
  2. รีบหาฮาร์ดดิสก์มาเปลี่ยน เพื่อ Rebuid RAID (ซึ่งใช้เวลานานประมาณนึง ขึ้นอยู่กับความจุและจำนวนฮาร์ดดิสก์)

RAID ช่วยตอบโจทย์เรื่องการเก็บข้อมูลที่ถูกสำรองเอาไว้คนละสื่อบันทึกข้อมูล (RAID1) หรือ ให้ความคุ้มครองข้อมูลในลักษณะเดียวกัน (RAID5) นั่นหมายความว่า แม้สื่อบันทึกข้อมูลบางส่วน (ฮาร์ดดิสก์ 1 ลูก)​ จะเสียหาย ข้อมูลก็จะยังไม่ถึงกับสูญหายไปตลอดกาล

โจทย์ถัดมา การีข้อมูลสำรองอีกอย่างน้อย 1 ชุด ทำได้โดยฟีเจอร์ Snapshot บน QNAP NAS

ก่อนหน้า QTS 4.3.4 การจะทำ Snapshot มีข้อจำกัดอยู่ที่ต้องใช้รุ่นสเปกไฮโซประมาณนึง แต่ตอนนี้ รุ่นที่เป็น ARM ก็มีฟีเจอร์นี้แล้ว (แต่ต้องมี RAM อย่างน้อย 1GB) เราใช้ฟีเจอร์นี้แหละ ในการสำรองข้อมูลเอาไว้อีกชุดให้พร้อมสำหรับกรณีที่เกิดเผลอลบไฟล์ หรือ เผลอเซฟไฟล์ผิด อะไรแบบนี้

ในการวางแผนทำ Snapshot ต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้ด้วยครับ

  • มีข้อมูลที่จะต้องสำรองด้วยวิธีนี้มากน้อยแค่ไหน? เพราะการตั้งค่าเพื่อทำ Snapshot จะต้องทำตั้งแต่ตอนสร้าง Volume คือ ต้องกันเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์เอาไว้ เราจึงต้องรู้ก่อนว่า ข้อมูลที่จะต้องการสำรอง จะมีขนาดประมาณไหน แล้วคูณจำนวนเวอร์ชันเอาไว้เผื่อ
  • แล้วต้องการทำ Snapshot เอาไว้กี่เวอร์ชัน? เวอร์ชัน จะช่วยให้เรามีตัวเลือกสำหรับการกู้ข้อมูล เผื่อกรณีนี้เราเซฟไฟล์ผิด แต่เราจำไม่ได้ว่าผิดไปตั้งแต่เมื่อไหร่ การที่มีหลายเวอร์ชัน จะช่วยให้เราค่อยๆ ย้อนกลับไปดูได้ว่า เวอร์ชันไหนที่อยู่ก่อนหน้าที่เราจะเซฟผิด … จำนวนของเวอร์ชันก็จะส่งผลต่อเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ที่จะต้องเผื่อเอาไว้ทำ Snapshot ด้วยเช่นกัน

การทำ Snapshot นี่จะช่วยเรื่องการกู้ข้อมูลเผื่อเผลอลบ เผลอเซฟ และสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้ค่อนข้างรวดเร็ว และเลือกเฉพาะไฟล์ที่เราต้องการจะกู้ข้อมูลมาได้ แต่แม้ว่าจะทำ RAID1 หรือ RAID5 ก็แล้ว ทำ Snapshot ก็แล้ว แต่ถ้าไฟไหม้ NAS วอดวาย หรือมีโจรมาขโมย NAS ไป ข้อมูลก็หายไปอยู่ดีนะครับ เราต้องให้แน่ใจว่าจะมีข้อมูลสำรองเอาไว้อีกชุด ไปไว้นอกพื้นที่ด้วย

โจทย์สุดท้าย ใช้ Cloud storage ในการสำรองข้อมูลอีกชุดไปนอกพื้นที่

ไม่ว่าจะทำ RAID หรือ Snapshot มันก็ยังถือว่าเราสำรองข้อมูลอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ดังนั้น แม้ว่าเราจะมีข้อมูลมากกว่า 2 ชุดขึ้นไป หากเกิดภัยพิบัติขึ้นมา ฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดเสียหายไปพร้อมๆ กัน (หรือแค่มากเกินกว่าที่ RAID จะรับไหว) ข้อมูลมันก็สูญหายไปอยู่ดี

ถ้าเป็นออฟฟิศขนาดใหญ่ มีงบเยอะหน่อย ก็จะมีทางเลือกการทำ Rsync หรือ RTRR หรือที่เรียกว่า Remote Replication ได้ (คิดง่ายๆ มันคือการโยนข้อมูลไปไว้ใน NAS อีกตัว ที่อยู่นอกออฟฟิศ ประมาณนั้น)

แต่ถ้าเป็นผู้ใช้งานตามบ้าน หรือ ออฟฟิศขนาดเล็ก ก็เลือกใช้ Hybrid Backup Sync เพื่อเชื่อมต่อไปยังบริการ Cloud storage ต่างๆ เช่น OneDrive, Dropbox, Google Drive อะไรแบบเนี้ย แล้วทำการสำรองข้อมูลไปไว้บน Cloud เลย ตรงเนี้ย ก็แค่เลือกว่าจะสำรองข้อมูลอะไรบ้าง แล้วมันจะมีปริมาณข้อมูลขนาดไหน ซึ่งแต่ละเจ้าก็จะมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไปครับ

  • OneDrive ของ Microsoft เขาขายเนื้อที่พร้อมๆ กับบริการ Subscription ของ Office 365 ถ้าเป็นเวอร์ชัน Home ก็จะอยู่ที่ 2,899 บาท/ปี (ราคา​ ณ วันที่เขียนบล็อกนี้) เนื้อที่ที่จะได้รวมก็ 5TB (ได้ user ละ 1TB)
  • Dropbox เนื้อที่ 1TB จะมีค่าใช้จ่าย $99/ปี (ราวๆ 3,000 บาทนิดๆ)
  • Google One (ปัจจุบันประเทศไทยยังเป็น Google Drive อยู่ ณ ขณะที่เขียนบล็อกนี้) ประมาณ 4,000 บาท/ปี ได้เนื้อที่ 2TB

ดูๆ ไปแล้วอ่ะ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้งานตามบ้าน หรือผู้ใช้งานออฟฟิศขนาดเล็ก OneDrive จะคุ้มสุดครับ เพราะนอกจากจะได้ Cloud storage แล้ว ก็ยังจะได้ Office 365 มาใช้อีกด้วย

จริงๆ แล้ว ทางเลือกนี้ มันเอามาใช้แทนการทำ Snapshot ได้ด้วยนะครับ เพราะว่าข้อมูลที่ถูกเก็บไว้บน Cloud storage เจ้าใหญ่ๆ แบบนี้ มันมักจะมีการทำ Versioning เอาไว้ด้วยอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าข้อจำกัดของมันคือ มันต้องมีการรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา มันไม่เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ๆ ก็เท่านั้นเอง แต่ออฟฟิศใดที่เน้นการเก็บข้อมูลไฟล์เอกสารจำพวก Word/Excel/PowerPoint ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แบบไม่ถึง 100MB ละก็ ด้วยความเร็วเน็ตปัจจุบัน ผมอยากจะบอกว่ามันก็เร็วพอสำหรับการสำรองข้อมูลอยู่แล้ว

การเอาข้อมูลไปเก็บสำรองเอาไว้นอกสถานที่ ก็ต้องพิจารณาคล้ายๆ กับการทำ Snapshot ครับ คือ ต้องคำนึงด้วยว่าเราจะสำรองข้อมูลถี่ห่างขนาดไหน อยู่ที่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงบ่อยแค่ไหน ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ก็ต้องหมั่นสำรองข้อมูล ซึ่งอาจจะต้อง Real-time, ทุกๆ ชั่วโมง หรือ ทุกวัน หากจำเป็น แต่ถ้าข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงไม่บ่อยมาก ก็ปรับความถี่ห่างในการสำรองข้อมูลให้เหมาะสม เช่น สัปดาห์ละครั้ง หรือ เดือนละครั้ง เป็นต้น

อย่าเลือกทำแค่วิธีใดวิธีหนึ่ง

อ่านมาถึงตรงนี้ อย่าคิดแค่ว่าจะทำแค่วิธีใดวิธีหนึ่งนะครับ ผมแนะนำว่าต้องตอบโจทย์ให้ครบทั้งสามโจทย์ คือ ป้องกันฮาร์ดแวร์เจ๊ง ต้องเผื่อข้อมูลโดนลบโดยไม่ตั้งใจ และต้องเอาข้อมูลไปเก็บไว้นอกสถานที่ด้วย แบบนี้แหละ ถึงจะเรียกได้ว่ามีการสำรองข้อมูลเอาไว้ เต็มรูปแบบครับ

แชร์โลด:

  • Tweet
  • Print

โพสต์อื่นๆ ที่อาจสนใจ

Related tags : BackupNASQNAP
Share:

Previous Post

รีวิวเครื่องจ่ายสบู่เหลว Xiaomi Mijia Soap Dispenser

Next Post

“ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ” CEO ใหม่ธนชาตประกาศเป้าหมายธุรกิจเปิดทัพผู้บริหารแกร่ง ตั้งธงปีนี้เติบโตทุกด้าน!

Related Articles

บทความ How-toQNAP User Guide

ติดตั้ง SSL Certificate ฟรีให้ QNAP NAS ใช้ myQNAPcloud แบบปลอดภัย

QNAP NAS หลายๆ รุ่น พร้อมข้อความเขียนว่า มือใหม่หัดใช้ QNAP NAS ต้องรู้อะไรบ้าง? QNAP User Guideบทความ How-to

ไม่เคยมี NAS มาก่อน อยากซื้อ QNAP NAS เลือกรุ่นไหนดี?

บทความ How-toQNAP User Guide

QNAP NAS 101 EP21: แนวทางการป้องกัน Ransomware ด้วย QNAP NAS

ขวดกลีเซอรีนบอแรกซ์ แอลกอฮอล์ล้างมือ ขวดปั๊มเจลเปล่า และกระบอกฉีดยาขนาด 6 มิลลิลิตร บทความ How-toHow-to อื่นๆ

โปรเจ็กต์ DIY ตามเทรนด์ COVID-19 ทำแอลกอฮอล์ล้างมือใช้เอง ด้วยวิธีของกองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

ภาพของหน้าจอคอมพิวเตอร์ ที่มีรูปแม่กุญแจอยู่ตรงกลาง รูกุญแจเป็นรูปหัวกะโหลก และมีโซ่ล่ามอยู่กับแม่กุญแจ 4 เส้น บทความ How-toบ่นเรื่อยเปื่อยQNAP User Guide

ผู้ใช้ QNAP NAS ต้องระวัง Ransomware ตัวใหม่กันนะฮะ

1 Comments

  1. Pingback: 5 ฟีเจอร์หลักที่ QNAP NAS ช่วยโรงพยาบาลและคลีนิกในการบริหารจัดการข้อมูลได้

Leave a Reply Cancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Translate this blog

อย่าลืมกดไลค์

อย่าลืมกดไลค์

ล่าสุดบ่นอะไรไป?

My Tweets

สับตะไคร้ติดตามบล็อกของผม

ใส่อีเมลของคุณที่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกของบล็อกนี้ และรับการแจ้งโพสใหม่ผ่านทางอีเมล

© 2001-2020 kafaak.blog | Theme By WPOperation
ประกาศเรื่องการใช้คุกกี้ในเว็บไซต์นี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลการเยี่ยมชม หากยอมรับกรุณาคลิกปุ่มยอมรับด้านล่าง เพื่อยืนยันการเยี่ยมชมต่อ หากคุณไม่ยอมรับคุกกี้ ให้คลิกปุ่มปฏิเสธ แล้วเราจะนำคุณไปที่ Google.com แทน หากสงสัยว่าเราใช้คุกกี้ทำอะไร อ่าน นโยบายคุกกี้ เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม

ยอมรับ ปฏิเสธ
คำประกาศการใช้คุกกี้

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these cookies, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may have an effect on your browsing experience.
Necessary
Always Enabled

Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. This category only includes cookies that ensures basic functionalities and security features of the website. These cookies do not store any personal information.

Non-necessary

Any cookies that may not be particularly necessary for the website to function and is used specifically to collect user personal data via analytics, ads, other embedded contents are termed as non-necessary cookies. It is mandatory to procure user consent prior to running these cookies on your website.

SAVE & ACCEPT