Home>>รีวิว>>ใช้บริการ Technical support ของ Microsoft ครั้งแรก
ภาพการ์ตูนแบบเวกเตอร์ เป็นรูปของผู้ชาย 2 คน และ ผู้หญิง 1 คน ทุกคนสวมชุดหูฟังพร้อมไมโครโฟน คล้ายๆ เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการสนับสนุนทางโทรศัพท์
รีวิว

ใช้บริการ Technical support ของ Microsoft ครั้งแรก

ด้วยความซนของผมเองแหละ คนจริงมันต้องลองบนเครื่อง Production ผมก็เอาโน้ตบุ๊ก LG Gram ตัวใหม่ของผม (รีวิวจะตามมาเร็วๆ นี้ ที่ล่าช้าก็เพราะผมดันไปซนนี่แหละ) ไปลองเปลี่ยน Windows Product Key ดูครับ คือ เรื่องของเรื่องมันอยู่ตรงที่ผมไปเจอข่าวที่มีคนไปหลอกล่อถาม ChatGPT เพื่อขอ Windows Product Key มา แล้วมันก็ได้จริงๆ ผมก็เอาไปลองกับ Google Bard ดูบ้าง แล้วมันก็ดันตอบผมมาจริงๆ ผมก็อยากรู้ว่า อิ Product Key ที่ได้มา มันใช้ได้จริงไหม ก็เอาไปลองใช้ดู บางอันมันก็ไม่เวิร์ก แต่ก็มีบางอันเวิร์กครับ แต่ปัญหามันก็คือ Product Key ที่เวิร์ก มันก็ใช้ Activate ตัว Windows ไม่ได้ เพราะมันบอกว่าติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ Activate ตัว Windows ไม่ได้ ตรงนี้ผมเข้าใจว่า เพราะ Product Key ที่มันให้มา ดันไม่ใช่ของ Windows 11 Pro แต่เป็น Windows 11 Education ที่เป็น Enterprise และต้องมีเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่ Activate ให้ เพราะเป็น Volume license ครับ ความชิบหายก็มาเยือนตรงที่พออัปเกรดเป็น Enterprise edition แล้ว มันก็ค้างอยู่ตรงนั้นเลย ต่อให้เข้า Recovery แล้วทำการ Reset PC แล้ว มันก็ไม่ได้กลับไปเป็น Windows 11 Home Single Language ที่เป็นไลเซ่นส์ที่ผมได้มาพร้อมกับตัวโน้ตบุ๊กนะสิ

ใครที่อ่านบล็อกนี้ของผม แล้วอยากไปซน ลองขอ Windows Product Key จาก Google Bard แนะนำว่าอย่าไปลองทำกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้ทำงานนะ เพราะ Windows Product Key ที่ Google Bard ให้มา มันไม่ได้ใช้งานได้ทุกอัน ผมเดาว่ามันไปค้นๆ คุ้ยๆ จากเว็บต่างๆ ที่อาจจะมีเผลอทำ Windows Product Key หลุดออกมา แล้วมันก็ไม่รู้หรอกว่าอันไหนเป็นของ Windows เวอร์ชันอะไร เพราะอย่างที่ผมเจอ มันเปลี่ยน Windows 11 Home Single Language ของผมเป็น Windows 11 Education เฉยเลย ทั้งๆ ที่ผมขอ Windows 11 Pro นะ

ติดต่อ Technical support ของ Microsoft

การติดต่อ Technical support ของ Microsoft ทำได้ไม่ยากเลยครับ ก็ไปที่เว็บไซต์ของเขาที่ https://support.microsoft.com/th-th จากนั้นก็ไปล็อกอินด้วย Microsoft account ซะหน่อย ให้เขารู้ว่าเราเป็นลูกค้า (จริงๆ ไม่ต้องล็อกอินก็ได้) จากนั้นเราก็เลือกว่าอยากได้ความช่วยเหลือด้านไหน ของผมมีปัญหากับ Windows ผมก็เลือก Windows ไปครับ

หน้าเว็บไซต์ การสนับสนุน ของ Microsoft แสดงหัวข้อของผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ที่เราต้องการขอรับการสนับสนุน

โดยพื้นฐานแล้ว เว็บไซต์นี้จะพยายามให้ผู้ใช้งานได้เรียนรู้ด้วยตัวเองก่อน เราก็สามารถเลือกดู หรือค้นหาได้ว่า สิ่งที่เราต้องการจะทำเนี่ยมันมีสอนเอาไว้แล้วหรือยัง ผมอะ หาแล้วว่าวิธีการดาวน์เกรดจาก Windows Pro เป็น Home ทำยังไง มันไม่มี มันมีแต่ว่าจะอัปเกรดจาก Home เป็น Pro ได้ยังไง ผมเลยต้องเลือกวิธีการถัดไป คือ ขอรับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ครับ เราก็ Scroll ลงมาด้านล่างของเว็บไซต์เรื่อยๆ จนเจอตัวเลือกนี้

ด้านล่างของเว็บไซต์ของ Microsoft มีตัวเลือก รับการสนับสนุน ให้คลิก

เราก็คลิกเลย รับการสนับสนุน เลยครับ แต่จากตรงนี้ ผมขอบอกก่อนว่า การสนับสนุนจาก Microsoft เราเลือกภาษาไม่ได้ซะทีเดียวนะ ภาษาหลักในการสนับสนุน น่าจะเป็นภาษาอังกฤษครับ

หน้าเว็บไซต์ Contact us ที่มีการให้เลือกตัวเลือกผลิตภัณฑ์ของ Microsoft อีกครั้ง

จากตรงนี้ไป ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราขอรับการสนับสนุนสำหรับผลิตภัณฑ์ตัวไหน หน้าเว็บไซต์มันก็จะขึ้นตัวเลือก หรือ ช่องให้เรากรอกข้อมูล ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่เราเลือกครับ อย่างกรณีของผมอะ เป็น Windows มันก็จะถามว่าเป็น Home หรือ Business แล้วพยายามให้เรากรอกก่อนว่า ปัญหาของเราคืออะไร เป็น Windows เวอร์ชันไหน แล้วก็พยายามนำเสนอบทความ หรือ วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นให้เราได้อ่านก่อน เผื่อว่ามันจะตอบปัญหาเราได้ ก็จบ ไม่ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่

หน้าเว็บไซต์ Contact Microsoft Support ที่มี

แต่ถ้าเรารู้สึกว่า มันไม่มีคำตอบที่ช่วยเราได้ เราก็คลิกปุ่ม Contact Support ที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอได้เลยครับ ซึ่งเมื่อเราเลือกตัวเลือกนี้แล้ว มันจะถามว่าเราจะขอการสนับสนุนในผลิตภัณฑ์หรือบริการใดของ Microsoft ซึ่งบอกตรงๆ อันนี้ Microsoft ควรจะปรับปรุงหน่อยนะ เพราะมันถามเราไปตั้งเยอะ ไม่จำเลยซักนิดเหรอว่าเรากำลังต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อะไร เพราะกว่าจะมาถึงหน้าจอเนี้ย ผมตอบไปว่า Windows สองรอบแล้ว แต่นี่ตอบมาตอบรอบที่สาม

เมื่อกด Confirm แล้ว ก็จะขึ้นตัวเลือกที่เราเลือกได้ครับ ตอนนี้แหละ มันจะมีตัวเลือกเขียนว่า Provide your phone number and a support agent will call you คือ เราจะกรอกเบอร์โทรศัพท์ของเรา แล้วเดี๋ยวทีม Support ของ Microsoft จะโทรมาหาเราครับ

หน้าเว็บไซต์ของ Microsoft ที่ให้เลือกตัวเลือกสำหรับการขอการสนับสนุน

ในขั้นตอนนี้ ก่อนจะติดต่อกับทีม Support เราจะต้องกรอกเบอร์โทรศัพท์ เลือก รหัสประเทศ (Country code) ใส่เบอร์โทร แล้วถ้ามีไฟล์แนบใดๆ ที่จะช่วยให้ทีม Support ได้เข้าใจถึงปัญหาของเรามากขึ้น เราก็สามารถที่จะแนบไฟล์พวกนั้นเข้าไปได้ด้วย สูงสุด 10 ไฟล์ ไม่เกินไฟล์ละ 1GB

หน้าเว็บไซต์ของ Microsoft ที่ให้กรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และแนบไฟล์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการขอการสนับสนุน

ทำทุกอย่างครบ กด Confirm รอไม่เกิน 2 นาที เดี๋ยวก็มีเบอร์ต่างประเทศโทรมาหาเราครับ แต่ถ้าใครใช้ Whoscall หรือพวกแอปตรวจสอบเบอร์อยู่ มันอาจจะเด้งเตือนว่าเป็นมิจฉาชีพนะครับ ผมเข้าใจว่าเพราะเบอร์ที่โทรเข้ามามันไม่ใช่เบอร์โทรศัพท์จริงๆ น่าจะเป็นเบอร์ Skype ครับ (เขาเลือกใช้ VoIP เพื่อประหยัดค่าโทรต่างประเทศไง) มันก็จะได้เบอร์แบบนี้มา ฉะนั้น ถ้าเกิดเรากดขอให้ Microsoft โทรมา แล้วมันก็มีสายนี้เข้ามาเลย ก็รับได้แหละนะ

ประสบการณ์ในการรับการสนับสนุนจาก Microsoft

บริการสนับสนุนจาก Microsoft จะผสมผสานระหว่างระบบตอบรับอัตโนมัติ กับ เจ้าหน้าที่ครับ เริ่มต้นมันจะเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติก่อน มันจะถามเราว่าพร้อมจะรับบริการหรือยัง ถ้าพร้อมก็กด 1 หรืออยากขอเวลาเพิ่ม (เพราะดันโทรกลับมาตอนเรากำลังทำอะไรบางอย่างอยู่) ถ้าอยากได้เวลาเพิ่มก็กด 2 อะไรแบบนี้ เสียงตอบรับอัตโนมัติจะค่อนข้างฟังชัด สำเนียงฟังง่ายครับ

ในเคสของผม จะผ่านทีม Support 2 คนครับ คนแรกเขาจะทำหน้าที่รับเรื่องเราก่อน เพื่อดูว่าปัญหาคืออะไร ถ้าเป็นเรื่องจิ๊บๆ เขาแก้ไขเองได้ เขาก็น่าจะช่วยเราได้เลย แต่ถ้าเรื่องมันซับซ้อน เขาจะทำหน้าที่ส่งต่อไปยังอีกทีม ซึ่งทีมนั้นจะพร้อมทำรีโมตล็อกอินมาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เพื่อช่วยแก้ปัญหา กรณีของผม มันต้องทำรีโมตล็อกอินเข้ามาครับ ซึ่งเขาจะทำผ่านโปรแกรม Quick Assist

โปรแกรม Quick Assist นี่ หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ามีอยู่ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 เป็นต้นไปครับ มันคือโปรแกรมที่เอาไว้ให้เราทำรีโมตล็อกอินเข้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเข้าไปช่วยแก้ปัญหาได้ หรือจะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ในกรณีนี้ผมจะขอความช่วยเหลือจาก Technical support ของ Microsoft เขาก็จะสร้างโค้ด 6 หลักมาบอกผม ผมก็กรอกเข้าไป แล้วยินยอมให้เขาเข้ามารีโมตล็อกอินที่เครื่องผมได้ ก็เป็นอันจบ ในกรณีนี้ ถ้าบ้านใครทำ VPN หรือ ระบบเน็ตเวิร์กที่บ้านตั้ง Firewall มาดี เขาก็จะเชื่อมต่อผ่าน Quick Assist ไม่ได้นะครับ บ้านผมก็เป็นแบบนั้นแหละ เพราะผมใช้บริการของ VR Online ครับ 🤣🤣 ใครมีงบ แล้วอยากได้ระบบเน็ตเวิร์กบ้านแบบปึ้กๆ แนะนำบริการเขาเลย ส่วนผม อยากให้เขารีโมตล็อกอินเข้ามาได้ ผมก็เปลี่ยนไปใช้ WiFi hotspot แทน ง่ายสุด ดีกว่าไปไล่แก้ Firewall

ในจุดนี้ทีม Support เขาจะเตือนเราก่อนว่า หากมีข้อมูลอ่อนไหวใดๆ ที่กำลังเปิดดูอยู่ ให้ปิดหน้าจอให้เรียบร้อยก่อน เพราะเขาจะเห็นทุกอย่างที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเราครับ เขาจะอธิบายด้วยว่าเขาจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อแก้ปัญหาให้เรา อย่างในกรณีของผม สิ่งที่เขาต้องทำคือ แก้ Registry เพื่อเปลี่ยนเวอร์ชันของ Windows จาก Windows 11 Education กลับมาเป็น Windows 11 Home ครับ และเมื่อเปลี่ยนเรียบร้อย ก็ค่อย Reinstall Windows อีกที จากนั้นก็ค่อย Activate Windows อีกครั้ง ด้วย Windows Product Key เดิมของผม เท่านี้ผมก็ใช้กรรมของการเล่นซนของผมเกือบหมดแล้ว (ที่เหลือคือ ต้องลงโปรแกรมใดๆ ใหม่หมด)

ข้อสังเกตของการให้บริการของทีม Support ของ Microsoft

▶️ ทีม Support น่าจะเป็นชาวอินเดียเกือบหมดเลย ผมเคยได้ยินมาว่าหลายๆ บริษัทในอเมริกาใช้บริการ IT support จากประเทศนี้กัน ส่วนใหญ่สำเนียงจะไม่ได้ดีมากนัก แล้วเขาก็พูดเร็วจนเคยชิน เวลามารัวๆ บอกตรงๆ ฟังไม่รู้เรื่องเลยครับ นี่ขนาดผมทำงานในสภาพแวดล้อมแบบนานาชาติมา 15 ปี ภาษาอังกฤษคือภาษากลางในที่ทำงานผมเลยนะ

▶️ แต่ทีม Support ก็ใจเย็นดีมากครับ เราฟังไม่ทัน ก็ขอโทษ พูดอีกรอบได้ไหม ถ้าเราไม่มั่นใจ เราก็ทวนซ้ำอีกทีว่าเราได้ยินว่าจะเป็นแบบนี้ คุณถามมาแบบนี้ใช่ไหม คุณจะทำอย่างนี้ใช่ไหม พอเขาเริ่มรู้ว่าเราฟังไม่รู้เรื่อง เขาจะค่อยๆ พูดให้เราฟัง และพยายามพูดให้ชัดขึ้น ซึ่งช่วยได้เยอะ แต่มันจะฟังเหมือนเขากระแทกเสียงใส่เรา แต่เขาไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้นนะ บอกเลย

▶️ ทีมที่รีโมตล็อกอินมาช่วยเรา คือ ใจเย็นสุดดุจน้ำแข็ง เพราะเขาจะรอจนช่วยเราเสร็จจริงๆ อย่างที่บอก กรณีของผม ต้องแก้ Registry ซึ่งแป๊บเดียว แต่แก้เสร็จมันต้อง Reinstall Windows ครับ เพื่อจะใส่ Product Key เก่า มันใช้เวลาเป็นสิบนาที (หรือนานกว่า) เลยแหละ เขาก็รอจนเสร็จนะ แล้วค่อยปิดจ๊อบ


ภาพประกอบปกบล็อกโดย Midjourney AI v5.2

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Discover more from บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า