Home>>บทความ How-to>>QNAP NAS 101 – EP 2: อัพเดตเฟิร์มแวร์ QNAP NAS ทำยังไง?
บทความ How-toQNAP User Guide

QNAP NAS 101 – EP 2: อัพเดตเฟิร์มแวร์ QNAP NAS ทำยังไง?

QNAP NAS จะว่าไปแล้วมันก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนึงนั่นแหละครับ สเปกเบาๆ ก็ใช้หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม ARM ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้บนพวกสมาร์ทโฟนกับแท็บเล็ต ถ้าเป็นสเปกแรงๆ หน่อยก็ใช้หน่วยประมวลผล Intel หรือ AMD แบบที่ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์เลย ต่างกันแค่ว่ามันใช้ระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า QTS หรือก็คือตัวเฟิร์มแวร์ของ QNAP NAS นั่นเอง

การอัพเดตเฟิร์มแวร์ ไม่ใช่แค่เฉพาะสำหรับคนที่ซื้อ QNAP NAS มาใช้ซักพักนึงแล้วเท่านั้นนะครับ แต่ตอนที่ซื้อ QNAP NAS มาใหม่ๆ ก็อยากแนะนำให้อัพเดตด้วย เพื่อที่จะให้แน่ใจได้ว่า QNAP NAS ของคุณนั้น มีเฟิร์มแวรใหม่ล่าสุดไว้ใช้งาน

การอัพเดตเฟิร์มแวร์ของ QNAP NAS นั้น มีหลักๆ 4 วิธีครับ คือ

1. อัพเดตเมื่อได้รับแจ้งเตือนจากระบบตอนล็อกอิน
2. อัพเดตจาก Qfinder Pro
3. อัพเดตด้วย Live Update
4. อัพเดตแบบ Manual

การอัพเดตเมื่อได้รับแจ้งเตือนจากระบบตอนล็อกอิน

ปกติแล้วตัว QNAP NAS จะมีคุณสมบัติในการแจ้งเตือนเราว่ามีเฟิร์มแวร์ใหม่ แล้วอยากจะอัพเดตหรือไม่ มันจะบอกเลยว่ามีเวอร์ชันอะไรออกมาใหม่ แล้วถ้าเราคลิกตรง Release Notes เราก็จะได้อ่านว่ามันมีอะไรใหม่บ้างในเวอร์ชันนี้

พอล็อกอินเข้า QTS NAS Management ก็จะเจอแจ้งเตือนแบบนี้
พอล็อกอินเข้า QTS NAS Management ก็จะเจอแจ้งเตือนแบบนี้

ที่เราต้องทำก็แค่ติ๊กถูกตรงคำว่า Automatically restart the system if required for this update เพื่อให้ QNAP NAS ทำการรีสตาร์ทตัวเองถ้าจำเป็นในการอัพเดตครั้งนี้ แต่ถ้าคุณยังทำอะไรค้างเอาไว้อยู่แล้วกะว่าจะรีสตาร์ทเองทีหลัง ก็เอาติ๊กถูกตรงนี้ออกนะครับ จากนั้นก็คลิกปุ่ม Update แล้วก็แค่รอ แค่นี้ก็อัพเดตเฟิร์มแวร์ได้แล้ว

การอัพเดตจาก Qfinder Pro

แม้เราจะไม่ได้ล็อกอินเข้ามาที่ QTS NAS Management แต่ถ้าเราเปิด Qfinder Pro มันก็จะสามารถแจ้งเตือนเราได้ว่ามีเฟิร์มแวร์ใหม่รอเราไปดาวน์โหลดอยู่ โดยจะแจ้งเป็น Badge เขียนว่า New สีแดง แบบในรูปด้านล่าง

เวลาที่ NAS ตัวไหนมีเฟิร์มแวร์รออัพเดตอยู่ มันก็จะมีแจ้งเป็นตัวแดงเขียนว่า New แบบนี้
เวลาที่ NAS ตัวไหนมีเฟิร์มแวร์รออัพเดตอยู่ มันก็จะมีแจ้งเป็นตัวแดงเขียนว่า New แบบนี้

ที่เราต้องทำก็แค่คลิกตรงคำว่า New นั่นแหละ แล้วล็อกอินด้วย Username กับ Password ที่เป็น admin (ไม่จำเป็นต้องเป็น User ชื่อ admin ขอแค่มีสิทธิ์เป็น admin ก็พอ)

จากนั้นมันก็จะเปิดหน้าจอ Update Firmware ขึ้นมาแบบนี้ครับ วิธีง่ายสุดคือการเลือกตัวเลือก Automatically update the firmware to the latest version ซึ่งมันจะมีการบอกเอาไว้เลยว่าเวอร์ชันที่จะอัพเดตไปเป็นเวอร์ชันไหน และมีลิงก์ไปยัง Release Notes ให้คลิกด้วย

ที่เราต้องทำก็คือ คลิกปุ่ม Start เพื่อเริ่มอัพเดต … ซึ่งมันจะบอกสถานะว่าอัพเดตเฟิร์มแวร์ไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ตรงช่อง Progress (ทางด้านขวามือของ MAC Address) และคอยบอกสถานะด้วยว่าตอนนี้ NAS กำลังทำอะไรอยู่ในคอลัมน์ Status

สำหรับผู้ใช้งานระดับองค์กร หากมี QNAP NAS หลายตัวที่มีรุ่นเดียวกัน สามารถติ๊กถูกตรง Update all he devices with the same model number within the network เพื่อให้มันทำการอัพเดต QNAP NAS ที่รุ่นเดียวกันทั้งหมดเลย อำนวยความสะดวกได้มาก

วิธีนี้มีข้อจำกัดที่ต้องระวังเรื่องนึง คือ ถ้าเกิดอัพเดตเฟิร์มแวร์แล้วต้องรีสตาร์ท มันจะทำการรีสตาร์ทโดยอัตโนมัติเลยนะ แต่ยังไงซะ ผมก็อยากแนะนำว่าอัพเดตเฟิร์มแวร์แล้ว รีสตาร์ทซักทีก็ดีครับ

การอัพเดตด้วย Live Update

การอัพเดตด้วย Live Update ให้ไปคลิกตรง Control Panel จากนั้นดูตรงหัวข้อ System แล้วจะเห็น Firmware Update คลิกอันนี้แหละ

ที่ Control Panel > System คลิกตรง Firmware Update
ที่ Control Panel > System คลิกตรง Firmware Update

ในหน้าจอ Live Update มันจะบอกชื่อรุ่นของเรา เวอร์ชันของเฟิร์มแวร์ปัจจุบัน วันเดือนปีที่เฟิร์มแวร์ตัวนี้ออกมา ระยะเวลาที่ QNAP NAS ออนไลน์ และสุดท้ายคือสถานะ ซึ่งหากมันขึ้นว่า A new firmware version is available. Click “Check for Update” to update นี่แสดงว่ามีเฟิร์มแวร์ใหม่มารออัพเดตอยู่

ระบบจะทำการตรวจสอบว่ามีเฟิร์มแวร์เวอร์ชันอะไรใหม่มา ที่เหลือก็แค่ติ๊กถูกตรง Automatically restart the system if required for this update แล้วคลิก OK เพื่อเริ่มทำการอัพเดตครับ

จากนั้นก็แค่รอครับ อัพเดตเฟิร์มแวร์เสร็จ มันก็จะรีสตาร์ท QNAP NAS แล้วก็กลับมาพร้อมใช้อีกครั้งนึง

การอัพเดตแบบ Manual

ผมไม่ค่อยอยากแนะนำให้อัพเดตแบบ Manual ครับ สำหรับผู้ใช้งานตามบ้านเนี่ย วิธีนี้ไม่เหมาะ แต่ถ้าอยากลองของ ก็ไปที่เว็บไซต์ QNAP Dowload Center จากนั้นก็ระบุไปว่า QNAP NAS ของเราเป็นรุ่นไหน

ที่ผมบอกว่าวิธีนี้ไม่เหมาะกับคนทั่วไปก็เพราะว่าเราต้องระบุข้อมูล QNAP NAS ของเราให้ถูกต้องนี่แหละ ผู้ใช้งานบางคนอาจจะไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ และจำรุ่นไม่ได้อะนะ อย่างกรณีของผมนี่ ผมต้องเลือก

● Product Type เป็น NAS/Expansion
● Bay เลือกเป็น 3-Bay ตามรุ่นที่ผมใช้ประกอบการเขียนบทความนี้
● Model ก็คือรุ่นของ QNAP NAS ซึ่งก็คือ TS-351

จากนั้น มันก็จะขึ้นมาให้ว่ามีอะไรให้ดาวน์โหลดได้บ้าง ซึ่งเราก็คลิกไปตรง Operating System แล้วไอเท็มบนสุดจะเป็นเฟิร์มแวร์ตัวล่าสุดครับ คลิกตรงคำว่า Global เพื่อเริ่มดาวน์โหลด (จริงๆ จะคลิก USA หรือ Europe ก็ได้ แต่มันเหมาะกับคนที่อยู่ประเทศในโซนนั้นมากกว่า มันเป็นเรื่องของแบนด์วิธในการดาวน์โหลดน่ะ)

จากนั้นก็ไปที่ QTS NAS Management เปิด Control Panel ไปตรงหัวข้อ System แล้วคลิก Firmware Update จากนั้น คลิกตรงแท็บ Firmware Update

คลิกปุ่ม Browse แล้วไปเปิดไฟล์เฟิร์มแวร์ที่เราดาวน์โหลดมา จากนั้นคลิกปุ่ม Update System

แล้วก็ติ๊กถูกตรง Automatically restart the system after firmware update แล้วคลิกปุ่ม OK แล้วก็รอจนมันอัพเดตเสร็จ ก็คลิก OK เพื่อรีสตาร์ท QNAP NAS (แต่ถ้าไม่คลิก เดี๋ยวซักพักมันก็รีสตาร์ทเอง)

เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการอัพเดตเฟิร์มแวร์

เฟิร์มแวร์บางเวอร์ชันก็ต้องการ File system check

บางครั้งเฟิร์มแวร์ที่อัพเดตมันมีการปรับเปลี่ยนในเรื่องของ File system ด้วย ถ้าเราอัพเดตเฟิร์มแวร์มาเวอร์ชันนี้ เราจะต้องทำการรัน File system check ครับ ตัวระบบจะทำหน้าจอแจ้งเตือนมาแบบนี้ เราก็แค่คลิก Yes

จากนั้นแอป Storage & Snapshots ก็จะถูกเปิดออกมาเองโดยอัตโนมัติ แล้วก็จะเริ่มทำ File system check เองเลย เราก็แค่รอให้ครบ 100% เท่านั้นเองครับ

เปิดเครื่องมานานแล้ว ก่อนอัพเดตก็ควรจะรีสตาร์ทซะหน่อย

บางทีพอมีเฟิร์มแวร์ใหม่มาให้อัพเดต แต่เราเปิด QNAP NAS มานานประมาณนึงแล้ว ระบบจะมีการส่งข้อความเตือน เพื่อให้เรารีสตาร์ทเครื่องซะหน่อยก่อนจะอัพเดต ถามว่าจำเป็นต้องรีสตาร์ทไหม เราสามารถอัพเดตเฟิร์มแวร์โดยไม่ต้องรีสตาร์ทก็ได้ครับ แต่ผมก็อยากแนะนำให้รีสตาร์ทซักหน่อยจะดีกว่าครับ แล้วค่อยอัพเดตเฟิร์มแวร์

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Discover more from บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า