Home>>บทความ How-to>>QNAP NAS 101 – EP 8: การอัพเกรดจากฮาร์ดดิสก์ลูกเดียวไปเป็น RAID1
บทความ How-toQNAP User Guide

QNAP NAS 101 – EP 8: การอัพเกรดจากฮาร์ดดิสก์ลูกเดียวไปเป็น RAID1

สมมติว่าตอนที่เราซื้อ QNAP NAS มาใหม่ๆ เราอาจจะมีงบประมาณไม่มาก ก็อาจจะใส่ฮาร์ดดิสก์ไปลูกเดียวไปก่อน แล้วพอผ่านไปได้ซักพักนึง มีเงินแล้ว ก็อาจจะซื้อฮาร์ดดิสก์มาใส่เพิ่ม หรือในกรณีที่เกิดรู้สึกว่า ถึงเวลาที่จะต้องแบ็กอัพแล้ว ก็อาจจะซื้อฮาร์ดดิสก์มาเพิ่ม เช่น อาจจะเพิ่มอีกซักลูก เพื่อทำเป็น RAID1 ตรงนี้ QNAP เขามีเครื่องมือมาช่วยในการอัพเกรดจากฮาร์ดดิสก์ลูกเดียวไปเป็น RAID1 ได้โดยที่ไม่ต้องปิด NAS เลยครับ และบล็อกตอนนี้ก็จะมาขอพูดถึงวิธีการให้อ่านกันครับ

อ่านตรงนี้ก่อนนะ

สำหรับคนที่คิดว่า เอ๊ะ แล้วจะทำ RAID1 ไปทำไม หรือคิดว่า ทำไมต้องทำ RAID1 ล่ะ ทำไมไม่ไปทำ RAID5 เลย อะไรแบบนี้ คำตอบคือว่า QNAP เขาจะให้อัพเกรดกันเป็นขั้นเป็นตอนครับ ถ้ามีฮาร์ดดิสก์ลูกเดียว ก็จะต้องเริ่มไปที่ RAID1 ก่อน จากนั้นค่อยอัพเกรดจาก RAID1 ไป RAID5 ต่อไปครับ และถ้าใครอยากทำ RAID6 ก็อัพเกรดมาจาก RAID5 อีกทีนะครับ

ส่วนใครที่สงสัยว่า แล้วทำไมต้องแบ็กอัพด้วย แล้วแบ็กอัพแบบไหนถึงจะดี แนะนำให้อ่านบล็อกที่ผมพูดถึงเรื่องแบ็กอัพก่อนครับ

ตัวอย่างประกอบบทความนี้ QNAP TS-351 กับ WD Red 5TB 1 ลูก
ตัวอย่างประกอบบทความนี้ QNAP TS-351 กับ WD Red 5TB 1 ลูก

ตัวอย่างที่จะใช้ประกอบบทความนี้ เป็น QNAP TS-351 ที่ใส่ฮาร์ดดิสก์ WD Red 5TB ไป 1 ลูก เฟิร์มแวร์ QTS 4.3.6.0805 ซึ่งเราจะทำการอัพเกรดไปเป็นใส่ฮาร์ดดิสก์ 2 ลูก แล้วทำเป็น RAID1 นะครับ สำหรับรุ่นนี่ จะยุ่งยากหน่อย เพราะว่าการออกแบบมันทำให้เวลาเราจะถอดใส่ฮาร์ดดิสก์เพิ่ม เราต้องแกะฝาเครื่องออกมาเลย แอบไม่สะดวกนิดๆ

คำเตือน

ในการอัพเกรดจากฮาร์ดดิสก์ลูกเดียวไปเป็นหลายลูก หากเราจะทำ RAID ไม่ว่าจะ RAID1 หรือ RAID5 หรือ RAID6 ก็ตามแต่ หากมันจะอยู่กลุ่มเดียวกัน (RAID group เดียวกัน) ดีที่สุดคือให้ทุกลูกเป็นยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน ความจุเท่าๆ กันครับ

QNAP NAS แทบทุกตัว รองรับ Hot swap ฉะนั้นก็จะสามารถใส่ฮาร์ดดิสก์ใหม่ได้เลย ไม่ต้องปิดเครื่อง
QNAP NAS แทบทุกตัว รองรับ Hot swap ฉะนั้นก็จะสามารถใส่ฮาร์ดดิสก์ใหม่ได้เลย ไม่ต้องปิดเครื่อง

ขั้นแรกเลย ก็คือเอาฮาร์ดดิสก์มาใส่เข้าไปครับ เนื่องจาก QNAP NAS แทบทุกตัวนี่จะรองรับเทคโนโลยี Hot swap หรือการถอดเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ได้โดยไม่ต้องปิดเครื่อง เพื่อลดระยะเวลา Downtime ของระบบลง ฉะนั้น เราก็สามารถใส่ฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่เข้าไปได้ในทันที และแม้ QNAP TS-351 มันจะออกแบบมาให้การถอดยุ่งยากหน่อย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปิดเครื่องเพื่อใส่ฮาร์ดดิสก์ครับ

จากนั้น ไปที่ Storage & Snapshots แล้วไปตรงหัวข้อ Storage > Storage/Snapshots แล้วคลิกตรงปุ่ม Manage ครับ (ดูรูปด้านบนประกอบเลย)

จากนั้น ตรงหน้าจอ Storage pool management ให้คลิกปุ่ม Manage แล้วเราจะเห็นว่าตัวเลือกส่วนใหญ่จะเป็นสีเทากันหมดเลย ให้คลิกตรง Migrate ครับ

จากนั้นตรงหน้าจอ Migrate นั้น ก็คลิกเลือกตัวฮาร์ดดิสก์ที่เราเพิ่งใส่เข้าไปครับ ในกรณีนี้ผมใส่ไปเพิ่มลูกเดียว มันก็โชว์แค่ลูกนั้นแหละ เลือกเรียบร้อยก็คลิก Apply ไป จากนั้นมันจะขึ้นเตือนว่า ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ลูกที่เพิ่งใส่เข้าไปอะ มันจะโดนลบหมดนะ ชัวน์นะว่าจะไปต่อ ถ้าแน่ใจแล้วเราก็คลิก OK ไปครับ

จากนั้น สถานะมันจะขึ้นว่า Warning (Rebuilding) ครับ เราก็รอไปฮะ เพราะมันกำลังสร้าง RAID1 อยู่ จะใช้เวลานานมากน้อยแค่ไหน ก็อยู่ที่ว่าฮาร์ดดิสก์มีความจุมากน้อยแค่ไหน และมีข้อมูลอยู่ในฮาร์ดดิสก์มากน้อยแค่ไหนด้วย และในระหว่างนี้ ถึงแม้ว่าเราจะไม่ต้องปิดเครื่อง แต่ผมแนะนำว่าให้ใช้งานแค่การดูข้อมูล หรือก็อปปี้ข้อมูลออกจาก NAS มาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ใดๆ ของเราก็พอ อย่าเขียนข้อมูลอะไรลงไปในฮาร์ดดิสก์จะดีที่สุดครับ เพราะ RAID ยังไม่เรียบร้อยดี และต้องเข้าใจด้วยว่า ถ้าเราไปใช้งานดึงข้อมูลจาก NAS ความเร็วในการ Rebuild RAID1 ก็จะลดลงด้วย ต้องใช้เวลานานขึ้นในการสร้างครับ

จะใช้เวลานานแค่ไหน ไปคลิกดูตรงไอคอน Background Tasks ตรงหน้า Dashboard ของ QTS ครับ แล้วมันจะบอกเลยว่าเหลือเวลาอีกกี่ชั่วโมงกี่นาที … นี่ขนาดใช้ฮาร์ดดิสก์แค่ 5TB นะ โดนไปครับ 10 ชั่วโมงโดยประมาณ ฉะนั้น หากจะทำ แนะนำเลย ทำก่อนนอนครับ แล้วตื่นมามันคงเสร็จพอดี

โดยปกติแล้ว QNAP NAS จะตั้งค่า RAID Resync Priority เอาไว้ที่ Default (Medium speed) ครับ มันจะเป็นการรักษาสมดุลระหว่างการให้บริการต่างๆ ของ NAS ตามปกติ และการทำ Rebuild RAID แต่เราสามารถปรับตั้งค่าตรงนี้ได้ โดยมาที่ Storage & Snapshots แล้วคลิกตรงเครื่องหมายรูปฟันเฟืองตรงมุมบนด้านขวา เพื่อเข้ามาที่ Global Settings

● ถ้าเราต้องการเน้นว่าให้ NAS ยังคงให้บริการได้เต็มที่อยู่เหมือนเดิม ให้เราเลือก Service First (Low speed) ซึ่งจะทำให้การ Rebuild RAID ช้าลง แต่ตัว NAS จะยังให้บริการต่างๆ ได้ดี
● ถ้าเราต้องการเน้นให้ Rebuild RAID ได้เสร็จเร็วขึ้น ก็เลือกเป็น Resync First (High speed) ซึ่งจะทำให้ความเร็วในการ Rebuild เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องเข้าใจเลยนะครับว่าแบนด์วิธของฮาร์ดดิสก์จะถูกเอามาใช้ทำ Rebuild RAID เต็มเหนี่ยว และการให้บริการต่างๆ ก็จะมีสะดุดได้

ในกรณีที่คุณทำ Rebuild RAID ตอนกลางคืน ซึ่งมีคนเข้ามาใช้ NAS น้อย ก็เลือกเป็น Resync First ไปเลยครับ มันจะได้ความเร็วเพิ่มขึ้นราวๆ 20% เลยทีเดียว

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า