Home>>รีวิว>>ใช้มาพักใหญ่ๆ WD My Passport SSD 1TB เหมาะกับใคร ยังไงบ้าง?
WD My Passport SSD เสียบใช้งานอยู่ข้างๆ โน้ตบุ๊ก
รีวิว

ใช้มาพักใหญ่ๆ WD My Passport SSD 1TB เหมาะกับใคร ยังไงบ้าง?

ราวๆ 2 ปีแล้ว ที่ได้ใช้ WD My Passport SSD 1TB ตัวเวอร์ชันใหม่ปี 2020 ที่มีการอัปเกรดมารองรับ USB 3.2 Gen 2 ที่มีแบนด์วิธ 10Gbps ทำให้ตัว External SSD ตัวนี้สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 1,050MB/s ซึ่งเร็วเพียงพอสำหรับการถ่ายโอนข้อมูลไฟล์ขนาดใหญ่ระหว่างอุปกรณ์ รวมไปจนถึงการใช้งานไฟล์ขนาดใหญ่โดยตรงเลยด้วย และในบล็อกตอนนี้ ผมก็จะมาเล่าสู่กันอ่าน ถึงประสบการณ์ในการใช้งานประมาณ 2 ปีเศษๆ ครับ

ออกตัวล้อฟรีก่อน…

ประสบการณ์ในการใช้งาน WD My Passport SSD 1TB ตัวนี้มายาวนาน 2 ปี ได้รับความเอื้อเฟื้อมาจาก WD Thailand ที่ให้มาใช้ยาวนานมาก และเจ้านี่ก็ได้ช่วยผมในการทำงานหลายๆ อย่างจริงๆ ครับ

ถ้าใครอยากอ่านรีวิวในแบบแกะกล่อง ผมแนะนำให้ย้อนกลับไปอ่าน รีวิว WD My Passport SSD โฉมใหม่ปี 2020 ไวกว่าเดิม (kafaak.blog) ที่ผมเขียนไว้เมื่อสองปีที่แล้วก่อนครับ ส่วนในบล็อกตอนนี้ เป็นการทบทวนสิ่งที่ได้เคยรีวิวไป ว่าอะไรเป็นอะไร มีข้อสังเกตอะไรเพิ่มเติมไหม และคำแนะนำสำหรับคนที่จะซื้อหามาใช้งานเพิ่มเติม

ก่อนอื่น อยากบอกให้ได้อ่านกันก่อนว่า แม้มันจะเป็นรุ่นที่เปิดตัวมาเมื่อปี 2563 (ค.ศ. 2020) คือ 2 ปีมาแล้ว แต่เทคโนโลยีของพวกสื่อบันทึกข้อมูลแบบใช้เชื่อมต่อภายนอก หรือในกรณีนี้คือ External SSD พวกนี้มันไม่ได้พัฒนากันไปเร็วนักหรอกนะครับ เพราะสุดท้ายมันก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่เทคโนโลยีการเชื่อมต่อของพวกเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ ซึ่ง ณ ตอนนี้คอมพิวเตอร์จำนวนมาก ยังใช้พวก USB 3.2 Gen 2 (10Gbps) กันเป็นส่วนใหญ่ ถ้าใครอยากได้เร็วกว่านี้ ก็ต้องไปใช้ Thunderbolt 4 (40Gbps) ซึ่งอุปกรณ์แพงกว่ามาก และมีขั้นตอนเพิ่มเติมในการเชื่อมต่อ ส่วน USB 3.2 Gen 2×2 ที่ให้แบนด์วิธ 20Gbps นี่ น่าแปลกใจมากที่ไม่แพร่หลายเลยในหมู่ของโน้ตบุ๊ก ฉะนั้น สำหรับคนทั่วๆ ไปแล้ว WD My Passport SSD ที่รองรับ USB 3.2 Gen 2 (10Gbps) ก็ถือว่าเร็วปรี๊ดแล้วครับ

WD My Passport SSD เสียบใช้งานอยู่ข้างๆ โน้ตบุ๊ก

ประสบการณ์หลังจาก 2 ปี เป็นยังไงบ้าง มีอะไรที่ควรเข้าใจ?

สิ่งหนึ่งที่ผมพบในการใช้งานตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ก็คือ ความเร็วในการเชื่อมต่อเพื่อถ่ายโอนข้อมูลของ WD My Passport SSD นี่ มันขึ้นอยู่กับตัวอุปกรณ์ที่เราจะไปเชื่อมต่อด้วย และสาย USB ที่เราใช้นะ ตอนที่ผมรีวิวเมื่อปี 2563 ผมได้ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ราวๆ (เขียน) 836MB/s (อ่าน 684MB/s) โดยตอนนั้นผมใช้วิธีเชื่อมต่อแบบ เอาสาย USB-C to USB-C มาเสียบ USB-C to USB-A dongle แล้วเสียบกับพอร์ต USB-A ของโน้ตบุ๊ก ASUS ROG Strix ที่ผมเคยใช้ (ตอนนี้ขายไปแล้ว) แต่พอเอามาเสียบกับโน้ตบุ๊ก ASUS ZenBook 14 Duo UX482 ที่ผมใช้อยู่ในปัจจุบัน และใช้สายแบบ USB-C to USB-C เสียบกับพอร์ต USB-C โดยตรงเลย ความเร็วที่ได้คือตามสเปกมาก (อ่าน) 1,066MB/s (เขียน 1,028MB/s) ตามรูปด้านล่างนี่เลยครับ

ผลการทดสอบความเร็วของ WD My Passport SSD 1TB ด้วยโปรแกรม CrystalDiskMark 8.0.4

คือ WD My Passport SSD เขาเปลี่ยนแถมเป็นสาย USB-C to USB-C แล้ว แต่โน้ตบุ๊กของหลายๆ คน แม้จะมี USB 3.2 Gen 2 แต่มี Interface เป็น USB-A เขาก็อาจจะต้องเอา Dongle มาเปลี่ยน (WD My Passport SSD แถมหัวแปลงนี่มาให้) หรือบางคนอะ ก็ไปหาสาย USB-C to USB-A มาเสียบเลย แต่ไม่ใช่สาย USB-C to USB-A ทุกเส้น จะรองรับ USB 3.2 Gen 2 นะครับ ที่สำคัญคือ บ่อยครั้งที่มันไม่ได้มีสเปกบอกด้วยว่าสายมันรองรับการเชื่อมต่อที่มาตรฐานไหน ที่ผมเคยเจออะ คือ มีสาย USB-C to USB-A เส้นนึง เชื่อมต่อแล้ว ได้ความเร็วระดับ USB 2.0 จ้า วิ่งไปสิ 40MB/s ใครเจอแบบนี้ อาจจะก่นด่าตัว External SSD แต่จริงๆ แล้ว ปัญหานี้แก้ได้แค่เปลี่ยนสายครับ

ข้อดีที่ชัดเจนของ WD My Passport SSD ก็คือ เราได้พกพาความจุระดับ 1TB ในน้ำหนักที่เรียกได้ว่าเบามาก คือ 54 กรัม นั่นเพราะว่าตัว SSD NVMe M.2 มันมีขนาดไม่ใหญ่ และไม่ต้องไปใส่อุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือนอะไรเยอะมาก เหมือนพวก External HDD ที่เป็นแบบจานแม่เหล็ก มันจะตกหล่นบ้างอะไรบ้าง แม้จะในระหว่างการใช้งาน ก็ไม่ต้องกังวล ข้อมูลไม่เสีย แต่ถ้าเป็น External HDD เนี่ย ถ้าเกิดตกหล่น กระแทก ในระหว่างที่กำลังอ่านหรือเขียนข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์อยู่ละก็ โอกาสฮาร์ดดิสก์พัง สูงมาก

ดีไซน์ของ WD My Passport จะดูสวย มีลวดลายคลื่น และมีความจุให้เลือกตั้งแต่ 500GB, 1TB, 2TB และ 4TB สำหรับใครก็ตามที่อาจจะต้องการความจุที่ใหญ่เวอร์วัง เอาไว้ถ่ายโอนไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ หรือ ไฟล์ขนาดใหญ่ที่จำนวนมากๆ เรียกว่า ไฟล์ขนาด 1GB นี่ ลากไปวางปุ๊บ แทบจะเสร็จในทันที

หน้าต่างของ Windows Explorer ที่กำลังก๊อปปี้ข้อมูลขนาดประมาณ 1GB ซึ่ง

อย่างไรก็ดี ความเร็วในการอ่านสูงสุดตอนที่ทดสอบ ที่ผม และเว็บไซต์หลายๆ แห่ง นำเสนอ มันจะเป็นความเร็วสูงสุดในการอ่านและเขียนของข้อมูลนะครับ ซึ่งเป็นการอ่านและเขียนข้อมูลแบบ Sequential แต่ในทางปฏิบัติจริง มันจะเป็นการสลับกันระหว่างการเขียนแบบผสมผสานอะ คือ ในบางกรณีมันก็จะเป็น Sequential ถ้าเกิดว่าพื้นที่มันยังพอบันทึกข้อมูล และในบางกรณีมันก็จะเป็น Random read & write เพราะบางครั้ง (และหลายครั้ง) มันก็จะมีเนื้อที่ให้เก็บข้อมูลได้ประมาณนึง ก็เขียนหรืออ่านเป็น Sequential และอาจต้องกระโดดไปอ่านต่ออีกที่ ซึ่งความเร็วก็จะตกลงเหลือในระดับ Random read & write ฉะนั้น อย่าแปลกใจที่ความเร็วที่เราเห็น อาจจะตกลงมาเหลือซัก 600MB/s แบบในรูปด้านบน ซึ่งมันเกิดขึ้นได้

แต่ถึงจะวิ่งได้ไม่เต็มที่ ความเร็วมันก็ยังสูงมากๆ สำหรับการใช้งานของคนทั่วๆ ไป นะ ลองคิดว่าพวกไฟล์เอกสาร Word, Excel, PowerPoint ที่อย่างเก่ง ต่อให้ทำไฟล์มาบวมแค่ไหน ก็ซัก 100-200 เมกะไบต์แหละ ถ้าแค่นี้ แค่ลากมาวางก็เสร็จแล้ว แต่หากเป็นไฟล์จำนวนมากๆ หรือมีขนาดใหญ่มากๆ ระดับ 1-10 กิกะไบต์ ก็อาจจะต้องรอซัก 10-20 วินาทีเท่านั้นเอง ซึ่งก็ถือว่าเร็วปรี๊ดอยู่ดี

สรุปแล้ว WD My Passport SSD 1TB เหมาะกับใครบ้าง

ผมมองว่ามันเหมาะกับคนใช้งานตามบ้านทั่วไป คนทำงานในออฟฟิศ ดีไซน์มันเป็นแนวไลฟ์สไตล์ ใครที่ต้องการ External storage ที่ถ่ายโอนไฟล์ได้รวดเร็ว และต้องพกพาข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ ข้อมูลจำนวนมากที่พอรวมๆ ไฟล์เข้าไปแล้ว มีขนาดใหญ่ ผมก็อยากแนะนำตัวนี้เลยจริงๆ อย่างตอนที่ผมต้องเอาไฟล์รูปภาพแบบ RAW จำนวนมากๆ หรือ ไฟล์วิดีโอที่จะต้องมาทำงานต่อที่บ้าน ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ออฟฟิศ เสียบเจ้านี่ ลากแล้ววาง แป๊บเดียวจบ

หลายๆ คนที่ซื้อคอมพิวเตอร์สเปกดีๆ ใช้ตัดต่อวิดีโอได้สบายๆ แต่มีปัญหาว่า Storage ไม่ได้ใส่มาเยอะ อาจจะเอามาแค่ 256-512GB เท่านั้น จะเอามาเก็บฟุตเทจเยอะๆ ก็คงไม่ไหว ตัวเลือกการเก็บใส่ WD My Passport SSD ก็เป็นตัวเลือกที่ดีนะ เพราะสามารถทำงานได้โดยตรงจาก SSD เลย ไม่ต้องวุ่นวายถ่ายข้อมูลมาอยู่บนโน้ตบุ๊กก่อน และสามารถพกไปใช้ทำงานที่อื่นต่อได้เลย ดีงามมากๆ

ใครสนใจจะซื้อ คลิกตามลิงก์ด้านล่างได้ 4,690 บาท สำหรับความจุ 1TB

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า