Home>>บทความ How-to>>QNAP User Guide>>QVR Face สร้างระบบจดจำใบหน้าผ่านวิดีโอแบบเรียลไทม์ด้วย QNAP NAS
ภาพกราฟิกชื่อ QVR Face
QNAP User Guide

QVR Face สร้างระบบจดจำใบหน้าผ่านวิดีโอแบบเรียลไทม์ด้วย QNAP NAS

เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีจดจำใบหน้ามันล้ำมากครับ แค่มีฐานข้อมูลใบหน้าเก็บเอาไว้ แล้วเวลามีคนเดินผ่านหน้ากล้อง มันก็สามารถตรวจจับใบหน้า แล้วระบุตัวตนได้ทันที ฟังดูแล้วเหมือนจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ยุ่งยาก ฮาร์ดแวร์ราคาแพงเวอร์วังใช่ไหมล่ะ? แต่สำหรับผู้ใช้งานในระดับธุรกิจแล้ว เฉพาะส่วนของระบบจดจำใบหน้านั้น ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอาจจะแค่ไม่ถึงสามหมื่นบาท และค่าบริการรายปีประมาณปีละ 4,000-5,000 บาท เท่านั้นเองนะเออ ด้วย QNAP NAS และแอปพลิเคชัน QVR Face

โซลูชัน QVR Face นี่จะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถสร้างระบบจดจำใบหน้าผ่านวิดีโอแบบเรียลไทม์ได้แบบง่ายๆ เลย แถมยังรองรับการสร้างโปรไฟล์ของบุคคล กำหนดกลุ่ม แจ้งเตือนเมื่อตรวจพบใบหน้าของบางคนได้ และเจ้านี่ยังมี API เพื่อใช้เชื่อมต่อไปยังแอปพลิเคชันอื่นๆ ให้ภาคธุรกิจสามารถนำไปต่อยอด พัฒนาเป็นแอปพลิเคชันเฉพาะทางของตนเองได้อีกด้วย

ภาพตัวอย่างการใช้งานฟีเจอร์การจดจำใบหน้า ซึ่งจดจำใบหน้าของคนสามคน คือ Kevin Smith, Ashley Stone และ Daniel Levy โดยมีการระบุตัวตนว่าพวกเขาและเธอทำงานในตำแหน่งอะไร มีอายุประมาณเท่าไหร่ และเข้าออกสถานที่เมื่อวันและเวลาอะไร

การใช้งาน QVR Face ก็ทำได้ไม่ยากด้วย เพียงแต่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน QVR Face มาติดตั้ง จ่ายค่าบริการแบบ Subscription ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบรายเดือน รายปีและรายสามปี ตามสะดวก โดยค่าบริการจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ

1️⃣ Analytics task เป็นค่าบริการสำหรับใช้ QVR Face เพื่อจดจำใบหน้าแบบเรียลไทม์ ผ่าน QVR Pro หรือ RTSP (Real-Time Streaming Protocol) ผ่านพวก IP Camera ต่างๆ อันนี้เป็นค่าบริการหลักที่เราต้องจ่าย หากจะใช้ QVR Face
2️⃣ Profile database เป็นค่าบริการในกรณีที่เราต้องการสร้างโปรไฟล์ของคนที่กล้องตรวจจับใบหน้าได้ ปกติก็มักเอาไว้ใช้ในการบันทึกการเข้า-ออกสถานที่ อันนี้จะมีขายกันเป็นแบบ 100 โปรไฟล์, 1,000 โปรไฟล์ และ 10,000 โปรไฟล์ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้งาน ถ้าไม่คิดว่าจะต้องสร้างโปรไฟล์ ก็ไม่เป็นไรนะฮะ

ภาพตัวอย่างหน้า Dashboard ในส่วนของ People & Groups ของโปรแกรม QVR Face Insight แสดงใบหน้าของผู้ชายและผู้หญิงที่ระบบได้บันทึกเอาไว้

ถ้าเรามีการใช้งาน Profile database เนี่ย มันจะช่วยอำนวยความสะดวกในการใส่ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลเข้าไป แล้วก็สามารถตั้งค่า Facial identification rules ได้ พอตรวจพบใบหน้าที่ตรงกับเงื่อนไข ระบบก็จะสามารถส่งข้อความแจ้งเตือนให้เราได้

ภาคธุรกิจสามารถประยุกต์ใช้ QVR Face ได้หลายแบบ เช่น

☑️ แบบง่ายๆ ก็ใช้ระบบจดจำใบหน้า มาใช้ในการเก็บข้อมูลการเข้า-ออกสถานที่ หรือ บันทึกการเข้าทำงานของพนักงานได้
☑️ ไฮโซขึ้นอีกหน่อย ก็ใช้จดจำใบหน้าพวกแขก VIP จำพวกที่ถ้าคนกลุ่มนี้มา จะต้องแจ้งเตือนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อจะได้ออกมาต้อนรับ อะไรแบบนี้ โดยเฉพาะพวกห้างร้านต่างๆ ถ้ามีฟีเจอร์นี้จะมีประโยชน์ไม่น้อยเลยนะ
☑️ จดจำใบหน้าพวกที่เป็น “ภัย” เจอเมื่อไหร่ให้แจ้งเตือนไปแผนก รปภ. จะได้ไปจัดการ แบบนี้ก็ทำได้
☑️ ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ระบบจดจำใบหน้าในการปลดล็อกประตูขึ้นลิฟต์แทนการใช้พวกบัตรผ่าน หรือ ลายนิ้วมือ โคตรเท่
☑️ ถ้าประยุกต์ใช้แบบล้ำๆ ติดกล้องไว้ที่บริเวณป้ายโฆษณา แล้วเมื่อมีคนมาที่ QVR Face ให้มันนำเสนอโฆษณาที่เหมาะกับ อายุและเพศ ของคนที่มาดูป้ายโฆษณานั้นๆ
☑️ หรือจะใช้จดจำใบหน้าของลูกค้าประจำ เพื่อให้ป้ายโฆษณาแสดงโฆษณาที่เหมาะสมหรือน่าสนใจ สำหรับลูกค้าคนนั้นๆ ก็ได้เช่นกัน

QVR Face Insight vs QVR Face Tiger

QVR Face แบ่งออกเป็นสองแอปพลิเคชันครับ QVR Face Insight นี่สำหรับ QNAP NAS ที่ใช้หน่วยประมวลผล Intel ส่วน QVR Face Tiger จะใช้กับ QNAP NAS ที่ใช้หน่วยประมวลผล AMD โดย

☑️ QVR Face Insight จะเหมาะกับออฟฟิศขนาดเล็ก แล้วก็พวกอาคารที่อยู่อาศัยที่มีผู้อยู่อาศัยประมาณนึง (ไม่เกิน 5,000 คน)
☑️ QVR Face Tiger จะเหมาะกับออฟฟิศขนาดกลาง ห้างร้าน อาคารสำนักงานที่มีคนอยู่จำนวนมาก รวมถึงพวกโรงเรียนและมหาวิทยาลัย แบบที่มีคน 2,500-5,000 คน ไปเลย โดยมีความสามารถในการระบตัวตนได้ถึงระดับเพศและอายุด้วย ซึ่ง QVR Face Insight ทำไม่ได้

คำแนะนำสำหรับการเลือกใช้ QNAP NAS สำหรับ QVR Face เบื้องต้น

ไม่ใช่ QNAP NAS ทุกรุ่นจะรองรับการใช้งาน QVR Face นะฮะ แต่ก็ไม่ได้มีแต่รุ่นแพงๆ ที่จะใช้ฟีเจอร์นี้ได้ อย่างที่ผมบอก รุ่นราคาไม่ถึงสองหมื่น (ไม่รวมฮาร์ดดิสก์) ก็รองรับการใช้งาน QVR Face แล้ว ซึ่ง ณ ตอนที่เขียนบล็อกตอนนี้ รุ่นที่รองรับก็มี ดูจากตารางด้านล่างนี่ครับ อันนี้ตัดมาจากของ QNAP เขาเลย

ตารางแสดงรายชื่อรุ่นของ QNAP NAS ที่รองรับการใช้งาน QVR Face

☑️ หลักๆ แล้ว ถ้าจะใช้ QNAP NAS ของคุณจะต้องอยู่ในรุ่นด้านบนนี่ (สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ก็รุ่น TS-x53 นี่แหละ เช่น TS-253D, TS-453D และ TS-653D ที่เพิ่งเปิดตัวไปนี่ก็ได้ หรือประหยัดหน่อยก็ TS-451D2 อะไรแบบนี้) และต้องมีแรมอย่างน้อย 8GB ครับ และหากต้องการเก็บโปรไฟล์เกิน 2,500 โปรไฟล์ ก็ต้องอัปเกรดแรมเป็น 16GB ครับ (ซึ่งอันนี้ก็ระดับธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่แล้ว)
☑️ ถ้าจะเก็บแค่ซัก 500 โปรไฟล์ ใช้แค่รุ่นเล็กที่ใช้หน่วยประมวลผล Intel® Celeron® J3455 4-core เช่นพวก TS-253D, TS-453D, TS-643D ที่ผมพูดถึงข้างต้นนั่นแหละ
☑️ แต่ถ้าจะเก็บซัก 1,000 โปรไฟล์ ควรใช้รุ่นที่หน่วยประมวลผลเป็น Intel® Pentium® Gold G5400T 2-core
☑️ ถ้าจำนวนโปรไฟล์เพิ่มไปสูงสุดระดับ 2,500 โปรไฟล์แล้ว งวดนี้หน่วยประมวลผลควรเป็นระดับ Intel® Core™ i3 8100T 4-core แน่นอน แรมต้อง 16GB นะฮะ
☑️ ถ้าจำนวนโปรไฟล์ไประดับ 5,000 โปรไฟล์ ตัวเลือกก็คงต้องเป็นแบบที่ใช้หน่วยประมวลผล Intel® Core™ i5 8400T 6-core หรือ AMD Ryzen™ 7 1700 8-core และแรม 16GB ละฮะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า