Home>>รีวิว>>รีวิว JEYI กล่องใส่ SSD M.2 NVMe แบบ Thunderbolt 3
JEYI SSD M.2 NVMe Thunderbolt 3
รีวิว

รีวิว JEYI กล่องใส่ SSD M.2 NVMe แบบ Thunderbolt 3

รอมาตั้งนาน กว่าราคาของพวกกล่อง SSD M.2 NVMeแบบ Thunderbolt 3 มันจะราคาถูก เมื่อก่อนนี่กล่องนึงแบบเจ็ดแปดพันเลยทีเดียว ตอนนี้หาซื้อจาก Aliexpress นี่แค่ $89 เท่านั้นเอง คิดเป็นเงินก็ไม่ถึงสามพันบาท โอเครับได้ เพราะเช็กราคากับ Lazada แล้ว 3,890 บาทอะ มันเหมาะสำหรับคนที่มีโน้ตบุ๊กหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รองรับ Thunderbolt 3 และอยากได้ External SSD ความเร็วสูงปรี๊ดๆ เอาไว้ใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตัดต่อวิดีโอ หรือทำงานกราฟิกความละเอียดสูงมากๆ อย่างยิ่ง ตัวที่ผมสอยมารีวิวให้อ่านนี้ ยี่ห้อ JEYI ครับ ซื้อมานี่ใช้เวลาในการส่งเดือนนึงโดยประมาณ

ออกตัวล้อฟรีก่อน…

กล่องใส่ SSD แบบ NVMe M.2 JEYI ตัวนี้ ผมซื้อมาเอง รีวิวเอง กะว่าจะเอาไว้ใช้เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับทดสอบพวก SSD แบบ M.2 ที่เป็นมาตรฐานใหม่ NVMe ซึ่งจะมีความเร็วในการเขียนและอ่านสูงกว่า SATAIII ทำให้แบนด์วิธของ USB 3.2 Gen 2 ที่ 10Gbps มันไม่พอ เลยต้องหาแบบ Thunderbolt 3 มาใช้นี่แหละ การรีวิวก็จะตรงไปตรงมา ตามสไตล์ผมเช่นเคยนะครับ

พอจะเข้าใจนะ สินค้าจากจีนหลายๆ อัน กล่องใส่มันไม่ได้ดูสวยงามอะไรมาก แต่ตัวผลิตภัณฑ์นั้น กลับดีอย่างคาดไม่ถึงเลยแหละ ในแพ็กเกจที่ให้มานั้น แกะออกมาแล้วมันมีตัวกล่อง JEYI SSD M.2 NVMe Thunderbolt 3 ซึ่งมีสาย Thundetbolt แบบสั้นๆ (มากๆ แค่ประมาณ 9 เซ็นติเมตร) มาให้ในกล่องแล้วเส้นนึง แล้วก็มีสาย Thunderbolt 3 ความยาวประมาณ 50 เซ็นติเมตรมาให้อีกเส้น เผื่อใครอยากได้สายยาวๆ ขึ้นมาหน่อย แล้วก็มีพวกเซ็ตน็อตสำหรับใช้ขันล็อกฝาปิด SSD และน็อตอีกไซส์นึงเอาไว้ยึด SSD ให้ติดกับกล่อง กับไขควง ปิดท้ายด้วยแผ่นซิลิโคน (ที่เขาบอกว่าเอาไว้ระบายความร้อน) เรียกว่า ครบเครื่องอยู่ ไม่ต้องหาอุปกรณ์เสริมเพิ่ม

กล่อง JEYI SSD M.2 NVMe Thunderbolt 3 พร้อมกับของต่างๆ ที่มาในกล่อง

ตัวกล่องขนาดกะทัดรัดประมาณนึงเลยนะ วัสดุเป็นอลูมิเนียม ดูดีเลย มีการเจียรขอบเก็บไม่ให้คมเรียบร้อย ขนาด กว้าง 46 มม. ยาว 96 มม. หนา 11 มม. มีพอร์ต Thunderbolt 3 และรูไฟ LED แสดงสถานะ

ส่วนด้านข้าง มีที่เก็บสาย Thunderbolt 3 ความยาว 9 เซ็นติเมตร เส้นนี้รองรับกำลังไฟสูงสุด 60 วัตต์ เผื่อใครเกิดคิดจะเอาไปใช้เป็นสายชาร์จฉุกเฉิน จะได้รู้ว่ามันรองรับกำลังไฟได้แค่ไหนนะ ส่วนการใส่ SSD M.2 NVMe เนี่ย จะใส่กันด้านล่าง มันจะมีฝาปิด ที่รูน็อต 4 รู แต่มีน็อตขันไว้แค่ 2 ตัว อีกสองตัวอยู่ในถุงซิปล็อกที่แถมมาด้วย

เปิดฝากล่อง JEYI SSD M.2 NVMe Thunderbolt 3 มาใส่ SSD M.2 NVMe

จริงๆ ผมก็ว่าไม่ต้องใส่น็อตครบ 4 ตัวหรอก ใส่ไปสองตัวก็พอแล้ว อีกสองตัวเก็บไว้เผื่อน็อตหาย น็อตตัวเล็กมากขอบอก หล่นหายได้เลยไม่ยาก ตัวนี้ตามสเปกเขาใช้ชิปเซ็ต Controller Thunderbolt 3 ของ Intel เป็นชิปรหัส JHL6340 ซึ่งเป็นชิปเซ็ตที่ออกมาตั้งกะปี 2016 แล้ว แต่ผมไปไล่อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ของ Intel แล้ว ก็มองว่าถ้าเอามาใช้กับกล่องใส่ SSD M.2 NVMe แบบนี้ ก็ถือว่าพอเพียง แต่การใส่ SSD M.2 NVMe ในกล่องนี้ ตัวน็อตอีกตัวที่แถมมา ที่มีขนาดใหญ่กว่าเพื่อน คือตัวที่เอาไว้ยึด SSD M.2 NVMe ให้ติดแนบแน่นไปในกล่อง ไม่ชี้โด่เด่ขึ้นมา ผมลองถอดน็อตที่ยึดตัว PCB กับกล่องออกมาแล้ว รู้สึกว่ามันมีการติดซิลิโคนเพื่อระบายความร้อนจาก PCB ไปที่ตัวกล่องอลูมิเนียมเรียบร้อยดีอยู่

ผมลองทดสอบใช้งานครับ ก่อนอื่นก็เสียบกับระบบปฏิบัติการ Windows ก่อน โน้ตบุ๊กของผม ASUS ZenBook S UX391UA มันมีพอร์ต Thunderbolt 3 มาให้สองพอร์ต สบายๆ ตัว SSD ที่ผมใช้ทดสอบก็คือ WD Black N750 ที่ให้ความเร็วในการอ่านสูงสุดคือ 3,470MB/s ผลที่ได้พบว่า ความเร็วไม่แตกต่างจากตอนที่ผมเอามาเปลี่ยนอัปเกรดให้โน้ตบุ๊ก ASUS ROG Strix G G731GU-EV231T ก่อนหน้านี้ ถือว่าโอเคล่ะ ความเร็วที่ได้ไม่ไปถึงขีดสูงสุด มันมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องละนะ ผมตอบยากว่าเพราะอะไร

นี่เป็นครั้งแรกที่แบบว่าผมใช้อุปกรณ์ Thunderbolt 3 บน Windows 10 ผมก็เพิ่งรู้ว่ามันต้องไป Authorize ตัวอุปกรณ์ก่อนนะ แล้วต้องกด Connect อีกที ถึงจะเริ่มใช้งานได้ (แถมถ้าเราจะใช้แบบนี้ไปตลอด ก็ต้องเลือก Authorize เป็นแบบ Always ด้วย ไม่งั้นต้องมาคอย Authorize ทุกรอบ

หน้าจอการ Authorize และ Connect อุปกรณ์ที่เป็น Thunderbolt 3 ของ Ubuntu 20.14

พอดีผมไม่มี MacBook Pro ที่มี Thunderbolt 3 เลยไม่ได้ทดสอบ เพราะน้องชายไม่อยู่ แต่ถ้าใช้ macOS คิดว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะค่ายนี้ใช้ Thunderbolt มาก่อนเพื่อนอยู่แล้ว สำหรับคนใช้ระบบปฏิบัติการ Linux ต้องเช็กดูว่า Distribution ที่ใช้อยู่นั้นมันรองรับชิปเซ็ตของ Intel JHL6340 ไหม แต่ที่ผมลองกับ Ubuntu 20.04.1LTS มันโอเคอยู่ครับ

ตอนลองใช้ถ่ายโอนไฟล์จริงๆ บอกเลย โคตรไว ไวมากๆ ไฟล์ใหญ่ๆ ระดับ 3GB โอนไวเคลมไว ไม่ถึง 2 วินาทีเลย ซึ่งไม่น่าแปลกอะไร เพราะ Sequential write มันวิ่ง 2.4GB/s นี่นา ยิ่งพวกไฟล์ขนาดแค่ระดับ 300-400MB นะ กด Control+V ปุ๊บ ไฟล์ก็ก๊อปปี้มาวางเสร็จแล้วเหอะ

ในแง่ของความร้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งาน ก็มีบ้างนิดหน่อย แต่บอกตรงๆ ว่าน้อยกว่าตอนใช้กล่อง SSD M.2 ที่เป็น USB-C มากเลยแหละ เจ้านี่เห็นว่าถ้าจะร้อนจริงๆ ต้องทำงานอ่านหนักๆ หน่อย เช่น เอามาเล่นเกม ซึ่งก็จะมีความร้อนประมาณนึงเลย (เห็นมีคนที่เคยใช้บอกว่าจะร้อนประมาณ 56 องศาเซลเซียส

บทสรุปการรีวิว JEYI SSD M.2 NVMe Thunderbolt 3

เดี๋ยวนี้เขามี External SSD ขายกันแล้ว ความเร็วก็ใช่ย่อยอยู่ รุ่นไฮโซๆ นี่ความเร็วในการอ่านเขียนระดับ 1GB/s ก็มีให้เลือก (ต้องใช้กับ USB 3.2 Gen 2 ที่แบนด์วิธ 10Gbps นะ) ซึ่งผมว่ามันเพียงพอสำหรับการใช้งานโดยทั่วไปแล้ว และน้ำหนักกับขนาดก็เบากว่าการเอา SSD M.2 NVMe มาเสียบกะเจ้านี่เยอะ

ถามว่าใครเขาจะต้องใช้กล่องระดับ Thunderbolt 3 ผมก็คงตอบว่า คือคนที่มีโน้ตบุ๊กที่มีพอร์ต Thunderbolt 3 ให้ใช้ และต้องการใช้ถ่ายโอนข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ตลอดเวลา หรือไม่ก็ต้องการทำงานจำพวกวิดีโอหรือกราฟิกความละเอียดสูงๆ ไฟล์ใหญ่โคตรๆ โดยไม่อยากเขียนหรืออ่านลง HDD หรือ SSD บนเครื่องคอมพิวเตอร์ถึงจะคุ้มครับ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า