Home>>บ่นเรื่อยเปื่อย>>Alt text คืออะไร ทำไมคนทำเว็บถึงควรใส่ใจกับการใส่รายละเอียดให้มัน?
ภาพประกอบปกบล็อก เป็นภาพของซอร์สโค้ดตอนนึงของเว็บไซต์ kafaak.blog
บ่นเรื่อยเปื่อย

Alt text คืออะไร ทำไมคนทำเว็บถึงควรใส่ใจกับการใส่รายละเอียดให้มัน?

ผมมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับ Samsung และมูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในการรีวิวและให้ความเห็นเพื่อปรับปรุงแอป Read for the Blind เวอร์ชันแรก เลยทำให้ผมได้ทราบเรื่องการใช้งานเทคโนโลยีของคนตาบอดด้วย พวกเขาสามารถท่องเว็บได้สบายๆ ไม่แพ้คนอื่นๆ เลยนะครับ แต่สิ่งนึงที่พวกเขาอยากให้คนทำเว็บและคนทำเนื้อหาบนเว็บช่วยกันหน่อยก็คือ อยากให้ใส่คำอธิบายรูปลงไปใน Alt text ด้วย … แล้วมันคืออะไร? ทำไมเราถึงควรใส่ใจกับการใส่รายละเอียดให้มันล่ะ?

ในยุคแรกๆ ของ HTML อินเทอร์เน็ตนี่เต่าเราดีๆ นี่เองครับ ทันไหมล่ะ อินเทอร์เน็ตความเร็ว 14.4kbps (ใช่ครับ อ่านไม่ผิด kbps หรือ กิโลบิตต่อวินาที) คุณคิดว่ามันช้าแค่ไหน? เอาเป็นว่าถ้าเราดาวน์โหลดไฟล์ขนาด 1GB (1,024MB) ด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วขนาดนี้ จะต้องต่อเน็ตดาวน์โหลดทิ้งไว้ 404 วันครับ ถึงจะดาวน์โหลดเสร็จ ในขณะที่ถ้าใช้อินเทอร์เน็ตบ้านในปัจจุบันที่เอาแค่ 100Mbps เบาะๆ จะใช้เวลาแค่ประมาณ 82 วินาทีเท่านั้น

เบราวเซอร์ในยุคแรกๆ ของอินเทอร์เน็ต เป็น Text-based ครับ ผมยังจำได้เลย ตอนที่ใช้ UNIX รันโปรแกรม Lynx เพื่อเปิดเว็บ Hotmail.com เหอะ เหอะ

เว็บไซต์ที่เปิดด้วย Lynx ในยุคนั้น ก็จะมีหน้าตาประมาณแบบด้านบนครับ ด้านบนนี่เป็นเว็บไซต์ Google.com ในปี 2012 ที่เปิดด้วย Lynx ครับ ปัจจุบันเปิดบ่ได้แล้ว เพราะมันไม่รองรับ HTTPS ครับ

และแม้ว่าจะใช้เบราวเซอร์ที่เป็น GUI อย่าง Netscape Navigator หรือ Internet Explorer ด้วยความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน โอกาสที่รูปจะโหลดไม่ขึ้นมันก็มีอยู่มาก เขาก็เลยคิด Attribute สำหรับ HTML ที่ชื่อว่า Alt text ขึ้นมา เพื่อให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ได้ใส่ข้อความอธิบายรูป เอาไว้ให้เบราวเซอร์ได้แสดง เวลาที่รูปมันโหลดไม่ขึ้น แบบในรูปด้านล่างนี่

ตัวอย่างของภาพที่โหลดไม่ขึ้น แล้วแสดง Alt text ขึ้นมาแทน

ปัจจุบัน เมื่ออินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงขึ้นมาก ความจำเป็นในการใส่คำอธิบายลงไปใน Alt text เพื่อเผื่อไว้ในกรณีรูปโหลดไม่ขึ้นก็มีน้อยลงไปมากจนถึงเรียกได้ว่าแทบจะไม่จำเป็น ก็เลยเป็นที่มาที่คนทำเว็บหรือทำเนื้อหาสำหรับเว็บจำนวนไม่น้อย ไม่ใส่ Alt text เข้าไปอธิบายภาพครับ เพราะการทำแบบนั้นมันก็เสียเวลาไม่น้อยอยู่นะ

คนทำเว็บและทำเนื้อหา ที่ใส่ข้อมูลลงไปใน Alt text โดยมากก็จะเลือกใส่เฉพาะ Keyword สำหรับทำ SEO เท่านั้น เช่น ถ้าเป็นรูปของผลิตภัณฑ์อะไร ก็จะใส่เป็นชื่อ หรือ รุ่นของผลิตภัณฑ์นั้นๆ พอ

ส่วนหนึ่งของหน้าเว็บ WordPress

แต่จริงๆ แล้ว Alt text มันมีประโยชน์มากกว่านั้นครับ สำหรับคนบางกลุ่ม ซึ่งก็คือ ผู้พิการทางสายตา (หมายถึง คนตาบอด หรือ ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา) เพราะด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน พวกเขาจะสามารถให้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต หรือแม้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยอ่านข้อมูลที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ให้พวกเขาได้ ฉะนั้น การท่องเว็บจึงไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้สำหรับพวกเขา ผมเองก็รู้จักกับคนตาบอดหลายคน เป็นเพื่อนกับบน Facebook และเราก็พิมพ์คุยกันแบบปกติครับ จริงๆ เขาพิมพ์เรากว่าอีก เพราะการสั่งพิมพ์ด้วยเสียงสมัยนี้ เร็วกว่าพิมพ์เองเยอะ

เวลาเราใส่ Alt text ไว้ให้รูปภาพ คนตาบอด หรือ ผู้มีความบกพร่องทางสายตา ที่เขาใช้โปรแกรมจำพวก Screen reader (คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่อ่านหน้าจอเพื่ออธิบายว่าบนหน้าจอมีอะไรบ้างเป็นข้อความ) มันจะอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้พวกเขาได้ แล้วพอมันไปถึงตรงรูป มันก็จะไปอ่านข้อความที่อยู่ใน Alt text ครับ

ดังนั้น การที่เราใส่คำอธิบายภาพเอาไว้ใน Alt text มันจึงช่วยให้ผู้พิการทางสายตา สามารถท่องเว็บไซต์ได้อย่างสะดวกสบายขึ้น และเข้าใจเนื้อหามากขึ้นนั่นเอง

แต่คำว่า “คำอธิบายภาพ” ไม่ได้หมายความว่าจะต้องคอยอธิบายว่าในภาพมันเป็นยังไงเสมอไปนะครับ มันอยู่ที่ว่าสถานการณ์ของการใช้ภาพนั้นมันเป็นยังไง เราต้องการให้คนที่มองไม่เห็นภาพ เขาได้รับรู้อะไร เช่น

stop graphic design , vector illustration

ยกตัวอย่างเช่น รูปภาพป้าย STOP ด้านบนนี่

>> ถ้าเอาไปใช้สำหรับทำเป็นปุ่มให้คลิกเพื่อหยุดการทำงาน แบบนี้ Alt text ก็เขียนแค่ว่า คลิกเพื่อหยุด หรือ Click to Stop ก็พอครับ

>> แต่ถ้าเอามาเพื่อใช้ประกอบบล็อก แล้วเราต้องการให้คนที่มองไม่เห็นรูปนี้ได้รับรู้ว่ารูปนี้มันคือรูปอะไร เราก็จะเขียน Alt text ว่า ภาพของป้าย STOP สีแดง ที่มีกรวยสีส้มวางอยู่ด้านหน้าและหลัง กรวยอันหลังล้มอยู่ เป็นต้น

ฉะนั้น อยากชวนคนทำเว็บ ทำเนื้อหาบนเว็บทุกคน มาร่วมแรงร่วมใจกันครับ เวลาทำเว็บ ใส่รูปภาพเข้าไป เขียนคำอธิบายเข้าไปซักนิด ว่ารูปนี้มันคืออะไร เช่น ปุ่มให้กด ปุ่มให้คลิก ปุ่มมันคือปุ่มอะไร หรือ รูปมันคือรูปอะไร เพื่อให้คนพิการด้านการมองเห็น ซึ่งในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 192,000 คน (อ้างอิง รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันที่ 30 มิ.ย. 2563) ได้มีโอกาสท่องเว็บอย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไปครับ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า