Home>>บ่นเรื่อยเปื่อย>>‘หางานทำ’ – ศึกแรกของน้องๆ จบใหม่ในยุคโควิด-19
ผู้ชายไว้หนวดเครา ใส่แว่นตา กำลังหางานจากหน้าหนังสือพิมพ์ และวงตัวเลือกงานที่เขาสนใจ
บ่นเรื่อยเปื่อยบทวิเคราะห์แบ่งปันความรู้

‘หางานทำ’ – ศึกแรกของน้องๆ จบใหม่ในยุคโควิด-19

ในรายงาน ILO Monitor: COVID-19 and the world of work. Fourth edition เมื่อปลายเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ทาง ILO (International Labour Organization หรือ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ อันเป็นหน่วยงานในสังกัดของสหประชาชาติที่ทำงานด้านสิทธิของแรงงาน เขาได้ประเมินสถานการณ์เอาไว้ว่า ในไตรมาสที่สองของปี 2563 นี้ คาดว่าจำนวนชั่วโมงการทำงานทั่วโลกลดลงราวๆ 10.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเทียบเท่าได้กับการสูญเสียตำแหน่งงานแบบเต็มเวลา (Full-time job) ไปราวๆ 305 ล้านตำแหน่ง

เป็นที่รู้กันว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาลมาก หลายๆ อย่างบนโลกใบนี้แทบจะเรียกได้ว่าหยุดชะงักไปเลย มาตรการและความพยายามในการยับยั้งการแพร่ระบาด ส่งผลให้หลายๆ พื้นที่ต้องถูกล็อกดาวน์ การท่องเที่ยวนี่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยนะ ทั่วโลกเลย

ขณะที่เขียนบล็อกตอนนี้อยู่ จากข้อมูลเห็นว่ามีประเทศและดินแดนที่พบเคสผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้ว 215 ประเทศและดินแดน เรียกว่าแทบจะทั่วโลกเลยเหอะ มีการยืนยันผู้ติดเชื้อ 8.6 ล้านราย เสียชีวิต 4 แสนกว่าราย ในหลายๆ ประเทศ ช่วงที่การแพร่ระบาดโหดๆ นี่ ระบบสาธารณสุขถึงกับล่มเลยทีเดียว แพทย์ได้แต่ปล่อยให้ผู้ป่วยที่โอกาสรอดน้อยต้องสู้กับโรคด้วยตนเอง และช่วยเฉพาะคนที่มีโอกาสรอดสูงกว่า

แต่นั่นมันแค่ความเสียหายและผลกระทบในระลอกแรกเท่านั้น ในขณะที่สถานการณ์ของหลายๆ ประเทศเริ่มกลับมาดีขึ้น ก็ต้องหันกลับมามองในมุมเศรษฐกิจกันบ้าง ถ้าใครตามข่าวกันก็น่าจะทราบดีว่ามีหลายๆ ธุรกิจ หลายๆ บริษัท ต้องปิดตัวเองลงเพราะผลกระทบจากการแพร่ระบาดในครั้งนี้ ในขณะที่ธุรกิจอีกหลายๆ แห่ง ที่ยังพอจะเอาตัวรอดได้ ถ้าไม่ชะลอการรับคนใหม่เข้ามาทำงาน เพราะเศรษฐกิจยังชะลอตัวอยู่ ยังไม่จำเป็นต้องหาคนมาเพิ่ม ก็พยายามรัดเข็มขัด ลดจำนวนคนลง เพื่อคงสภาพคล่องของธุรกิจเอาไว้

เมื่อปลายเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หรือที่เรียกย่อๆ ว่า สภาพัฒน์) รายงานว่าโรคโควิด-19 ส่งผลให้แรงงานราวๆ 8.4 ล้านคน มีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้าง โดยแบ่งเป็น ภาคการท่องเที่ยว 2.5 ล้านคน ภาคอุตสาหกรรม 1.5 ล้านคน ภาคบริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ท่องเที่ยว 4.4 ล้านคน แต่ว่าจนถึงสิ้นปีเนี่ย ก็น่าจะเริ่มหางานทำได้ใหม่ จนสุดท้าย ก็น่าจะเหลือตกงานกัน 2.2 ล้านคน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กที่จบใหม่ ที่คาดว่าจะมี 5.2 แสนคนในปีนี้ ที่น่าจะหางานทำไม่ได้ เพราะต้องไปไฝว้กับคนที่ตกงานที่กำลังหางานทำอยู่เช่นกัน ซึ่งเขาจะได้เปรียบเพราะมีประสบการณ์ทำงาน และทักษะการทำงานจริง มากกว่าเด็กจบใหม่หลายๆ คน และในช่วงเวลาที่ธุรกิจต้องรัดเข็มขัด หากจะจ้างใครซักคนเพิ่ม ก็ต้องให้แน่ใจว่าคุ้มค่า คนที่มีทักษะมีประสบการณ์ในการทำงาน ก็ย่อมเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

และสิ่งที่สภาพัฒน์กังวล ก็ดูเหมือนจะเริ่มขึ้นแล้วนะ เพราะผมเองก็เริ่มเห็นเพื่อนๆ โพสต์บนเฟซบุ๊กถึงสถานการณ์พวกนี้กันบ้างแล้ว

แต่ถ้าถามว่า แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ยังพอมีไหม? สำหรับน้องๆ จบใหม่หลายๆ คน ก็อาจจะยังพอมีนะครับ เพราะหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มันก็จะตามมาด้วยความพยายามในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ และตำแหน่งงานมันก็จะเริ่มกลับมา แต่ช่วงเนี้ย มันจะเป็นช่วงที่นายจ้าง ‘สวย/หล่อเลือกได้’ หมายถึง ผู้สมัครมีจำนวนมาก ตัวเลือกเยอะ ผู้สมัครต้องง้อนายจ้างมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำแหน่งงานทั่วๆ ไป ที่ไม่ต้องการความรู้ ทักษะ หรือ ประสบการณ์มาก

ภาพโคลสอัพของมือข้างซ้ายที่กำลังถือกระดาษที่มีข้อความว่า We're hiring (แปลเป็นไทยคือ เรากำลังรับสมัครงาน) โดยมีภาพของคนทำงานชาย-หญิง เป็นแบ็กกราวด์เบลอๆ อยู่ด้านหลัง

ฉะนั้น หากน้องๆ จะสู้ศึกหางานหลังยุคโควิด-19 สิ่งที่น้องๆ จะต้องเตรียมตัวเอาไว้ก็น่าจะเป็น

ใช้ทุกนาทีในตอนนี้อย่างมีค่า พัฒนาทักษะให้สูงและกว้างขึ้น

เพราะอย่างที่ผมบอกไปในตอนแรก ตัวเลือกของนายจ้างมันเยอะ ยิ่งตำแหน่งงานที่ไม่เน้นทักษะหรือประสบการณ์ คู่แข่งเราจะเพียบอย่างมาก ฉะนั้น เราต้องพัฒนาทักษะของเราให้กว้างและรอบด้านมากขึ้น เพราะมันก็มีหลายๆ ตำแหน่งงาน หลายๆ บริษัท ที่เขาไม่ได้ซีเรียสมากกับสาขาที่เราจบมา (โดยส่วนตัวของผมเอง ยังไม่เคยทำงานที่ตรงสายกับใบปริญญาที่ผมจบมาเลย) และอย่างที่ผมบอกในตอนแรกอีกเช่นกัน ในช่วงหลังยุคโควิด-19 แรกๆ ธุรกิจส่วนใหญ่ก็จะพยายามรัดเข็มขัดตัวเอง แม้จะรับคนเพิ่มก็ต้องให้คุ้มค่า ต้องเป็นคนที่พร้อมจะทำงานให้เขาได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย ฉะนั้น ทักษะเราต้องสูงพอที่จะสู้กับพวกพี่ๆ ลุงๆ ที่ตกงานช่วงโควิด-19 และกำลังหางานใหม่

ข่าวดีก็คือ การฝึกทักษะ เพิ่มพูนฝีมือให้ตัวเองมันไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพราะมีแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เยอะแยะมากมาย ทั้งที่ฟรีและที่เสียเงิน แน่นอนว่าในช่วงโควิด-19 แบบนี้ แถมเรายังเรียนไม่จบ หรือเพิ่งเรียนจบ อาจจะไม่มีเงินไปลงทะเบียนเรียนคอร์สที่เสียเงิน เราก็เลือกหาเรียนแบบฟรีไปก่อนก็ได้ฮะ

ถ้ามั่นใจว่าทักษะเรามีพอ แต่ประสบการณ์อาจสู้ไม่ได้ ลองผันตัวเป็นฟรีแลนซ์รับงานก่อนไหม?

หนึ่งในวิธีที่หลายๆ ธุรกิจเขาใช้กันเพื่อรัดเข็มขัดก็คือ การทำ Outsourcing หรือ การจ้างเป็นรายครั้ง แบบว่าพอมีงานจะต้องทำ ก็ไปหาฟรีแลนซ์มาทำให้ เช่น ถ่ายภาพ ตัดต่อวิดีโอ ทำอนิเมชัน เขียนโปรแกรม ฯลฯ งานพวกนี้ก็น่าจะมีเพิ่มขึ้นในช่วงหลังการระบาดของโรคโควิด-19

โดยเฉพาะงานสายการตลาดดิจิทัล และโซเชียลมีเดีย ที่ใครต่อใครนึกว่าจะได้รับผลกระทบ เพราะคนตกงาน ซื้อของน้อยลง ขายของยากขึ้น แต่ผิดถนัดเลยครับ เพราะธุรกิจมันต้องพยายามดิ้นรนเอาตัวรอด และในช่วงเวลาที่ล็อกดาวน์กัน การตลาดดิจิทัลกลับบูมมาก เพราะมันคือช่องทางที่ทำให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง และไม่ถูกปิดกั้นด้วยการล็อกดาวน์ หรือเคอร์ฟิวใดๆ ภายใต้เงื่อนไขว่าการขนส่งสินค้ายังไม่ถูกล็อกดาวน์ไปด้วย ถ้ามีโอกาสไปเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะ อย่ารอช้าเลยครับ

ขอปิดท้ายด้วยรายงานรวมแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ ทุนการศึกษา และแหล่งงานออนไลน์ ที่ทางองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เขาจัดทำมาสองชุด เผื่อจะเป็นประโยชน์นะฮะ

>> รวมแหล่งข้อมูลสำหรับเรียนรู้ และตำแหน่งงาน สำหรับเยาวชน

>> แหล่งเรียนรู้ และแหล่งข้อมูลทุนสำหรับเด็กนักเรียนและพ่อแม่ผู้ปกครอง

หมายเหตุ: ภาพปกบล็อกตอนนี้มาจาก Business photo created by pressfoto – www.freepik.com

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า