Home>>รีวิว>>รีวิวตัวรับ-ส่งสัญญาณบลูทูธแบบ USB ไร้ยี่ห้อ รุ่น KN-320 ราคาไม่ถึงร้อยจากจีน
ตัวรับ-ส่งสัญญาณบลูทูธ
รีวิว

รีวิวตัวรับ-ส่งสัญญาณบลูทูธแบบ USB ไร้ยี่ห้อ รุ่น KN-320 ราคาไม่ถึงร้อยจากจีน

อุปกรณ์อย่างเช่นทีวีรุ่นเก่าๆ ลำโพงรุ่นเก่าๆ หรือเครื่องเสียงรถยนต์ที่ราคาไม่แพงมากเนี่ย มันไม่มีฟังก์ชันบลูทูธให้ใช้ แต่เราก็อยากที่จะสตรีมเสียงเพลงจากสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตไปที่ลำโพง หรือเอาหูฟังไร้สายที่มี มาใช้ฟังเสียงจากทีวี จะได้ไม่รบกวนคนรอบข้าง เราจะทำยังไงดี? คำตอบก็คือ ใช้ตัวรับ-ส่งสัญญาณบลูทูธมาเป็นอุปกรณ์เสริม งวดนี้ผมสอยแบบราคาประหยัดมาครับ 72 บาท ราคานี้รวมค่าส่งแล้วตอนผมซื้อมา มาดูกันว่า ใช้แล้วเวิร์กไม่เวิร์กตรงไหนยังไง

ออกตัวล้อฟรีก่อน…

บล็อกตอนนี้ ซื้อมาเอง ใช้เอง รีวิวเอง ด้วยเงินตัวเองล้วนๆ ฮะ ไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ จากใครทั้งสิ้น ความเห็นทั้งหมดในบล็อกตอนนี้ เป็นความเห็นจากผมเองล้วนๆ

ก่อนอื่นต้องทำใจก่อนเลยนะว่าตัวแพ็กเกจมันจะง่อยๆ ครับ ตอนที่ส่งมาให้ผมเนี่ย มันเป็นแค่ซองพลาสติกเลยนะ แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะของมันไม่ได้แตกพังง่าย ฉีกซองออกมา ก็เห็นแค่เท่าที่เห็นในรูปด้านล่างนั่นแหละ มันมีแค่นี้จริงๆ

แพ็กเกจของตัวรับ-ส่งบลูทูธ

ภายในซอง เราจะได้ตัวรับ-ส่งสัญญาณบลูทูธ รุ่น KN-320 (เดาเอานะ จากชื่อของมันเวลาจับคู่สัญญาณ) ที่มีหน้าตาเหมือน Bluetooth dongle เล็กๆ อันนึง แล้วก็สายออดิโอ 3.5 มม. (บางคนเรียกสาย Aux) และคู่มือการใช้งานเป็นภาษาอังกฤษ ที่อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก

การใช้งานทำได้ไม่ยาก ทำตามคู่มือที่เขียนมากระชับ (จนผมสงสัยว่าคงจะงงไหม) ก็คือ เจ้านี่ไม่มีแบตเตอรี่ในตัว เหมือนพวกตัวรับ-ส่งบลูทูธอื่นๆ ฉะนั้นมันจะต้องเสียบกับพอร์ต USB ครับ จ่ายไฟ 5V 500mA ก็พร้อมทำงานแล้ว กินไฟไม่เยอะ

โหมดการใช้งานมีทั้ง รับ (Receiver) และ ส่ง (Transmitter) แต่เนื่องจากตัว Dongle มันไม่มีปุ่มใดๆ เลย วิธีการเปลี่ยนโหมดมันบ้ามาก คือ ต้องเสียบแล้วถอดภายในเวลา 10 วินาที แล้วสังเกตไฟที่กระพริบ ถ้ามันกระพริบสีน้ำเงินคือ รับ ถ้ากระพริบสีแดงคือ ส่ง

ตัวรับ-ส่งบลูทูธ จะเห็นว่ามีรูเล็กๆ อยู่ นั่นคือไฟ LED แสดงสถานะ ส่วนตรงปลายของ Dongle เป็นรูเสียบสายออดิโอ 3.5 มม.

ตัว Dongle จะมีช่องเสียบสายออดิโอ 3.5 มม. เอาไว้สำหรับต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะในโหมดรับหรือส่ง แต่ทว่า…

ในขณะที่ผมไม่มีปัญหาใดๆ ในการใช้งานในโหมดรับสัญญาณบลูทูธ ผมสามารถที่จะเอามาเสียบกับพาวเวอร์แบงก์ แล้วเสียบสายออดิโอเข้ากับหูฟัง เพื่อใช้ฟังเพลงแบบกึ่งๆ ไร้สายจากสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้สบายๆ ผมกลับไม่สามารถใช้งานในโหมดส่งสัญญาณบลูทูธได้ คือ มันสามารถเปลี่ยนโหมดได้ตามที่คู่มือบอกนะ แต่คู่มือมันบอกว่า ตัว Dongle จะตรวจจับเจอหูฟังไร้สายหรือลำโพงไร้สายแล้วเชื่อมต่อเอง แต่ของจริงปรากฏว่ามันไม่เป็นแบบนั้นอ่ะ ทำยังไงก็จับคู่ไม่ได้ ลองอยู่เป็นชั่วโมง สุดท้าย ยอมแพ้

ส่วนเรื่องสเปก เขาบอกว่ามันเป็น Bluetooth 5.0 รองรับทั้ง A2DP, AVRCP ด้วย (เฉพาะโหมดรับสัญญาณบลูทูธเท่านั้น) พูดง่ายๆ คือ ดูๆ แล้ว มันจะเหมาะสำหรับการแปลงหูฟังให้กลายเป็นหูฟังกึ่งไร้สายมากกว่า

ถามว่าสัญญาณมีหน่วงไหม ถ้าเอามาเล่นเกม หรือดูหนังฟังเพลง เท่าที่ทดลอง ก็ยังไม่เจอหน่วงนะ เวลาดูหนังหรือเปิด YouTube ดู ภาพกะเสียงก็มาตรงกันดี (พิจารณาจากการขยับปากเลยนะ) แต่ลองทดสอบวัดด้วยวิดีโอทดสอบแล้ว น่าจะหน่วงอยู่ที่ราวๆ 160ms ครับ ตัวนี้รองรับแค่ SBC (Sub-band Codec) ซึ่งเป็นแค่พื้นฐานของพวกบลูทูธทั้งหลายแหล่ มี Latency ที่สู้ไม่ได้กับพวกที่รองรับ aptX รองรับบิตเรตที่ 328kbps ให้คุณภาพเสียงที่โอเคประมาณนึง (ถ้าไม่ใช่หูเทพจริงๆ ละก็ ฟังเทียบ SBC กับ aptX แล้ว ไม่แตกต่างกันมาก ต้องเอาอุปกรณ์วัดการตอบสนองย่านความถี่ หรือ Frequency respond มาทดสอบนั่นแหละ ถึงจะตอบได้) ซึ่งก็ถือว่าสมราคาค่าตัวอยู่

บทสรุปการรีวิวตัวรับ-ส่งสัญญาณบลูทูธ ไร้ยี่ห้อ รุ่น KN-320

ก็เป็นทางเลือกที่ราคาถูกดีมาก แต่มันมีข้อจำกัดคือไม่มีแบตเตอรี่ในตัว ผลก็คือต้องเสียบกับพาวเวอร์แบงก์ตลอดเวลา หรือไม่ก็ต้องเสียบกับพอร์ต USB-A ของเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ตลอดเวลาการใช้งาน ทำให้ยุ่งยากขึ้นอีกนิด

ผมว่าเจ้านี่น่าจะเหมาะสำหรับการแปลงหูฟังเป็นหูฟังกึ่งไร้สาย โดยต้องทำใจว่าต้องพกพาวเวอร์แบงก์เล็กๆ ซักอันไว้ให้มันได้เสียบรับพลังงานไฟฟ้า หรือไม่ก็เอาไว้ใช้ในรถยนต์ แปลงเครื่องเสียงให้รับสัญญาณบลูทูธได้ ก็สะดวกอยู่ โดยเฉพาะถ้ารถยนต์มีพอร์ต USB-A ให้เสียบ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า