Home>>บ่นเรื่อยเปื่อย>>ผลกระทบของข่าวปลอม (Fake news) มันร้ายแรงกว่าที่คุณคิดเยอะนะ ฉะนั้น เช็กให้ชัวร์ก่อนแชร์ดีกว่า
แป้นไม้สี่เหลี่ยมจำนวนมากวางเรียงรายอยู่บนโต๊ะ ด้านบนสุดมีแป้นไม้ที่มีตัวอักษรเรียงเป็นคำว่า FAKE NEWS
บ่นเรื่อยเปื่อย

ผลกระทบของข่าวปลอม (Fake news) มันร้ายแรงกว่าที่คุณคิดเยอะนะ ฉะนั้น เช็กให้ชัวร์ก่อนแชร์ดีกว่า

ปัจจุบัน โลกยุคข่าวสารเฟื่องฟูของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตครับ ที่หลายๆ คนในประเทศอาจจะยังไม่ทันตระหนักถึงผลกระทบของมันซักเท่าไหร่นัก ผมเลยอดไม่ได้ที่จะต้องขอเขียนบ่นๆ ถึงซักหน่อย นั่นก็คือปัญหาข่าวปลอม หรือ Fake news นั่นเอง ในฐานะคนทำงานด้านสื่อสาร และเป็นบล็อกเกอร์ด้วย บอกเลยว่าผลกระทบจากปัญหาข่าวปลอมเนี่ย มันร้ายแรงกว่าที่หลายๆ คนคาดคิดเยอะครับ

“ใครๆ ก็เป็นนักข่าวได้” … ดาบสองคม

ย้อนกลับไปซัก 6-7 ปีที่แล้ว ในยุคแรกๆ ของ User-generated content หรือ ยุคที่ใครๆ ก็สามารถสร้างเนื้อหาขึ้นมาเองได้ง่ายๆ มันมีคำพูดว่า “ใครๆ ก็เป็นนักข่าวได้” เพราะแพลตฟอร์มก็พร้อม ทั้งเว็บไซต์ก็ทำได้ง่ายๆ และเผลอๆ ฟรีด้วย โซเชียลมีเดียก็ช่วยให้เราเข้าถึงคนจำนวนมากได้ ใครๆ ก็สามารถติดตามผลงานของเราได้ง่าย (ผมเองก็เป็นบล็อกเกอร์โดยเริ่มจาก Twitter นี่แหละ)

ภาพสื่อมวลชนกำลังรุมถ่ายภาพอะไรบางอย่าง มีกล้องถ่ายวิดีโอจำนวนมาก

เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้มีแค่สมาร์ทโฟนเครื่องเดียว ก็สามารถทำข่าวได้แล้ว กล้องดิจิทัลบนสมาร์ทโฟนความละเอียดก็สูงมาก ตัวมันเองก็สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ นักข่าวพลเมือง (Citizen journalist) จึงเป็นที่ถูกกล่าวถึงอย่างมาก เพราะถูกมองว่าสามารถทำข่าวได้รวดเร็ว เพราะพวกเขาอาจจะอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว และมีความน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะพวกเขาคือคนทั่วๆ ไป ที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ “อะไรบางอย่าง” แบบเดียวกับสื่อสำนักข่าวต่างๆ (เช่น พวกสปอนเซอร์ เป็นต้น)

แต่ในความเป็นจริง ปัญหามันก็เยอะครับ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นด้านจริยธรรมและความเป็นมืออาชีพ เพราะนักข่าวพลเมืองไม่ได้รับการอบรมมาก่อน พวกเขาอาจจะไม่เข้าใจประเด็นละเอียดอ่อน เช่น สิทธิส่วนบุคคล สิทธิเด็ก พวกเขายังไม่ได้รับการคุ้มครองในการทำข่าว เพราะพวกเขาไม่ใช่สื่อจริงๆ และยิ่งไปกว่านั้นคือ มันไม่มีกระบวนการมาตรฐานในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นักข่าวพลเมืองนำเสนอ

การที่ใครๆ ก็ทำข่าวได้ ก็เลยกลายมาเป็นดาบสองคมไงล่ะ

ข่าวปลอม … ไวรัสในยุคโซเชียลมีเดีย

ใครที่ผ่านยุคสมัยแรกๆ ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) มาแบบผม จะรู้จักมักคุ้นกับพวกไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือพวกมัลแวร์ต่างๆ เป็นอย่างดี ไวรัสคอมพิวเตอร์จำนวนไม่น้อย มันเกิดจากความคึกคะนองอยากลองของ แค่อยากสร้างความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์จำนวนมาก และภายหลังมันก็แปรเปลี่ยนมาเป็นเรื่องธุรกิจมากขึ้น

สำหรับผมแล้ว ผมก็รู้สึกว่าข่าวปลอมมันก็คล้ายๆ กับพวกไวรัสในยุคนั้นแหละ คือ จำนวนไม่น้อยเลยที่มีวัตถุประสงค์แค่ต้องการสร้างข่าวลือให้คนเชื่อ แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ที่มีวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝง

สงครามข่าวปลอม เกมแมวจับหนู

การต่อสู้กับข่าวปลอมมันคือเกมแมวจับหนูครับ หลายต่อหลายฝ่ายพยายามให้ข้อมูลความรู้ สร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอม แต่พวกที่สร้างข่าวปลอมก็สรรหาเทคนิคมากมายในการทำให้ข่าวปลอมมันดูสมจริง ซึ่งผมขอไล่บางส่วนมาให้อ่านกันดังนี้ครับ

  • การอ้างแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หรือ ตัวองค์กรต่างๆ เพราะมันจะทำให้ข้อมูลดูน่าเชื่อถือได้ทันที
  • การใช้เนื้อหาที่คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเชื่อ เช่น ท่ามกลางกระแสโควิด 19 และผีน้อยจากเกาหลี ที่คนเชื่อว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 และมีแนวโน้มที่จะไม่กักบริเวณตัวเองตามที่รัฐบาลของความร่วมมือ และมีบางคนมีพฤติกรรมเช่นนี้จริงๆ ถ้าเกิดมีใครปล่อยข่าวปลอมเรื่องผีน้อยบางคนไม่กักบริเวณตัวเอง ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีคนเชื่อทันที
  • ซ่อนเท็จในความจริง สไตล์หนังจีนกำลังภายในเลยครับ คือ ผสมผสานเนื้อหาที่เป็นความจริงและเท็จเข้าด้วยกัน ทำให้เวลาไปตรวจสอบ มันก็จะมีบางส่วนที่เป็นความจริงและบางส่วนที่ไม่จริง ไอ้ส่วนที่เป็นจริงมันก็จะค้นเจอบน Google ส่วนไอ้ที่ไม่จริงบางทีก็ค้นไม่เจอ แต่พอมันมีบางส่วน หรือส่วนใหญ่ ค้นเจอบน Google หลายๆ คนก็อาจจะเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง และเมื่อมีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน ส่วนอื่นๆ ที่ไม่แน่ใจก็อาจจะเป็นจริงก็ได้ คนเราก็จะคิดกันแบบนั้น
  • ใช้ Social proof สร้างความน่าเชื่อถือ คือถ้าอะไรที่คนส่วนใหญ่พูดถึงกัน มันน่าจะเป็นเรื่องจริง ฉะนั้นพวกนี้จะมีการสร้างบัญชีโซเชียลมีเดียปลอมขึ้นมาเพื่อกระพือกระแสข่าวปลอม พอมีคนพูดถึงเยอะขึ้นเรื่อยๆ บางคนก็จะมีแนวโน้มที่จะเชื่อ เพราะมองว่าหากมีคนจำนวนมากพูดถึง แสดงว่ามันต้องเป็นเรื่องจริงแหละ ไม่งั้นคนจำนวนมากเขาจะพูดถึงเรื่องนี้กันได้ยังไง
  • มีภาพและวิดีโอมันย่อมน่าเชื่อถือว่าพูดลอยๆ แต่ทุกคนอาจลืมไปว่าภาพนิ่งมันอาจถูกตัดต่อได้ นอกจากนี้ ภาพและวิดีโอมันอาจจะมาจากเหตุการณ์จริง แต่มาจากข่าวเก่า หรือวิดีโอจริงๆ แล้ว อาจจะเป็นหนังก็ได้ เช่น คลิปที่อ้างว่าผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าล้มทั้งยืน ที่สื่อนำไปพูดถึงกันหลายแห่ง นี่จริงๆ แล้วก็มาจากภาพยนตร์ฮะ

พวกข่าวปลอมบางทีก็ใช้แค่เทคนิคใดเทคนิคนึงที่ผมพูดถึงไปข้างต้น หรือไม่ก็ผสมผสานตั้งแต่สองเทคนิคขึ้นไป (ถ้าทำได้) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือเข้าไปอีก

ผลกระทบของข่าวปลอม ร้ายแรงกว่าที่คิดนะ

คนทำข่าวปลอม อาจจะคิดแค่ว่าทำเอาขำๆ เห็นคนแชร์กันเยอะๆ ก็รู้สึกขำที่ได้เห็นคนหลงกล หรือข่าวปลอมที่หวังจะสร้างความเกลียดชังระหว่างกลุ่มบุคคล หรือกะทำขึ้นมาในแบบที่ชาวบ้านเรียกว่า “ดักควาย” เฉยๆ ทว่า ผลกระทบมันอาจจะมากกว่าที่คิดนะครับ

ความเกลียดชังที่เกิดขึ้น มันอาจจะนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งที่ร้ายแรงได้ และในภาวะฉุกเฉิน โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพอย่างเช่นกรณีโควิด 19 แบบที่เราเผชิญอยู่นี่ ข้อมูลผิดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันตัวเองมันจะนำไปสู่ความเข้าใจผิดๆ และการป้องกันตัวผิดๆ ทำให้คนที่เชื่อเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพต่อไป

ชัวร์ก่อนแชร์ และเตือนคนที่แชร์ก่อนชัวร์

ปัจจุบันผมถือว่าเราโชคดีที่มีทีมงานอย่าง ชัวร์ก่อนแชร์ ของช่อง MCOT HD เขามาช่วยตรวจสอบข้อมูลให้ และเปิดโอกาสให้เราสอบถามได้หากมีข้อสงสัยไม่แน่ใจ ถามได้ทาง Twitter @SureAndShare หรือ Facebook ชัวร์ก่อนแชร์ หรือ LINE OA @sureandshare ครับ

แต่นอกจากเราจะเช็กเองให้ชัวร์ก่อนแชร์แล้ว หากเราได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมา เราก็ควรจะท้วงติงไปยังคนที่ส่งมาให้เราด้วย ให้เขารู้ว่าเขากำลังแชร์ข่าวปลอม และแนะนำให้เขาไปทักคนที่ส่งข่าวปลอมนี้มาให้เขารู้ตัวเป็นทอดๆ ต่อไปด้วยครับ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า