Skip to content
  • กว่าจะมาเป็น … นายกาฝาก
  • รู้จักนายกาฝาก
  • ติดต่อนายกาฝาก
บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
ข่าวเขาฝากมา
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล ยกทัพ SSD แบบพกพาความจุเต็มพิกัดทุกแบรนด์ในตระกูลออกจำหน่าย พร้อมนำเสนอทางเลือก SSD แบบพกพาความจุสูงถึง 4TB ที่หลากหลายให้กับผู้ใช้งานทั่วไปและระดับโปรเฟสชันนัลในยุคที่สตอเรจจำเป็นต้องเร็วและมีความทนทาน
  • realme จัดแคมเปญ ‘Empower The Next Gen’ เสริมพลังขับเคลื่อนคนรุ่นใหม่ เปิดพื้นที่โชว์ 4 ศักยภาพอย่างไร้ขีดจำกัด
  • ชี้เป้าสมาร์ทโฟน 5G สุดคุ้ม “Galaxy A42 5G” จากซัมซุง เร็วแรงพร้อมลุยทุกการใช้งาน ในราคาหมื่นต้น!
  • ดีแทคจับมือยารา เปิดตัว Kaset Go เครือข่ายดิจิทัลชุมชนเพื่อเกษตรกรแห่งแรกในประเทศไทย
  • อาร์ทีบีฯ ส่งแพ็กคอนเทนต์ครีเอเตอร์!!! ชุดหูฟัง ATH-M40x พร้อมไมโครโฟน ATR2500X-USB ของ Audio-Technica ราคาสุดคุ้มเอาใจผู้ผลิตคอนเทนต์
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล เปิดตัว WD_BLACK SN850 NVMe SSD มอบอีกขั้นของความเร็วแรงบนเทคโนโลยี PCIe® GEN4 รุ่นใหม่
Home>>บทความ How-to>>Living with Ubuntu: EP3 การติดตั้งโปรแกรม
โลโก้ Ubuntu Linux สีส้ม
บทความ How-to

Living with Ubuntu: EP3 การติดตั้งโปรแกรม

นายกาฝาก
สิงหาคม 26, 2019 2702 Views0

เดี๋ยวนี้การติดตั้งโปรแกรมบน Linux ทำได้ไม่ยากแล้วครับ แต่ว่าเพราะตัวระบบปฏิบัติการมันเปิดกว้างมากเกินไปหน่อย ก็เลยทำให้เรามีวิธีการติดตั้งโปรแกรมหลายช่องทางมากทีเดียว ซึ่งอาจจะทำให้เราแอบงงๆ ได้บ้าง แล้วก็ไม่ใช่ทุกโปรแกรมจะสามารถติดตั้งได้ด้วยทุกวิธีที่มีให้นะครับ บางโปรแกรมมันก็กำหนดวิธีการติดตั้งไว้ซะตายตัวเกิ๊น ฉะนั้นวันนี้เลยต้องขอมาบันทึกเกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรมบน Ubuntu แบบคร่าวๆ ซะหน่อย

วิธีการแรก: ติดตั้งผ่าน Ubuntu Software

Ubuntu และระบบปฏิบัติการ Linux อื่นๆ อีกหลาย Distribution ก็มีความพยายามให้การติดตั้งแอปเป็นเรื่องง่ายครับ อย่าง Ubuntu เนี่ย เขาก็มี Ubuntu Software ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ Apple Store ของระบบปฏิบัติการ macOS หรือ Windows Store บน Windows 10 คือ เปิดมันขึ้นมา ค้นหาโปรแกรมที่เราอยากจะใช้งาน คลิกติดตั้ง ใส่รหัสผ่านของ Admin เข้าไป จากนั้นก็รอ แค่นี้ก็เรียบร้อย

หน้าตาของ App Store ของ Ubuntu

วิธีนี้สะดวกต่อผู้ใช้งานที่สุดในโลกหล้าแล้ว ติดตั้งเสร็จเรียบร้อย เราก็จะสามารถอัพเดตโปรแกรมต่างๆ ที่ได้ติดตั้งไว้แล้ว ผ่านช่องทางนี้ได้เลย เหมือนพวก App Store ของระบบปฏิบัติการต่างๆ

วิธีการที่สอง: ติดตั้งผ่าน Command line

จริงๆ ต้องเรียกว่าเป็นวิธีการดั้งเดิมที่สุดเลยครับ วิธีนี้ คือการใช้คำสั่ง apt-get install (คำว่า APT ย่อมาจาก Advanced Package Tool) ซึ่งเอาไว้ติดตั้งกับระบบแพ็กเกจของ Linux ที่พัฒนามาจาก Debian ครับ ในกรณีนี้ ถ้าเรารู้ว่าตัวโปรแกรมที่เราจะติดตั้ง มีอยู่ในระบบแพ็กเก และมีชื่อว่าอะไร เราก็ใช้คำสั่ง Command line ตามนี้ในการติดตั้งโปรแกรมได้เลย

sudo apt-get install ชื่อแพ็กเกจ

แต่ถ้าเรารู้ว่าโปรแกรมมันชื่อว่าอะไร แต่เราไม่แน่ใจว่าชื่อแพ็กเกจของมันคืออะไร เราจะใช้คำสั่งนี้ครับ แทนที่คำว่า “คำค้น” ด้วยชื่อโปรแกรมที่เราต้องการจะค้นหาครับ

apt cache-search คำค้น

สังเกตอะไรรึเปล่า? ตอนจะทำการติดตั้งโปรแกรม เราจะต้องพิมพ์ว่า sudo ก่อน แล้วค่อยตามด้วยคำสั่ง apt-get install แต่เวลาใช้คำสั่ง apt cache-search ไม่ต้องนำหน้าด้วย sudo นั่นก็เพราะว่า ตอนที่จะค้นหาชื่อแพ็กเกจ มันไม่ต้องการสิทธิ์ของ Admin แต่ตอนที่จะติดตั้งโปรแกรม เราต้องใช้สิทธิ์ของ Admin ครับ เราเลยใส่ sudo นำหน้า เพื่อจะบอกว่า ให้รันคำสั่งนี้ในฐานะ Admin ซึ่งพอรันแล้ว มันจะถามรหัสผ่าน Admin ของเราครับ

ภาพตัวอย่างหน้าจอหลังรันคำสั่ง apt cache-search
ตัวอย่างการรันคำสั่ง apt cache-search หาชื่อแพ็กเกจที่มีคำว่า brave

ในบางกรณี โปรแกรมมันก็ติดตั้งได้แค่ผ่าน Command line ครับ แต่ว่าระบบแพ็กเกจของ Linux มันดันไม่มีโปรแกรมนี้ เพราะตัวผู้พัฒนาเขามีการทำระบบแพ็กเกจไว้ดูแลเอง เราก็จะต้องเพิ่ม Repository เข้าไปก่อน ด้วยคำสั่งด้านล่างนี่ครับ

sudo add-apt-repository ppa:ชื่อrepository
sudo apt update

ตรงส่วนของ ชื่อrepository เนี่ย ก็ตามแต่ว่าผู้พัฒนาเขาจะแจ้งมานะครับ และหลังจากที่เพิ่ม Repository เข้าไปแล้ว ก็ใช้คำสั่งถัดมาที่อยู่ด้านบน เพื่อทำการอัพเดตรายชื่อแพ็กเกจก่อน พออัพเดตเสร็จแล้ว ก็ค่อยใช้คำสั่งติดตั้งแอปได้ครับ

วิธีการที่สาม: ดาวน์โหลดแพ็กเกจมาติดตั้งเอง

วิธีการนี้จะคล้ายๆ กับการติดตั้งโปรแกรมของระบบปฏิบัติการ Windows ที่ดาวน์โหลดพวกไฟล์ .exe หรือ .msi มารันผ่าน Windows Explorer เพียงแต่ว่าของ Linux เนี่ย มันจะมีความหลากหลายหน่อย (คิดซะว่าคล้ายๆ กับระบบปฏิบัติการ Android ละกัน) แต่หลักๆ มันจะแบ่งออกเป็นสองสาย คือ .rpm สำหรับ Linux ที่มาจาก Red Hat และ .deb สำหรับ Linux ที่มาจาก Debian และก็มีแบ่งเป็น 32-bit กับ 64-bit ด้วย เหมือนระบบปฏิบัติการ Windows เลย

ภาพ Screenshot รายชื่อแพ็กเกจของ FreeOffice

แต่มันก็ยังมีปัญหาอยู่นิดหน่อย คือ บางโปรแกรมมันดันทำแต่แพ็กเกจ .rpm มาอย่างเดียวนี่แหละ จะทำยังไง? มันก็มีวิธีครับ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า จริงๆ แล้ว ตัวแพ็กเกจก็จะทำหน้าที่เหมือนพวก Zip หรือ RAR ที่หลายๆ คนอาจจะคุ้นๆ กันดี เพียงแต่ตัวแพ็กเกจมันจะช่วยให้ตัวติดตั้งรู้ว่าควรจะเอาไฟล์ภายในแพ็กเกจไปไว้ที่ตรงไหน ก็เท่านั้นเอง … เอ้า! ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น แพ็กเกจสำหรับติดตั้งแอป WPS Office for Linux ที่ดาวน์โหลดมานี่เป็น RPM เวลาเรา Double click เพื่อเปิดไฟล์ Ubuntu ก็จะใช้ Archive Manager เป็นตัวเปิด แล้วถ้าเราคลิกเข้าไปดูไฟล์ข้างใน ก็จะเห็นว่ามันประกอบไปด้วยไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆ แบบนี้ 

หน้าจอแพ็กเกจ WPS Office แบบ .rpm เมื่อแตกไฟล์ข้างในออกมาดูแล้ว

ฉะนั้น ถ้าเราอยากจะติดตั้งแอป เราก็แค่ต้องแปลงแพ็กเกจจาก RPM มาเป็น DEB ก่อน ซึ่งสามารถทำได้ด้วย Command line แต่เราต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มอีกตัวก่อน นั่นก็คือ Alien ซึ่งทำได้โดยการเปิด Terminal ขึ้นมา ด้วยการกดปุ่ม Super + S (ปุ่ม Super บนคีย์บอร์ดที่รองรับ Windows ก็คือปุ่ม Windows Key นั่นเอง) แล้วค้นหา Terminal จากนั้นก็พิมพ์คำสั่งนี้เข้าไปเลย 

sudo apt-get install alien 

นคือการรันคำสั่ง apt-get ในระดับ Root เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรมชื่อ alien เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว เราก็สามารถใช้คำสั่ง Alien นี้แหละ แปลงแพ็กเกจ RPM ไปเป็น DEB โดยพิมพ์คำสั่งแบบนี้ 

sudo alien ชื่อไฟล์.rpm 

แทนที่ ชื่อไฟล์.rpm ด้วยชื่อแพ็กเกจ RPM ที่เราต้องการจะแปลงนั่นแหละ จากนั้นก็ใส่รหัสผ่านของ Root แล้วรอ แต่ถ้าเราต้องการที่จะแปลงไฟล์เป็น DEB เสร็จแล้ว ทำการติดตั้งเลย เราก็ใช้คำสั่งนี้แทน 

sudo alien -i ชื่อไฟล์.rpm 

แค่นี้ก็เรียบร้อยแล้ว … แต่จากที่ผมลองทำดูมานะ มันเสียเวลาในการแปลงนานมาก ทางที่ดี เลือกแพ็กเกจเป็น DEB ไปเลยสำหรับ Ubuntu จะปวดหัวน้อยที่สุด สำหรับมือใหม่หัดใช้ Linux 

นี่ก็สามวิธีพื้นฐานสำหรับการติดตั้งโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ Linux ครับ จริงๆ ยังมีวิธีอื่นๆ อีกนะ แต่ไว้ค่อยเอามาเขียนให้อ่านกันทีหลังครับ

แชร์โลด:

  • Tweet
  • Print

โพสต์อื่นๆ ที่อาจสนใจ

Related tags : Living with Ubuntu
Share:

Previous Post

ระวัง! ใช้ QNAP NAS แล้วทำ RAID1 หรือ RAID5 เอาไว้ อย่าเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ทีละสองลูกนะ

ภาพของ QNAP NAS แบบ 4-bay ด้านซ้าย และ 2-bay ด้านขวามือ

Next Post

รีวิวหูฟังไร้สาย Plantronics BackBeat Go 410 เสียงดีพร้อม ANC ตัดเสียงรบกวน

ภาพของผู้ชายต่างชาติ ไว้ผมประบ่า ฟังหูฟัง Plantronics BackBeat Go 410 อยู่ในรถไฟใต้ดิน

Related Articles

ฮาร์ดดิสก์แบบที่ถอดฝาปิดออกแล้ว เห็นจานแม่เหล็กและเข็มอ่านข้อมูล บ่นเรื่อยเปื่อยบทความ How-toQNAP User Guide

ทำไมเราถึงต้องซื้อ QNAP NAS มาแบ็กอัพ QNAP NAS อีก? จำเป็นจริงๆ ไหม?

บทความ How-toฮาร์ดแวร์

ดูยังไงว่า SD card หรือ Flash drive มีความจุเต็มตามที่ระบุ

หน้าปกบล็อก QNAP NAS อัพเกรด ซีพียู หรือแรม เท่าไหร่ถึงจะดี? QNAP User Guideบทความ How-to

อัปเกรด QNAP NAS ดีไหม เห็น RAM ใกล้หมดแล้วใจสั่น

บทความ How-toQNAP User Guide

QNAP NAS 101 EP29: ใช้ประโยชน์จากพอร์ต LAN ที่มีหลายพอร์ต ด้วย Port trunking และ Link aggregation

Qfinder Pro บทความ How-toQNAP User Guide

Qfinder Pro ของ QNAP ทำอะไรได้บ้าง?

Leave a Reply Cancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Translate this blog

อย่าลืมกดไลค์

อย่าลืมกดไลค์

ล่าสุดบ่นอะไรไป?

My Tweets

สับตะไคร้ติดตามบล็อกของผม

ใส่อีเมลของคุณที่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกของบล็อกนี้ และรับการแจ้งโพสใหม่ผ่านทางอีเมล

© 2001-2020 kafaak.blog | Theme By WPOperation
ประกาศเรื่องการใช้คุกกี้ในเว็บไซต์นี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลการเยี่ยมชม หากยอมรับกรุณาคลิกปุ่มยอมรับด้านล่าง เพื่อยืนยันการเยี่ยมชมต่อ หากคุณไม่ยอมรับคุกกี้ ให้คลิกปุ่มปฏิเสธ แล้วเราจะนำคุณไปที่ Google.com แทน หากสงสัยว่าเราใช้คุกกี้ทำอะไร อ่าน นโยบายคุกกี้ เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม

ยอมรับ ปฏิเสธ
คำประกาศการใช้คุกกี้

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these cookies, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may have an effect on your browsing experience.
Necessary
Always Enabled

Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. This category only includes cookies that ensures basic functionalities and security features of the website. These cookies do not store any personal information.

Non-necessary

Any cookies that may not be particularly necessary for the website to function and is used specifically to collect user personal data via analytics, ads, other embedded contents are termed as non-necessary cookies. It is mandatory to procure user consent prior to running these cookies on your website.