Skip to content
  • กว่าจะมาเป็น … นายกาฝาก
  • รู้จักนายกาฝาก
  • ติดต่อนายกาฝาก
บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
ข่าวเขาฝากมา
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล ยกทัพ SSD แบบพกพาความจุเต็มพิกัดทุกแบรนด์ในตระกูลออกจำหน่าย พร้อมนำเสนอทางเลือก SSD แบบพกพาความจุสูงถึง 4TB ที่หลากหลายให้กับผู้ใช้งานทั่วไปและระดับโปรเฟสชันนัลในยุคที่สตอเรจจำเป็นต้องเร็วและมีความทนทาน
  • realme จัดแคมเปญ ‘Empower The Next Gen’ เสริมพลังขับเคลื่อนคนรุ่นใหม่ เปิดพื้นที่โชว์ 4 ศักยภาพอย่างไร้ขีดจำกัด
  • ชี้เป้าสมาร์ทโฟน 5G สุดคุ้ม “Galaxy A42 5G” จากซัมซุง เร็วแรงพร้อมลุยทุกการใช้งาน ในราคาหมื่นต้น!
  • ดีแทคจับมือยารา เปิดตัว Kaset Go เครือข่ายดิจิทัลชุมชนเพื่อเกษตรกรแห่งแรกในประเทศไทย
  • อาร์ทีบีฯ ส่งแพ็กคอนเทนต์ครีเอเตอร์!!! ชุดหูฟัง ATH-M40x พร้อมไมโครโฟน ATR2500X-USB ของ Audio-Technica ราคาสุดคุ้มเอาใจผู้ผลิตคอนเทนต์
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล เปิดตัว WD_BLACK SN850 NVMe SSD มอบอีกขั้นของความเร็วแรงบนเทคโนโลยี PCIe® GEN4 รุ่นใหม่
Home>>บ่นเรื่อยเปื่อย>>ระวังมิจฉาชีพบนแพลตฟอร์มออนไลน์ หลอกขายโน้ตบุ๊ก
ภาพกราฟิกของคนกำลังใช้โน้ตบุ๊กอยู่ แล้วหน้าจอมีการแจ้งเตือนว่า Fraud Alert (เตือนภัยต้มตุ๋น)
บ่นเรื่อยเปื่อย

ระวังมิจฉาชีพบนแพลตฟอร์มออนไลน์ หลอกขายโน้ตบุ๊ก

นายกาฝาก
สิงหาคม 12, 2019 701 Views0

คนไทยซื้อขายออนไลน์กันเยอะมากขึ้น เพราะนอกจากคนไทยเริ่มคุ้นชินกับการจับจ่ายด้วยบัตรเครดิต เดบิต และพวก Wallet ต่างๆ แล้ว แพลตฟอร์มขายของออนไลน์และบริการโลจิสติกส์ก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักช้อปมากขึ้นด้วย แต่ด้วยความที่การแข่งขันมันรุนแรง ทำให้การสมัครเป็นผู้ขายบนแพลตฟอร์มพวกนี้มันง่ายมาก และปราศจากการขั้นตอนการตรวจสอบที่ดีพอ จนตอนนี้ผมเริ่มเห็นพวกมิจฉาชีพหันมาหลอกลวงผู้คนบนแพลตฟอร์มต่างๆ พวกนี้กันมากขึ้นแล้ว

จากประสบการณ์ส่วนตัว ที่ผมเห็นตอนนี้ก็มี Lazada กับ Kaidee ที่มีพวกมิจฉาชีพมาปลอมตัวหลอกขายของออนไลน์กัน โดยวิธีการของพวกนี้เท่าที่เห็นจะมีสองแบบ แบบแรกคือ ขายของปลอมชัดเจน ซึ่งมักจะเป็นพวกแฟลชไดร์ฟที่ความจุ 2TB แต่ขายในราคาถูกมากๆ อันนี้เจอบ่อยแล้วบนโฆษณาบน Facebook แต่ตอนนี้เห็นมาระบาดบน Lazada เยอะมาก

แบบที่สองก็คือ พวกที่เอาโน้ตบุ๊กมาขายราคาถูกบ้าง แพงประมาณนึงบ้าง มักจะมาในรูปแบบของการขายของมือสอง ในราคาที่ถูกกว่าราคามือสองบนท้องตลาด ซึ่งอาจปลอมเนียนเป็นเจ้าของขายเองบ้าง หรือเหมาพวกของที่บริษัทห้างร้านเขา Write off (หมายถึงการขายของเก่าจำนวนมาก เพราะบริษัทมีการเปลี่ยนรุ่น) มาขายต่อ เป็นต้น

ภาพหน้าจอเว็บ Lazada ที่ขายโน้ตบุ๊ก Huawei MateBook X Pro ซึ่งน่าจะเป็นของพวกมิจฉาชีพ

วิธีสังเกตพวกนี้ (ทั้งบน Lazada และ Kaidee) ก็คือ จะเป็นร้านแบบ 3rd party ที่เพิ่งเปิดใหม่มากๆ พวกคะแนนร้านหรือคะแนนการจัดส่งนี่จะไม่มี แต่คะแนนการตอบแชทจะสูง เพราะใครถามมานี่ตอบหมด ส่วนใหญ่ตอบแชทเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็มีพวกตอบแชทภาษาไทยได้เช่นกัน ถ้าเป็นบน Lazada จะพยายามให้คนที่สนใจไปติดต่อคุยตรงผ่าน LINE จากนั้นก็จะพยายามขายโดยตรง ผ่านวิธีการโอนเงิน ส่วนบน Kaidee นี่มักจะตั้งพิกัดการรับของเป็นต่างจังหวัด แต่เมื่อเราสนใจ เขาก็บอกว่าถ้าไม่สะดวก ก็สามารถส่งพวก Kerry ได้ แต่เราต้องโอนเงินก่อน

หน้าจอการโต้ตอบระหว่างลูกค้าและร้านค้า(ที่คาดว่าจะเป็นมิจฉาชีพ) ซึ่งร้านค้าพยายามให้คุยกันผ่าน LINE สถานเดียว

ร้านพวกนี้เขาจะพยายามให้แชททาง LINE บ้าง หรือให้โทรศัพท์คุยกันบ้าง เพราะการโทรศัพท์คุยกัน จะทำให้เรารู้สึกสบายใจกว่า เพราะได้ยินเสียง ได้รู้สึกว่ามีตัวตนจริง และจากที่เราๆ ท่านๆ รู้กันว่า เดี๋ยวนี้มันต้องลงทะเบียนซิมกันแล้ว แม้จะเป็นซิมเติมเงิน เราก็จะรู้สึกว่าติดตามตัวคนได้ แต่จริงๆ แล้ว ต้องบอกว่าการลงทะเบียนซิมมันก็เหมือนกับการเปิดบัญชีธนาคารครับ มันมีการรับจ้างเปิดรับจ้างลงทะเบียนกันอยู่ แม้จะมีกฎหมายคุมแล้ว แม้จะมีบทลงโทษแล้ว แต่คนไม่รู้กฎหมายก็ยังมีเยอะ และหลายๆ คน ก็รับจ้างทำเพราะเห็นแต่ผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้จากมิจฉาชีพ

พวกนี้ถ้าเราหลงกลแล้ว ตามยากมาก เพราะเราแทบจะไม่มีข้อมูลตัวมิจฉาชีพเลย มีแต่ชื่อคนอื่นที่รับจ้างเปิดบัญชี รับจ้างลงทะเบียนซิม กันทั้งนั้น และหากเราโอนเงินไปแล้ว ก็ไม่สามารถดึงเงินกลับได้ด้วย เพราะถือว่าการทำธุรกรรมนั้นเกิดขึ้นโดยสมัครใจแล้ว ไม่ใช่ความผิดพลาด เราทำได้แค่แจ้งความ แล้วให้ตำรวจทำการตรวจสอบบัญชีผู้รับ และพยายามตามจับกุมมิจฉาชีพรายนั้น (ซึ่งทำได้ยาก) ส่งผลให้คนพวกนี้ยังลอยนวล และกลับมาหลอกคนอื่นได้ โดยใช้ชื่ออื่น เปิด Account ผู้ขายบนแพลตฟอร์มเดิมๆ

อย่าไปสงสัยนะครับว่าร้านมิจฉาชีพพวกนี้เอารูปสินค้ามาจากไหน แหม่ มีให้ดาวน์โหลดเยอะแยะครับ เพราะมันก็มีคนทั่วไปที่โพสต์ประกาศขายของกันเยอะแยะ มันก็แค่ไปเซฟๆ เก็บมา แล้วเอามาประกาศขายซ้ำ และเพราะว่ามันมีรูปเยอะแยะขนาดนี้นี่แหละ เลยทำให้มันยากที่จะแยกแยะว่าอันไหนโดนเซฟมาจากเจ้าของจริงมาโพสต์ และมันก็ดูน่าเชื่อถือมากๆ โดยเฉพาะบนเว็บ Kaidee นี่ พวกนี้จะไปเซฟพวกของที่ขายๆ กันอยู่ล่าสุดเอามาโพสต์ซ้ำเป็นของปัจจุบัน เวลาคนมาไถๆ ดู ก็จะเจอของมิจฉาชีพก่อน และจะดูน่าเชื่อถือมาก เพราะรูปสินค้าบางรูป มีสิ่งที่บ่งบอกวันเวลาที่ถ่ายรูป หรือบางทีก็มีรูปมือรูปแขนของเจ้าของสินค้าด้วย หลงกลเอาง่ายๆ จริงๆ

ถ้าเจอร้านไหนมีพฤติกรรมแบบนี้ ให้ระวังไว้ก่อนเลยนะครับ … ทางที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการซื้อขายแบบที่โอนเงินครับ นัดรับของกันไปเลย หรือไม่ก็จ่ายผ่านแพลตฟอร์มจะดีกว่า … บอกตรงๆ ว่าไปๆ มาๆ ผมกลับเริ่มรู้สึกว่า ซื้อของผ่าน Aliexpress นี่ยังรู้สึกปลอดภัยกว่าเลย (ฮา)

แชร์โลด:

  • Tweet
  • Print

โพสต์อื่นๆ ที่อาจสนใจ

Related tags : Fraud
Share:

Previous Post

QNAP NAS 101 – EP12: เพิ่มความปลอดภัยให้การล็อกอินด้วย 2-step Verifcation

Next Post

ยุคนี้แล้ว เนื้อหาวิดีโอแบบ 16:9 หรือ 9:16 ดี?

ภาพของผู้ชายและผู้หญิง (ไม่เห็นหน้า) กำลังใช้สมาร์ทโฟนอยู่

Related Articles

บ่นเรื่อยเปื่อย

คุ้มหรือไม่ หันมาใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า จากบล็อกเกอร์ที่มีประสบการณ์ขี่มากว่า 2,000 กิโลเมตร

ภาพของขวดน้ำดื่มที่กำลังเทน้ำลงแก้ว บ่นเรื่อยเปื่อย

น้ำด่าง หรือ น้ำอัลคาไลน์ ดื่มแล้วดีต่อร่างกายจริงเหรอ?

Samsung Galaxy Z Fold 2 เปิดแอป Instagram แบบไม่เต็มจอ แสดงผลออกจอใหญ่อยู่ บทความ How-toซอฟต์แวร์บ่นเรื่อยเปื่อยแบ่งปันความรู้How-to อื่นๆ

การตั้งค่าเพื่อให้ Samsung Galaxy Z Fold 2 แสดงผลแอปบนจอใหญ่ได้แบบเต็มจอ และสามารถทำ Continue app on cover screen ได้ทุกแอปด้วย

โลโก้ PoE optimized PowerSafe IDC inside บ่นเรื่อยเปื่อย

จ่ายไฟผ่าน Power over Ethernet (PoE) อย่างปลอดภัย ด้วยสาย LAN ของ Reichle & De-Massari (R&M)

ความรู้ทั่วไปบ่นเรื่อยเปื่อยแบ่งปันความรู้

สล็อธ มันฟีเจอริ่งกันยังไง?

Leave a Reply Cancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Translate this blog

อย่าลืมกดไลค์

อย่าลืมกดไลค์

ล่าสุดบ่นอะไรไป?

My Tweets

สับตะไคร้ติดตามบล็อกของผม

ใส่อีเมลของคุณที่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกของบล็อกนี้ และรับการแจ้งโพสใหม่ผ่านทางอีเมล

© 2001-2020 kafaak.blog | Theme By WPOperation
ประกาศเรื่องการใช้คุกกี้ในเว็บไซต์นี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลการเยี่ยมชม หากยอมรับกรุณาคลิกปุ่มยอมรับด้านล่าง เพื่อยืนยันการเยี่ยมชมต่อ หากคุณไม่ยอมรับคุกกี้ ให้คลิกปุ่มปฏิเสธ แล้วเราจะนำคุณไปที่ Google.com แทน หากสงสัยว่าเราใช้คุกกี้ทำอะไร อ่าน นโยบายคุกกี้ เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม

ยอมรับ ปฏิเสธ
คำประกาศการใช้คุกกี้

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these cookies, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may have an effect on your browsing experience.
Necessary
Always Enabled

Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. This category only includes cookies that ensures basic functionalities and security features of the website. These cookies do not store any personal information.

Non-necessary

Any cookies that may not be particularly necessary for the website to function and is used specifically to collect user personal data via analytics, ads, other embedded contents are termed as non-necessary cookies. It is mandatory to procure user consent prior to running these cookies on your website.

SAVE & ACCEPT