ผมมีโอกาสได้ไปเห็น SMEs หลายรายที่ผมรู้จัก เขาซื้อ QNAP NAS มาใช้ ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อ 4-bay เพราะว่าเอามาทำ RAID5 ได้ แต่ผมก็เชื่อว่ายังมี SMEs อีกหลายๆ ราย ที่จริงๆ ก็อยากเลือกใช้รุ่นที่มีช่องใส่ฮาร์ดดิสก์เยอะๆ และอาจจะกำลังคิดอยู่ว่า เอ๊ะ แล้วทำไมต้องควักกระเป๋าจ่ายแพงๆ เพื่อใช้ NAS ขนาดตั้ง 9-bay ล่ะเนี่ย? บล็อกนี้จะมาลองให้เหตุผลดูครับ
ออกตัวล้อฟรีก่อน…
QNAP NAS รุ่น 9-bay สำหรับ SMBs ที่เป็น Entry-level กับ Mid-range ซึ่งก็คือ TVS-951X, TS-932X และ TS-963X ต่างก็มีดีไซน์คล้ายๆ กันคือ มี 5-bay สำหรับฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว และมี 4-bay สำหรับฮาร์ดดิสก์ 2.5 นิ้ว หรือพูดง่ายๆ เอาไว้ใส่พวก SSD โดยเฉพาะเลย (เพราะคงไม่มีใครเอาฮาร์ดดิสก์ 2.5 นิ้วที่เป็นสำหรับโน้ตบุ๊กมาใส่ NAS) ดังนั้น บล็อกตอนนี้จึงขอพูดถึงในภาพรวมว่า ทำไมภาคธุรกิจระดับ SMBs ถึงควรจะหันมามองรุ่น 9-bay บ้าง โดยมองไปที่สามรุ่นนี้แหละ
1. ใส่ SSD ไปใน 4-bay ทำ Cache acceleration ลด Latency เพิ่ม I/O speed ให้ค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
ในการใช้งานพวกฐานข้อมูล หรือพวก Virtual Machine เนี่ย Latency กับ I/O speed นี่เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นหากธุรกิจของคุณซื้อ QNAP NAS มาใช้ เพื่อเอาไว้เก็บพวกฐานข้อมูลสำหรับแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ใช้ภายในบริษัท หรือเอามาทำ Virtual Machine อะไรพวกนี้ การทำ SSD cache acceleration ช่วยได้เยอะมาก และตัว QNAP รุ่น 9-bay อย่าง TS-963X หรือ TVS-951X นี่ มี 4-bay ที่ออกแบบมาสำหรับ SSD ขนาด 2.5 นิ้วโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ดี การใช้ SSD cache acceleration นั้น ต้องพิจารณาดูด้วยว่าเราใส่ SSD ความจุเข้าไปเท่าไหร่ และตัว QNAP NAS มีหน่วยความจำเท่าไหร่ด้วยนะครับ เพื่อให้เราได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด … QNAP เขาแนะนำเอาไว้แบบนี้ครับ
ความจุของ Cache | ควรจะมีแรมอย่างน้อย |
---|---|
512GB | ≧ 1GB |
1TB | ≧ 4GB |
2TB | ≧ 8GB |
4TB | ≧ 16GB |
2. รองรับ 10GbE ให้แบนด์วิธมากพอสำหรับธุรกิจของคุณ
จริงอยู่ว่า QNAP NAS สำหรับ SMBs ส่วนใหญ่มาพร้อมกับพอร์ต 1GbE 4 พอร์ต ซึ่งหากทำ Port trunking และใช้กับพวก Managed switch ที่รองรับการทำ Link aggregation ด้วย ก็จะเพิ่มแบนด์วิธไว้ให้ใช้ได้มากถึง 4Gbps แต่ต้องไม่ลืมว่าเดี๋ยวนี้คอมพิวเตอร์ถ้าต่อ LAN ก็รองรับ 1Gbps กันแล้ว ส่วนพวก WiFi เดี๋ยวนี้ ถ้าเปลี่ยนมาใช้โน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ แท็บเล็ตรุ่นใหม่ ที่รองรับ 802.11ac นี่ก็อาจจะเชื่อมต่อกับ Access Point ได้ที่ความเร็วสูงสุดระดับ 400-867Mbps กันแล้ว ถ้าต่อพร้อมๆ กันหลายๆ เครื่องละก็ อาจต้องมองเรื่องการขยับขยายไปที่ 10Gbps ซึ่งรุ่น 9-bay ของ QNAP NAS นี่ก็มีมาให้แบบ Built-in แล้ว โดยรุ่น TVS-951X กับ TS-963X นี่มีให้ 1 พอร์ต ส่วน TS-932X นี่ให้มา 2 พอร์ตเลย
3. ใส่แรมได้สูงสุด 16GB พร้อมสำหรับ Virtualization และ Container สำหรับงานด้านพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือใช้แอปพลิเคชันต่างๆ
สำหรับภาคธุรกิจที่ทำเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือ มีการใช้แอปพลิเคชัน ที่ต้องการระบบปฏิบัติการบางอย่างเป็นพิเศษ แต่แอปพลิเคชันนั้นไม่ได้กินทรัพยากรอะไรมากมาย การที่จะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ซักเครื่องมารันโดยเฉพาะอาจจะไม่คุ้มค่า การทำ Virtualization เพื่อจำลองเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือการทำ Container ขึ้นมารันเซิร์ฟเวอร์สำหรับเป็นสภาพแวดล้อมในการพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือรันแอปพลิเคชันที่บริษัทใช้

การทำ Virtualization นี่ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผล และปริมาณของหน่วยความจำ มีผลต่อประสิทธิภาพ ส่วน Container นั้น แม้จะไม่ต้องการประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลมาก แต่ปริมาณของหน่วยความจำนี่มีผลเยอะ ซึ่ง QNAP NAS รุ่น 9-bay ทั้งสามรุ่นที่ผมพูดถึง พร้อมสำหรับการทำ Virtualization และ Container ทั้งนั้น โดยเฉพาะถ้าเราซื้อรุ่นแรม 8GB มา และหากคิดว่าไม่พอ ก็อัพเกรดไปได้สูงสุดถึง 16GB เลย (แต่รุ่น TS-932X จะเหมาะกับการทำ Container มากกว่า เพราะหน่วยประมวลผลเป็นแค่สถาปัตยกรรม ARM)
4. ใส่ SSD ไป 4-bay แล้ว ยังเหลืออีก 5-bay พร้อมทำ RAID5 | RAID6 สบายๆ
ปกติแล้ว ถ้าจะทำ RAID5 ควรต้องมีฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 3 ลูก ส่วน RAID5 ควรจะต้องมีฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 4 ลูก แต่นั่นคือขั้นต่ำที่สุดนะครับ แต่ถ้าใช้จำนวน Bay ที่ต่ำสุด ผลก็คือ การขยับขยายความจุในอนาคตก็จะจำกัด ฉะนั้น ถ้าจะทำ RAID5 หรือ RAID6 แบบเผื่อๆ ละก็มีอีก 5-bay นี่คือกำลังดีเลยทีเดียว และการที่ใช้รุ่น 9-bay นี่ทำให้แม้เราจะใส่ SSD ไป 4 ลูกเพื่อทำ Cache acceleration ไปแล้ว ก็ยังเหลือว่างสำหรับทำ RAID5 หรือ RAID6 ได้สบายๆ อีก 5-bay นั่นเอง
5. 9-bay มีตัวเลือกสำหรับวางแผนทำ Volume เพื่อทำอะไรได้หลายอย่างมากกว่า
QNAP NAS ไม่ได้มีดีแค่เอาไว้เก็บข้อมูลหรือทำ Virtualization เท่านั้นนะครับ สำหรับๅ SMBs แล้ว ซื้อ NAS พร้อมฮาร์ดดิสก์ตัวนึงมาร่วมครึ่งแสน ก็อยากจะให้มันทำอะไรได้หลากหลายแน่ๆ เป็นเรื่องปกติ การที่มี 9-bay ทำให้เราวางแผนในการทำ RAID เพื่อรองรับบริการต่างๆ ได้มากกว่า เช่น
- 4-bay ที่เป็น 2.5 นิ้ว เอาไว้ทำ SSD Cache acceleration
- 3-bay ที่เป็น 3.5 นิ้ว เอามาทำ RAID5 แบบ 3 ลูก ไว้เก็บข้อมูล และทำพวก Virtualization
- 2-bay ที่เหลือ เอามาทำ RAID1 เพื่อใช้เก็บข้อมูลกล้องวงจรปิด
นี่ไม่นับฟีเจอร์อื่นๆ ที่ QNAP NAS มีให้ทุกรุ่นอยู่แล้วนะ
นอกจากจุดเด่นของความเป็น 9-bay ที่พูดถึงด้านบนไป 5 ข้อแล้ว ภาคธุรกิจยังได้ประโยชน์จาก QNAP NAS จากฟีเจอร์ต่างๆ ที่เขามีมาให้ทุกรุ่น ซึ่งก็รวมถึงรุ่น 9-bay นี่ด้วยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งแอปต่างๆ เพิ่มขีดความสามารถให้กับ QNAP NAS ผ่าน App Center ความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าถึง NAS ได้จากอินเทอร์เน็ตผ่านบริการ myQNAPcloud ที่ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลามาเซ็ต Port forwarding กับทำ DDNS เลย หาก Internet Router ของบริษัทรองรับ UPnP
และสำคัญที่สุดคือ Hybrid Backup Sync ที่ล่าสุดเวอร์ชัน 3 ที่จะมาพร้อมกับ QTS 4.4 เร็วๆ นี้ ที่รวบรวมความสามารถในการเชื่อมต่อกับสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ผ่านโปรโตคอลต่างๆ รวมถึงบริการ Cloud storage ชั้นนำทั่วโลก เพื่อให้สามารถรองรับแผนการสำรองข้อมูลได้แทบทุกแนวทางเท่าที่แผนกไอทีของคุณจะคิดกันได้เลยทีเดียวล่ะ
ตัวเลือก QNAP NAS แบบ 9-bay ในประเทศไทย
อุตส่าห์เขียนเหตุผลมาจนถึงตรงนี้แล้ว ผมว่าเจ็บแต่จบ สำหรับ SMBs ที่อยากได้ NAS เอาไว้เก็บข้อมูล และเผื่อจะขยับขยายทำโน่นทำนี่อีกมากมาย ถ้าสนใจ ลองคลิกลิงก์ตามด้านล่างดูได้ฮะ
- QNAP TS-963X 8GB ตัวนี้ดี เพราะหน่วยประมวลผล AMD แถมมีแรมมาให้ 8GB เรียบร้อยแล้ว แต่แน่นอนว่าต้องไปหาซื้อฮาร์ดดิสก์ใส่เอง
- QNAP TVS-951X ตัวนี้ เป็นรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับทำ Virtualization โดยเฉพาะ (สังเกตชื่อรุ่น TVS) เลยมีแรมมาให้ 8GB เป็นพื้นฐาน แต่ต้องไปหาซื้อฮาร์ดดิสก์มาใส่เองนะ
- ส่วนรุ่น TS-932X นี่ ไม่มีจำหน่ายบน Lazada นะ เท่าที่ผมเห็น แต่ลองค้น Google คำว่า “QNAP TS-932X ราคา” จะเห็นหลายๆ เว็บมีขายอยู่ในไทยครับ