Skip to content
  • กว่าจะมาเป็น … นายกาฝาก
  • รู้จักนายกาฝาก
  • ติดต่อนายกาฝาก
บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
ข่าวเขาฝากมา
  • realme จัดแคมเปญ ‘Empower The Next Gen’ เสริมพลังขับเคลื่อนคนรุ่นใหม่ เปิดพื้นที่โชว์ 4 ศักยภาพอย่างไร้ขีดจำกัด
  • ชี้เป้าสมาร์ทโฟน 5G สุดคุ้ม “Galaxy A42 5G” จากซัมซุง เร็วแรงพร้อมลุยทุกการใช้งาน ในราคาหมื่นต้น!
  • ดีแทคจับมือยารา เปิดตัว Kaset Go เครือข่ายดิจิทัลชุมชนเพื่อเกษตรกรแห่งแรกในประเทศไทย
  • อาร์ทีบีฯ ส่งแพ็กคอนเทนต์ครีเอเตอร์!!! ชุดหูฟัง ATH-M40x พร้อมไมโครโฟน ATR2500X-USB ของ Audio-Technica ราคาสุดคุ้มเอาใจผู้ผลิตคอนเทนต์
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล เปิดตัว WD_BLACK SN850 NVMe SSD มอบอีกขั้นของความเร็วแรงบนเทคโนโลยี PCIe® GEN4 รุ่นใหม่
  • MY PASSPORT SSD แบรนด์ WD ดีไซน์ใหม่ถอดด้าม พกความเร็วมาเต็มพิกัดพร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
Home>>รีวิว>>ระบบวัดแรงดันลมยาง (TPMS) มันจะใช้กับสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าที่เป็นล้อลมยางได้ไหมนะ?
กล่องอุปกรณ์ TPMS (Tire Pressure Monitoring System)
รีวิว

ระบบวัดแรงดันลมยาง (TPMS) มันจะใช้กับสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าที่เป็นล้อลมยางได้ไหมนะ?

นายกาฝาก
กรกฎาคม 17, 2019 1055 Views0

ด้วยความที่ได้ Ninebot Kickscooter MAX มาลอง ก็เลยทำให้มีประสบการณ์ในการขี่สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าแบบล้อยางลมบ้าง หลังจากที่ขี่มาสามปี ขี่แต่แบบล้อตันมาตลอด และด้วยความที่ก็เล็งๆ ว่าจะซื้อ Ninebot Kickscooter MAX ไว้ใช้เป็นสกู๊ตเตอร์สลับกันขี่กับ Ninebot Kickscooter ES2 บ้าง หลังจากที่ได้ลองขี่ดูมาราวๆ เกือบๆ สัปดาห์นึง ก็ต้องบอกว่า การที่มันเป็นสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าแบบล้อยางลมเนี่ยแหละ ทำให้ผมมีความกังวลครับ เพราะถ้าเกิดยางรั่วยางแตกระหว่างทางนี่ เรื่องใหญ่เหมือนกัน นอกจากนี้ ก็ต้องคอยดูลมยางบ่อยๆ เหมือนตอนขี่จักรยานอะ แต่จะให้คอยบีบยางดูความแน่นบ่อยๆ ก็คงไม่ดี ไม่อยากเลอะมือด้วย ทางออกที่ดีที่สุด ผมว่าก็ต้องใช้ TPMS หรือ ระบบวัดแรงดันลมยางครับ แต่คำถามก็มีอยู่ว่า แล้วมันจะใช้ด้วยกันได้ไหมอ่ะ เพราะ TPMS ที่มีขาย เขาเอาไว้ใช้กับมอเตอร์ไซค์อ้ะ

ออกตัวล้อฟรีก่อน…

บทความนี้ถือว่ามีสองวัตถุประสงค์ คือ

1. รีวิว TPMS สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ยี่ห้อนึง ที่ผมสอยมาจาก Shopee

2. ทดสอบดูว่า TPMS สำหรับมอเตอร์ไซค์ มันจะใช้กับสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าแบบล้อยางลมได้ไหม

บทความนี้ได้รับการสนับสนุนสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า Ninebot Kickscooter MAX จากทาง MONOWHEEL มาให้ใช้ทดสอบ แต่ตัว TPMS ที่พูดถึงในบทความนั้น ผมหาซื้อมาใช้เอง ความเห็นเกี่ยวข้องกับการใช้งาน เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ในฐานะคนที่ซื้อเองใช้เอง ใครอยากสอยจากร้านเดียวกับผม เดี๋ยวจะแปะลิงก์ไว้ให้ด้านล่าง

จริงๆ แล้ว ปัญหายางรั่วยางแตก มันไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ครับ แต่ถ้าเกิดขึ้นมาแล้วก็ทำเอาวุ่นวายน่าดู ผมนี่เจอกับตัวเองหลายหนแล้ว ทำให้ตอนนี้ทั้งรถยนต์ของแฟนผม และรถยนต์ของผมที่ให้คุณแม่ขับ ต่างก็มีระบบ TPMS ด้วยกันทั้งนั้น (อ่านรีวิว TPMS ที่ผมซื้อมาติดตั้งบนรถยนต์ของผมเองได้) ฉะนั้น เมื่อคิดว่าจะต้องใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าที่เป็นล้อยางลม ผมก็เลยตัดสินใจซื้อ TPMS สำหรับรถมอเตอร์ไซค์มาทดสอบครับ คือ ผมอยากรู้ว่า มันจะสามารถติดตั้งกับสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าได้ไหม และใช้งานได้ดีแค่ไหนนั่นเอง

จุกวัดแรงดันลมยาง TPMS สำหรับล้อหลัง

ตัวจุกลมยาง TPMS นี่จะคล้ายๆ กับเวอร์ชันของรถยนต์ครับ แต่ว่าจะมีขนาดเล็กกว่า และ 1 เซ็ตมีให้แค่สองล้อ แต่สนนราคานี่อยากบอกว่า แพงกว่าเวอร์ชันสำหรับรถยนต์อีก (อะไรแว้) ส่วนนึงคือ ผมเลือกซื้อร้านที่สต็อกของไว้ในประเทศไทยด้วยแหละ ถ้าทนรอมันกระดึ๊บๆ มาจากประเทศจีนได้ ก็จะประหยัดไปได้ประมาณ 700 บาท สำหรับยี่ห้อและรุ่นเดียวกันครับ (แต่ราคาก็จะถูกกว่าเวอร์ชันรถยนต์นิดเดียว)

ต้องใช้อุปกรณ์เสริมในการถอดฝา เพื่อเปลี่ยนถ่าน
แกะฝาออกมาเพื่อเปลี่ยนถ่านได้

อุปกรณ์ที่ให้มาภายในกล่อง ก็จะมีตัวหน้าจอ LED ที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับข้อมูลจากจุกวัดแรงดันลมยาง ตัวจุกวัดแรงดันลมยาง 2 อัน แบ่งเป็นล้อหน้าล้อหลังเขียนเอาไว้ชัดเจน (F คือล้อหน้า | R คือล้อหลัง) แล้วก็มีแหวนหกเหลี่ยมเอาไว้กันคนแอบขโมยจุกยางมาให้ 3 อัน (อันที่เกินมาคือเอาไว้สำรอง กันหาย) แล้วก็มีสาย Micro USB เอาไว้ชาร์จตัวรับสัญญาณ มีตัวยึดตัวรับสัญญาณทั้งแบบใช้ยึดกับแฮนด์ และแบบที่ใช้เทปกาว 3M ติดกับพื้นผิวให้เลือก และมีตัวบิดแปลกๆ สองอัน ซึ่งเอาไว้สำหรับช่วยถอดฝาปิดจุก เพื่อเอาไว้เปลี่ยนถ่าน โดยถ่านที่ใช้ เป็นถ่านกระดุมขนาด CR1632 ครับ

ตัวจุกนี่ปิดค่อนข้างแน่นมาก และมีซีลกันน้ำอยู่ ฉะนั้นหมดห่วงเรื่องการขี่มอเตอร์ไซค์ตากฝน ลุยน้ำ อะไรพวกนี้ แต่ในคู่มือก็ย้ำครับว่าลุยได้นะ แต่อย่าจอดแช่ให้มันจมน้ำ ซึ่งผมก็เห็นด้วย ต่อให้มันกันน้ำดียังไง การให้มันแช่น้ำนานๆ ก็บรรลัยได้เหมือนกัน

ติดตั้ง TPMS ที่ล้อหน้า (แบบยังไม่ได้ใส่แหวนกันขโมย)
ติดตั้งจุก TPMS ที่ล้อหลัง แม้จะใส่แหวนกันขโมย แต่ก็ไม่สามารถขันกลับมาล็อกให้แน่นได้

การติดตั้งไม่ยุ่งยากครับ แต่ว่าด้วยความที่ตัวหัวนมสำหรับสูบลมยางมันสั้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ล้อหลังจาก Ninebot Kickscooter MAX ที่เป็นล้อมอเตอร์ ยิ่งสั้นเข้าไปใหญ่ การใส่แหวนหกเหลี่ยมกันขโมยนี่ไม่สะดวกจริงๆ ผมก็เลยเลือกที่จะใส่แบบไม่ใส่แหวนหกเหลี่ยมนะ หมุนเข้าไปดื้อๆ ยังงั้นเลย แต่ผมคิดว่า คงไม่มีใครมาขโมยจุก TPMS ไปได้ง่ายๆ หรอก เพราะสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้ามันไม่เหมือนรถยนต์ เราไม่ได้จอดทิ้งจอดขว้างแบบนั้น เพราะไม่งั้นไม่ใช่แค่จุก TPMS หายหรอก สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้านี่แหละ จะหายไปทั้งคัน

จอ LED สำหรับแสดงข้อมูลแรงดันลมยางของ TPMS

สำหรับการติดตั้งจอ LED ที่เป็นตัวแสดงผลข้อมูลแรงดันลมยาง ก็ทำได้ไม่ยาก ขอแค่แฮนด์มีที่ให้ยึดหน่อย ความกว้างซัก 2.5 ซม. และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของจุดที่เราจะยึดจับอยู่ที่ซัก 2-2.5 ซม. กำลังดี ตัว Ninebot Kickscooter MAX หรือพวก Xiaomi M365 นี่พอจะติดตั้งได้แน่ๆ แต่จะฟิตๆ คับๆ ติดๆ กับตัวล็อกกับล้อหลังหน่อย แต่ด้วยความที่ตัวยึดของเจ้านี่หมุนได้ 360 องศา และโยกไปมาเพื่อปรับตำแหน่งให้เหมาะสมได้ ก็เลยทำให้มันยังโอเค และแม้จะพับเก็บแล้ว ก็ยังไม่ไปชนกับอะไรครับ

แต่ถามว่า มันใช้ได้เวิร์กไหม ตอนแรกผมก็นึกว่ามันเวิร์ก เสียบไปปุ๊บ แรงดันลมมันก็ขึ้นมาให้เห็นเลยว่าล้อหลังมันแน่นๆ กว่าล้อหน้าอยู่นิดหน่อย แต่ผมยังแอบแปลกใจ เพราะผมเคยได้ข้อมูลมาว่า ล้อลมยางของ Xiaomi M365 นี่อยู่แถวๆ 47-50psi หรือจักรยานพับของผมที่บ้านนี่ก็ 41psi ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะล้อยิ่งเล็ก แรงดันลมน่าจะยิ่งแน่น แต่ทำไมเจ้านี่แรงดันลม 28psi กับ 30psi ล่ะเนี่ย

พอถอดจุกลมเข้าๆ ออกๆ หลายรอบ มันจะมีลมรั่วออกมานิดหน่อย ผมพบว่า ตัวเลขแรงดันลมมันลดฮวบเลยครับ ตอนนี้ล้อหน้า 20psi และล้อหลัง 26psi ไปแล้ว ผมละกลัวยางแบนเลยทีเดียว (ถ้ายางแบนนี่ชิบหายเลย เพราะขี่ไม่ได้ จะเอาไปทำงานยังไง จะเอาไปคืนที่ร้านยังไงละเนี่ย) ผมก็เลยต้องลองเอามือบีบล้อดูว่าแบนไหม ปรากฏว่า … แข็งปั๋งเลยจ้า … ฉะนั้นเลยอยากสรุปว่า TPMS ของมอเตอร์ไซค์นี่อาจจะยังไม่เหมาะกับการเอามาใช้กับสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้านะครับ

แชร์โลด:

  • Tweet
  • Print

โพสต์อื่นๆ ที่อาจสนใจ

Related tags : Electric ScooterGadgetsTPMS
Share:

Previous Post

รีวิว Wiko View3 Lite กล้องคู่ AI ในราคา 3,690 บาท

แบนเนอร์โฆษณาชอง Wiko View3 Lite

Next Post

Living with Ubuntu: EP1 จริงๆ แล้ว Linux ใช้ยากไหมเนี่ย? แล้วมันตอบโจทย์ครบไหม?

โลโก้ Ubuntu Linux สีส้ม

Related Articles

กล่องหูฟัง Plantronics BackBeta FIT 6100 วางอยู่บนโต๊ะ ด้านหน้าของหน้าต่างห้อง รีวิว

รีวิวหูฟัง Plantronics BackBeat FIT 6100 หูฟังไร้สายแบบครอบหู สำหรับผู้นิยมเล่นยิม

กล่องใส่ SanDisk Extreme Portable SSD V2 1TB วางอยู่บนโต๊ะไม้ไผ่ มีวิวด้านหลังเป็นภูเขาและท้องฟ้า รีวิว

รีวิว SanDisk Extreme Portable SSD V2 1TB

รีวิว

รีวิวหนัง Unfriended: Dark Web (2018)

กราฟิกประชาสัมพันธ์เกม Johnny Trigger รีวิว

รีวิวเกม Johnny Trigger อีกหนึ่งเกมฆ่าเวลายุคโควิด-19 ระบาด

ล้อหน้าของ Ninebot Kickscooter MAX รีวิว

ยาง Ninebot Kickscooter MAX นี่ สูบลมเท่าไหร่ดี? แล้วยางลมนี่ต้องระวังยางแตกแค่ไหน?

Leave a Reply Cancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Translate this blog

อย่าลืมกดไลค์

อย่าลืมกดไลค์

ล่าสุดบ่นอะไรไป?

My Tweets

สับตะไคร้ติดตามบล็อกของผม

ใส่อีเมลของคุณที่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกของบล็อกนี้ และรับการแจ้งโพสใหม่ผ่านทางอีเมล

© 2001-2020 kafaak.blog | Theme By WPOperation
ประกาศเรื่องการใช้คุกกี้ในเว็บไซต์นี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลการเยี่ยมชม หากยอมรับกรุณาคลิกปุ่มยอมรับด้านล่าง เพื่อยืนยันการเยี่ยมชมต่อ หากคุณไม่ยอมรับคุกกี้ ให้คลิกปุ่มปฏิเสธ แล้วเราจะนำคุณไปที่ Google.com แทน หากสงสัยว่าเราใช้คุกกี้ทำอะไร อ่าน นโยบายคุกกี้ เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม

ยอมรับ ปฏิเสธ
คำประกาศการใช้คุกกี้

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these cookies, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may have an effect on your browsing experience.
Necessary
Always Enabled

Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. This category only includes cookies that ensures basic functionalities and security features of the website. These cookies do not store any personal information.

Non-necessary

Any cookies that may not be particularly necessary for the website to function and is used specifically to collect user personal data via analytics, ads, other embedded contents are termed as non-necessary cookies. It is mandatory to procure user consent prior to running these cookies on your website.