Skip to content
  • กว่าจะมาเป็น … นายกาฝาก
  • รู้จักนายกาฝาก
  • ติดต่อนายกาฝาก
บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
ข่าวเขาฝากมา
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล ยกทัพ SSD แบบพกพาความจุเต็มพิกัดทุกแบรนด์ในตระกูลออกจำหน่าย พร้อมนำเสนอทางเลือก SSD แบบพกพาความจุสูงถึง 4TB ที่หลากหลายให้กับผู้ใช้งานทั่วไปและระดับโปรเฟสชันนัลในยุคที่สตอเรจจำเป็นต้องเร็วและมีความทนทาน
  • realme จัดแคมเปญ ‘Empower The Next Gen’ เสริมพลังขับเคลื่อนคนรุ่นใหม่ เปิดพื้นที่โชว์ 4 ศักยภาพอย่างไร้ขีดจำกัด
  • ชี้เป้าสมาร์ทโฟน 5G สุดคุ้ม “Galaxy A42 5G” จากซัมซุง เร็วแรงพร้อมลุยทุกการใช้งาน ในราคาหมื่นต้น!
  • ดีแทคจับมือยารา เปิดตัว Kaset Go เครือข่ายดิจิทัลชุมชนเพื่อเกษตรกรแห่งแรกในประเทศไทย
  • อาร์ทีบีฯ ส่งแพ็กคอนเทนต์ครีเอเตอร์!!! ชุดหูฟัง ATH-M40x พร้อมไมโครโฟน ATR2500X-USB ของ Audio-Technica ราคาสุดคุ้มเอาใจผู้ผลิตคอนเทนต์
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล เปิดตัว WD_BLACK SN850 NVMe SSD มอบอีกขั้นของความเร็วแรงบนเทคโนโลยี PCIe® GEN4 รุ่นใหม่
Home>>บ่นเรื่อยเปื่อย>>ลองนึกถึงโลกที่ไร้ GPS ดู ใครจะได้รับผลกระทบบ้างเนี่ย
ภาพมือของผู้หญิงกำลังถือแผนที่อยู่
บ่นเรื่อยเปื่อย

ลองนึกถึงโลกที่ไร้ GPS ดู ใครจะได้รับผลกระทบบ้างเนี่ย

นายกาฝาก
กรกฎาคม 10, 2019 549 Views0

GPS หรือ Global Positioning System ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก เนี่ย แรกเริ่มมาจากสหรัฐอเมริกาครับ เป็นของกองทัพอากาศสหรัฐเขา เริ่มพัฒนากันในปี ค.ศ. 1973 โดยตอนแรกยังใช้กันแค่ภายในกองทัพ แต่เริ่มเปิดเป็นสาธารณะกันในช่วงยุค 80s แต่กว่าจะใช้งานได้เต็มรูปแบบก็โน่น ค.ศ. 1995 ครับ ในยุคแรกๆ นี่ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะในการรับส่งสัญญาณ GPS กันเลย แต่เดี๋ยวนี้สมาร์ทโฟนในมือของคุณแทบทุกเครื่อง ต่างก็มี GPS ใช้กันทั้งนั้นแล้ว

จากเดิมที่ต้องซื้ออุปกรณ์มาเป็นการเฉพาะ ถ้าต้องการจะใช้งาน GPS กลายมาเป็นว่าทุกคนจะใช้ไม่ใช้ไม่รู้ล่ะ ยังไงมันก็มาพร้อมกับสมาร์ทโฟน เดี๋ยวนี้ใครจะขับรถไปไหนมาไหน ก็คล่องตัวขึ้นมา เพราะแม้จะไม่เคยไปมาก่อน หรือไม่รู้ทางด้วยซ้ำว่าจะขับไปยังไง GPS ก็บอกทางเราได้หมด … แต่ถ้าอยู่มาวันนึง GPS เกิดล่มทั้งโลกขึ้นมาล่ะ ผลกระทบมันจะเป็นยังไง?

เมื่อต้นปี ผมได้เขียนบล็อกพูดถึงผลกระทบของการใช้ GPS ที่มีต่อทักษะการเดินทางและสมองไปแล้ว ว่าเอาแต่ใช้ GPS นำทาง จนทำให้ไม่หัดสังเกตเส้นทาง มันส่งผลยังไง คราวนี้เลยอยากมาชวนคุณผู้อ่านลองจินตนาการถึงผลกระทบบ้างว่า จากที่เคยแบบ เปิดสมาร์ทโฟนขึ้นมา เรียก Google Maps หรือ Apple Maps ขึ้นมา ก็สามารถใช้ GPS ได้แล้ว ยิ่งเทคโนโลยีเดี๋ยวนี้พัฒนาไปมาก แผนที่บางเมืองของบ่งประเทศ มีเป็นแบบสามมิติเลยเหอะ มันไม่ใช่แค่เห็นเส้นทางแล้ว แต่ได้เห็นยันบรรยากาศรอบๆ ที่นั้นๆ เลยว่ามีตึกอะไรยังไงบ้าง โหดมาก

แต่ถ้าอยู่มาวันนึง เราตื่นมาแล้ว GPS ล่มทั้งระบบ ใช้ไม่ได้เลยทั้งโลก คิดว่าผลกระทบจะเป็นยังไงล่ะ? คุณคิดว่ายังไงล่ะ?

ภาพแผนที่ Google Maps แบบสามมิติ ของเมืองนิวยอร์ก

ใกล้ตัวสุดเลย เราๆ ท่านๆ ก็อดใช้พวก Google Maps หรือ Apple Maps นั่นแหละ เรื่องการนำทางในชีวิตประจำวันอาจไม่มีปัญหา เพราะเส้นทางเราคุ้นเคยกันดี ปกติเราก็ไม่ได้ใช้ GPS นำทางอยู่แล้ว ไกลตัวไปอีกหน่อย คนที่ลำบากก็เป็นพวกพี่แมสเซนเจอร์อะ ที่หลายๆ คนพึ่งพา GPS ในการนำทางไปยังจุดหมาย

ไกลตัวไปอีกหน่อย พวกบริษัทห้างร้านที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ ก็จะป่วนครับ เพราะบริการพวกนี้ ใช้ GPS เข้ามาช่วยค่อนข้างเยอะมาก พวก Grab พวก Lalamove, Get!, Scootar อะไรพวกนี้ ป่วนแน่นอน บริษัทขนส่ง ที่ใช้ GPS ในการติดตามคนขับ ก็จะตามพิกัดคนขับไม่ได้ นี่ก็ป่วนเช่นกัน

ไกลออกมาอีกมากๆ ระบบขนส่งใหญ่ๆ เขาก็ใช้ GPS กันนะ เช่น เครื่องบิน ถ้าไม่มี GPS นี่วุ่นเลยนะก็ป่วน ศูนย์ควบคุมการบินก็จำเป็นต้องใช้ระบบ GPS เหมือนกัน เคยมีเคสนึงที่ประเทศสหรัฐอเมริกา คนขับรถบรรทุกเกิดอยากโกงนายจ้าง เอาเครื่องกวนสัญญาณ GPS มาเปิดใช้เพื่อป้องกันไม่ให้นายจ้างตามได้ว่าเขาขับออกนอกลู่นอกทางไปไหน แต่ไอ้สัญญาณจาก GPS jammer มันดันแรงไป จนไปกวนระบบของสนามบิน Newark Liberty เข้าให้น่ะสิ เล่นเอาป่วนไปกันหมด (คนขับรถโดนปรับไปราวๆ 3.2 หมื่นเหรียญสหรัฐฮะ)

พวกบริษัทใหญ่ๆ ที่ให้บริการที่ต้องอ้างอิง GPS เช่น Google หรือ Apple ที่ให้บริการ Maps ก็ย่อมต้องป่วนไปด้วยเช่นกัน … วุ่นกันใหญ่แน่นอนครับ และถ้าขยับไปถึงภาครัฐด้วยละก็ … หึหึ ไม่กล้าคิดเลยครับ

แล้วเราต้องพึ่งพาแต่ GPS ของสหรัฐเท่านั้นเหรอ?

อย่างที่บอก ระบบ GPS มันเป็นของสหรัฐอเมริกาครับ แต่แม้ว่าอเมริกาจะเป็นผู้ริเริ่มเทคโนโลยี แต่ไม่ได้เป็นเจ้าเดียวที่ผูกขาดนะ (แค่มีคนใช้เยอะมากๆ เท่านั้นเอง) แต่ระบบนำทางด้วยดาวเทียม หรือที่เรียกว่า Global Navigation Satellite System (GNSS) เนี่ย ไม่ได้มีแค่ GPS เจ้าเดียวนะครับ

  • ประเทศจีนมีระบบของตัวเองที่เรียกว่า Beidou Navigation Satellite System (BDS) ที่คาดว่าจะใช้งานทั่วโลกได้ปีหน้า (ค.ศ. 2020)
  • ฝั่งสหภาพยุโรปมีโครงการหมื่นล้านยูโรชื่อว่า Galileo ที่เพิ่งเริ่มได้ใช้งานเมื่อปี ค.ศ. 2016
  • อดีตมหาอำนาจอยากรัสเซีย ก็มี GLONASS (GLObal NAvigation Satellite System) ซึ่งมีประวัติมายาวนานพอๆ กับ GPS ของอเมริกา สมกับที่เคยขับเคี่ยวกันมาจริงๆ
  • ญี่ปุ่นมี QZSS (Quasi-Zenith Satellite System) ซึ่งใช้งานได้เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น

แล้วสมาร์ทโฟนสมัยนี้ ถ้า GPS ล่มไป จะนำทางได้อยู่ไหม?

อย่างที่บอกไปตอนแรก ถ้าเกิดระบบ GPS ล่มขึ้นมา ความชิบหายจะมาเยือนทันที แล้วจะไม่มีใครคิดเผื่อเหตุการณ์แบบนี้เอาไว้เลยเหรอ? แล้วถ้า GPS ล่มขึ้นมาจริงๆ สมาร์ทโฟนมันจะยังนำทางได้อยู่ไหม? คำตอบคือ ผมเองก็ตอบยาก แต่เผื่อใครไม่ทราบ สมาร์ทโฟนสมัยนี้ ทั้ง Android และ iPhone ต่างก็ไม่ได้ใช้งานเฉพาะ GPS เท่านั้นนะครับ มันรองรับ GLONASS ด้วย QZSS ด้วย และยังมี SBAS (Satellite-Based Augmentation System) อีก

หน้าจอแสดงการรับสัญญาณดาวเทียมระบบ GNSS

ใครอยากแน่ใจว่าสมาร์ทโฟนของตัวเองรองรับระบบ GNSS อะไร ก็ดาวน์โหลดแอป GPS Test มาติดตั้ง แล้วทดสอบสิครับ ส่วน iPhone ไม่ต้องทดสอบ เพราะรุ่นใหม่ๆ ก็รองรับ GNSS อื่นๆ มากขึ้น เช่น iPhone 8 หรือใหม่กว่า รองรับทั้ง Galileo และ GLONASS ด้วย และทาง Apple ก็พยายามรองรับ GNSS ระบบอื่นๆ มาตั้งกะ iPhone 4s แล้ว ถ้าจำไม่ผิด

อย่างกรณีของ ZTE Axon M ของผมนี่ พอเช็กดูที่หน้าบ้านก็เจอ GPS, GLONASS, QZSS และ SBAS ครับ และมี GPS กับ GLONASS พอๆ กันด้วย ฉะนั้น แม้ฝั่งอเมริกาจะล่มไป สมาร์ทโฟนของผม ก็ยังสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมฝั่งรัสเซียใช้งานต่อได้แหละ

เราแค่เคยชินกับคำว่า GPS เลยเรียกทุกอย่างรวมๆ กันว่า GPS เหมือนกับที่เราเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่า มาม่า นั่นแหละ จริงๆ แล้ว เราต้องเรียกรวมๆ ว่า GNSS มากกว่า แล้วค่อยแยกว่า รองรับระบบไหนบ้าง ฉะนั้น แม้ GPS จะล่มไป สมาร์ทโฟนของเรา ส่วนใหญ่ ก็น่าจะเอาตัวรอดได้ด้วยข้อมูลจาก GNSS ระบบอื่นๆ ครับ … ส่วนภาคส่วนอื่นๆ ที่ใช้ GNSS เป็นระบบ GPS ถ้าเกิดระบบล่มขึ้นมา ก็คงต้องไปดูกันว่าเขามีระบบอื่นสำรองไหม เพราะถ้าไม่มีก็บรรลัยครับ

แชร์โลด:

  • Tweet
  • Print

โพสต์อื่นๆ ที่อาจสนใจ

Related tags : GPSMaps
Share:

Previous Post

สมาร์ทโฟนราคาไม่กี่พันบาท ก็ทำอะไรได้เยอะแล้ว เรายังต้องซื้อแพงๆ อีกไหม?

หน้าเว็บไซต์ของ Apple ที่ขาย iPhone Xs/Xs Max

Next Post

รีวิว Ninebot Kickscooter MAX สกู๊ตเตอร์รุ่นล่า วิ่งได้ยาวเลยลูกเพี่ย

สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า Ninebot Kickscooter MAX จอดอยู่ริมบึง แถวๆ จังหวัดสมุทรสาคร

Related Articles

หน้าจอด้านล่างของแท็บเล็ต Huawei MatePad T8 แสดงรายชื่อแอปที่มากับตัวเครื่องบางส่วน บ่นเรื่อยเปื่อย

ความเห็นส่วนตัวของผมเกี่ยวกับการใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของ Huawei แบบที่ไม่มี Google Mobile Service มันเดือดร้อนแค่ไหน? แล้วมีทางเลือกอื่นอะไรช่วยได้บ้าง?

ภาพของผู้หญิงกำลังนั่งอยู่บนโซฟาใช้แท็บเล็ต อยู่ในหน้าจอเปิด VPN บ่นเรื่อยเปื่อย

เดี๋ยวนี้ VPN ยังจำเป็นอยู่ไหม? แล้วใครยังควรจะใช้มันอยู่?

แป้นไม้สี่เหลี่ยมจำนวนมากวางเรียงรายอยู่บนโต๊ะ ด้านบนสุดมีแป้นไม้ที่มีตัวอักษรเรียงเป็นคำว่า FAKE NEWS บ่นเรื่อยเปื่อย

ผลกระทบของข่าวปลอม (Fake news) มันร้ายแรงกว่าที่คุณคิดเยอะนะ ฉะนั้น เช็กให้ชัวร์ก่อนแชร์ดีกว่า

บ่นเรื่อยเปื่อย

เมื่อ WordPress หันมาใช้ Gutenberg

รถเมล์ไฟฟ้า BYD K9 ของ Loxley สีขาว บ่นเรื่อยเปื่อย

ได้ลองนั่งรถเมล์ไฟฟ้ามาแล้ว ใช้ในกรุงเทพฯ จะเวิร์กไหม? เห็นว่าสาย 149 จะเริ่มใช้กัน

Leave a Reply Cancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Translate this blog

อย่าลืมกดไลค์

อย่าลืมกดไลค์

ล่าสุดบ่นอะไรไป?

My Tweets

สับตะไคร้ติดตามบล็อกของผม

ใส่อีเมลของคุณที่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกของบล็อกนี้ และรับการแจ้งโพสใหม่ผ่านทางอีเมล

© 2001-2020 kafaak.blog | Theme By WPOperation
ประกาศเรื่องการใช้คุกกี้ในเว็บไซต์นี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลการเยี่ยมชม หากยอมรับกรุณาคลิกปุ่มยอมรับด้านล่าง เพื่อยืนยันการเยี่ยมชมต่อ หากคุณไม่ยอมรับคุกกี้ ให้คลิกปุ่มปฏิเสธ แล้วเราจะนำคุณไปที่ Google.com แทน หากสงสัยว่าเราใช้คุกกี้ทำอะไร อ่าน นโยบายคุกกี้ เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม

ยอมรับ ปฏิเสธ
คำประกาศการใช้คุกกี้

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these cookies, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may have an effect on your browsing experience.
Necessary
Always Enabled

Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. This category only includes cookies that ensures basic functionalities and security features of the website. These cookies do not store any personal information.

Non-necessary

Any cookies that may not be particularly necessary for the website to function and is used specifically to collect user personal data via analytics, ads, other embedded contents are termed as non-necessary cookies. It is mandatory to procure user consent prior to running these cookies on your website.

SAVE & ACCEPT