Skip to content
  • กว่าจะมาเป็น … นายกาฝาก
  • รู้จักนายกาฝาก
  • ติดต่อนายกาฝาก
บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
ข่าวเขาฝากมา
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล ยกทัพ SSD แบบพกพาความจุเต็มพิกัดทุกแบรนด์ในตระกูลออกจำหน่าย พร้อมนำเสนอทางเลือก SSD แบบพกพาความจุสูงถึง 4TB ที่หลากหลายให้กับผู้ใช้งานทั่วไปและระดับโปรเฟสชันนัลในยุคที่สตอเรจจำเป็นต้องเร็วและมีความทนทาน
  • realme จัดแคมเปญ ‘Empower The Next Gen’ เสริมพลังขับเคลื่อนคนรุ่นใหม่ เปิดพื้นที่โชว์ 4 ศักยภาพอย่างไร้ขีดจำกัด
  • ชี้เป้าสมาร์ทโฟน 5G สุดคุ้ม “Galaxy A42 5G” จากซัมซุง เร็วแรงพร้อมลุยทุกการใช้งาน ในราคาหมื่นต้น!
  • ดีแทคจับมือยารา เปิดตัว Kaset Go เครือข่ายดิจิทัลชุมชนเพื่อเกษตรกรแห่งแรกในประเทศไทย
  • อาร์ทีบีฯ ส่งแพ็กคอนเทนต์ครีเอเตอร์!!! ชุดหูฟัง ATH-M40x พร้อมไมโครโฟน ATR2500X-USB ของ Audio-Technica ราคาสุดคุ้มเอาใจผู้ผลิตคอนเทนต์
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล เปิดตัว WD_BLACK SN850 NVMe SSD มอบอีกขั้นของความเร็วแรงบนเทคโนโลยี PCIe® GEN4 รุ่นใหม่
Home>>บทความ How-to>>แนวทางการใช้ Qsync บน QNAP NAS ให้เกิดประโยชน์ สำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน
บทความ How-toQNAP User Guide

แนวทางการใช้ Qsync บน QNAP NAS ให้เกิดประโยชน์ สำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน

นายกาฝาก
กรกฎาคม 6, 2019 4641 Views0

ฟีเจอร์นึงของ QNAP NAS เมื่อเอามาใช้คู่กับ myQNAPcloud แล้วมันจะดีงามมาก ก็คือ Qsync ครับ มันคือฟีเจอร์ที่ช่วยให้เราเซ็ต QNAP NAS เป็น Personal cloud storage ของเราได้เลย และถ้าใครนึกไม่ออกว่ามันเป็นยังไง ให้ลองนึกถึงว่าเราทำบริการจำพวก Dropbox, OneDrive, Google Drive เอาไว้ใช้เอง อะไรแบบนี้นั่นแหละครับ และบริการ Qsync นี้ สามารถใช้งานได้บนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Windows, macOS หรือแม้แต่ Ubuntu Linux ส่วนตัวสมาร์ทโฟน ถ้าเป็น Android ก็สามารถติดตั้งได้ แต่ถ้าเป็น iOS ก็จะต้องเข้าถึงโฟลเดอร์ Qsync ผ่านทางแอป Qfile แทนครับ (ฟีเจอร์ในการซิงก์ข้อมูลจะทำไม่ได้)

เมื่อประโยชน์มันเยอะ ผมก็เลยอยากเขียนแนะแนววิธีการใช้งาน Qsync ท่าที่ผมพอจะนึกออก เผื่อใครที่มี QNAP NAS แล้ว อาจจะได้ลองไปทำตาม ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง แล้วจะได้รู้สึกว่าซื้อ QNAP NAS มาแล้ว ใช้คุ้มค่ามากขึ้น

แนวทางแรก: ใช้ Qsync แปลง QNAP NAS ให้เป็น Personal cloud storage ใช้เองเลย

แนวทางแรกนี่คือเป็นสิ่งที่ Qsync ถูกวางเป็นฟีเจอร์พื้นฐานอยู่แล้วฮะ คือ แทนที่จะต้องไปทนใช้บริการ Cloud storage แบบฟรีๆ ที่มักจะมีข้อจำกัดในเรื่องความจุครับ เช่น Dropbox ให้ใช้ฟรีแค่ 2GB ส่วน iCloud กับ OneDrive ให้ใช้ได้ฟรี 5GB และถ้าเป็น Google Drive ก็จะใช้ได้ฟรี 15GB (แต่อันนี้มันรวมกับเนื้อที่ที่ใช้กับ Gmail และ Google Photos ในกรณีที่แบ็กอัพรูปด้วยความละเอียดแบบดั้งเดิม ด้วย) และหากต้องซื้อเนื้อที่ใช้งาน ก็มีค่าใช้จ่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่เดือนละสามร้อยกว่าบาทต่อ 2TB ครับ หากต้องการความจุเยอะๆ แบบ 10TB นี่ Google Drive มีให้บริการในราคาเดือนละ 3,500 บาทเลยทีเดียว แพงใช่ย่อยอยู่ ถูกแมะ

ฟีเจอร์การแชร์ไฟล์ผ่านลิงก์ของ Qsync มีเหมือนกับพวกบริการ Cloud storage อื่นๆ

แต่ถ้าเรามี QNAP NAS ไว้ใช้งานอยู่แล้ว และยังรู้สึกว่าใช้ยังไม่คุ้ม ก็เอามันมาทำ Personal cloud storage ซะเลย อาจช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่อง Cloud storage ได้อีก และพวกฟีเจอร์พื้นฐานตามที่ Cloud storage ควรมี เช่น การแชร์ไฟล์ที่เก็บเอาไว้ในโฟลเดอร์ที่เราทำ Qsync ผ่านลิงก์ อะไรพวกเนี้ย ก็ทำได้สบายๆ เลย

แนวทางที่สอง: เอามาช่วยให้เครื่องที่เป็น Linux ซิงก์กับ OneDrive ได้

ในขณะที่ Dropbox มีการทำ Sync client สำหรับ Linux เอาไว้ให้ และ Google Drive เราก็ยังพอจะหา 3rd party client แบบฟรีๆ มาใช้ได้ แต่สำหรับ OneDrvie แล้ว ของฟรีมีแต่พวกที่เป็น Command line ทั้งนั้น ส่วนตัวที่เป็น GUI ที่ดูดีๆ หน่อย ก็ต้องควักกระเป๋าอย่างต่ำๆ $25 ละครับ แต่ถ้าเกิดเรามี QNAP NAS และติดตั้ง myQNAPcloud เอาไว้ พร้อมกับ Hybrid Backup Sync และ Qsync แล้ว ก็จะสามารถทำการซิงก์ข้อมูลกับ OneDrive ได้ โดยมี QNAP NAS เป็นตัวกลางนั่นเอง

หน้าจอเซ้ตอัพ Hybrid Backup Sync ตอนกำลังสร้าง Sync job

หลักการก็คือแบบนี้ครับ ก่อนอื่น เซ็ตอัพ QNAP NAS เปิดแอป Hybrid Backup Sync แล้วทำการเซ็ต 2-way แบบ Cloud sync แล้วจากนั้นก็ทำการเซ็ตอัพการซิงก์ไปที่ OneDrive ให้เรียบร้อย โดยทำการสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาเพื่อการซิงก์นี้โดยเฉพาะ ถ้าเกิดเรากะว่าจะใช้กับผู้ใช้งานหลายคน ให้สร้างโฟลเดอร์หลักขึ้นมาก่อน จากนั้นค่อยสร้างโฟลเดอร์ย่อยตามผู้ใช้งาน เพื่อใช้ซิงก์ข้อมูลเฉพาะของผู้ใช้งานคนนี้ จากนั้นทำการเซ็ตให้โฟลเดอร์พวกนี้เป็น Shared folder แล้วก็เซ็ตให้มีแค่เฉพาะผู้ใช้งานคนนั้นๆ สามารถเข้าถึงได้ แค่นี้ก็เตรียมการในฝั่ง QNAP NAS เสร็จแล้ว … ข้อมูลจาก OneDrive ทั้งหมดก็จะถูกซิงก์เข้ามาที่ QNAP NAS

หน้าจอโปรแกรม Qsync client ที่กำลังซิงก์ข้อมุลไปยัง QNAP NAS อยู่

ถัดมาก็คือ ดาวน์โหลดและติดตั้ง Qsync บนเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็ทำการเซ็ตอัพ Qsync client ให้ซิงก์ไปที่ Shared folder ส่วนที่เราซิงก์ OneDrive มา แค่นี้ก็เรียบร้อยครับ ไม่จำเป็นต้องไปซิงก์กับโฟลเดอร์ Qsync ที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อผู้ใช้งานคนนั้นนะครับ แค่นี้ โฟลเดอร์ Qsync ที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการ Linux ของเรา ก็จะสามารถซิงก์ข้อมูลกับ OneDrive ได้แล้วด้วย โดยใช้ QNAP NAS เป็นตัวกลางนั่นเอง

แต่ก่อนจะใช้ QNAP NAS มาเป็น Personal cloud storage ต้องคำนึงเรื่องพวกนี้ด้วยนะ

  • ถามว่าทำไมบริการ Cloud storage เขาถึงเก็บค่าบริการเราแพง? ก็เพราะว่ามันมีค่าบำรุงรักษามาเกี่ยวข้องด้วยไงครับ ถ้าเราเลือกใช้ QNAP NAS มาเป็น Personal cloud storage ก็ต้องคิดว่าแม้จะปลอดค่าใช้จ่ายรายเดือน แต่เราก็มีค่าใช้จ่ายเป็นค่า QNAP NAS ค่าฮาร์ดดิสก์ และค่าใช้จ่ายในกรณีที่ NAS หรือฮาร์ดดิสก์เสียอีกนะ
  • แม้ว่าคุณจะไม่ได้เห็นการทำงานเบื้องหลังของบริการ Cloud storage ต่างๆ แต่ขอบอกให้รู้ว่าพวกนี้เขามีมาตรการป้องกันข้อมูลสูญหายเอาไว้ดีครับ ซึ่งนั่นรวมถึงการสำรองข้อมูลด้วย ดังนั้น ถ้าคุณคิดว่าจะเก็บข้อมูลของคุณเอาไว้บน QNAP NAS ละก็ ให้คิดเผื่อเรื่องการแบ็กอัพเอาไว้ด้วย (อ่านบทความเรื่องการวางแผนแบ็กอัพของผมเป็นแนวทางได้) ซึ่ง QNAP NAS เขามีฟีเจอร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องนี้ให้มาก ขอแค่ใช้ให้เหมาะสมเท่านั้นเอง แต่ถ้าข้อมูลของคุณสำคัญมากสุดๆ แบบหายไปไม่ได้เลย มันอาจหมายถึงคุณต้องวางแผนมี QNAP NAS อีกชุด เพื่อสำรองข้อมูลก็ได้นะ
  • ความเร็วอินเทอร์เน็ตบ้าน ทั้งขา Download และ Upload มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะขา Upload เพราะว่ามันส่งผลต่อความเร็วในการดึงข้อมูลมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งอาจส่งผลต่อค่าบริการอินเทอร์เน็ตของเราได้ แต่โชคดีว่าเดี๋ยวนี้ค่าเน็ตบ้านเราค่อนข้างถูกครับ

ผมยังไม่ถึงขั้นที่จะยุให้ทุกคนหยุดใช้บริการพวก Cloud storage แล้วหันมาใช้ QNAP NAS โดยสิ้นเชิงนะ เพราะมันไม่ใช่เหมาะกับทุกคน เช่น ใครบ้านเน็ตช้า หรือ QNAP NAS เป็นแบบราคาประหยัดมาก พวกนี้จะทำอะไรแบบนี้ไม่สะดวกเท่าไหร่หรอก แต่สำหรับคนที่ซื้อ QNAP NAS สเปกดีประมาณนึง (พวก 4-bay ใช้ CPU เป็นของ Intel หรือ AMD มีแรม 4GB ขึ้นไป อะไรแบบนี้) ลองพิจารณาการทำอะไรแบบนี้บ้าง ผมว่ามันก็เป็นการพยายามใช้งาน QNAP NAS คุ้มค่าที่ซื้อมา จริงไหมล่ะ

แชร์โลด:

  • Tweet
  • Print

โพสต์อื่นๆ ที่อาจสนใจ

Related tags : NASQNAPQsync
Share:

Previous Post

Wiko View3 Lite กล้องหลังคู่ ฟังก์ชั่นครบ บันเทิงอย่างไร้ขีดจำกัด ในราคาคุ้มค่า

Next Post

รีวิว Wiko View3 สมาร์ทโฟนสามกล้อง แค่ 5 พันบาทมีทอน

Wiko View3 พร้อมกล่อง

Related Articles

บทความ How-toQNAP User Guide

มือใหม่หัดใช้ QNAP NAS: Snapshot คืออะไร แล้วมันต่างจากแบ็กอัพตามปกติยังไง?

หน้าปกบล็อก QNAP NAS อัพเกรด ซีพียู หรือแรม เท่าไหร่ถึงจะดี? QNAP User Guideบทความ How-to

อัปเกรด QNAP NAS ดีไหม เห็น RAM ใกล้หมดแล้วใจสั่น

ภาพหน้าจอโปรแกรม Zoom Meeting ที่แสดงภาพวิดีโอจากแอป iVCam แต่มีการเปลี่ยนแบ็กกราวด์เป็นแสงเหนือด้วยฟีเจอร์ของ Zoom Meeting บทความ How-toHow-to อื่นๆ

แปลงสมาร์ทโฟนเป็นกล้องเว็บแคมบน Windows ฟรีๆ ด้วย iVCam ใช้ได้ทั้ง iPhone และ Android ด้วย

กราฟิกแสดงตัวอย่างการใช้งาน Photos Station ของ QNAP NAS บทความ How-toQNAP User Guide

เมื่อ Google Photos ไม่ให้พื้นที่แบบไม่จำกัดแล้ว ก็หันมาใช้ QNAP เก็บรูปแทนสิ

บทความ How-toQNAP User Guide

QNAP NAS 101 – EP16: ใส่ SSD หรือ ฮาร์ดดิสก์ (HDD) ดี?

Leave a Reply Cancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Translate this blog

อย่าลืมกดไลค์

อย่าลืมกดไลค์

ล่าสุดบ่นอะไรไป?

My Tweets

สับตะไคร้ติดตามบล็อกของผม

ใส่อีเมลของคุณที่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกของบล็อกนี้ และรับการแจ้งโพสใหม่ผ่านทางอีเมล

© 2001-2020 kafaak.blog | Theme By WPOperation
ประกาศเรื่องการใช้คุกกี้ในเว็บไซต์นี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลการเยี่ยมชม หากยอมรับกรุณาคลิกปุ่มยอมรับด้านล่าง เพื่อยืนยันการเยี่ยมชมต่อ หากคุณไม่ยอมรับคุกกี้ ให้คลิกปุ่มปฏิเสธ แล้วเราจะนำคุณไปที่ Google.com แทน หากสงสัยว่าเราใช้คุกกี้ทำอะไร อ่าน นโยบายคุกกี้ เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม

ยอมรับ ปฏิเสธ
คำประกาศการใช้คุกกี้

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these cookies, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may have an effect on your browsing experience.
Necessary
Always Enabled

Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. This category only includes cookies that ensures basic functionalities and security features of the website. These cookies do not store any personal information.

Non-necessary

Any cookies that may not be particularly necessary for the website to function and is used specifically to collect user personal data via analytics, ads, other embedded contents are termed as non-necessary cookies. It is mandatory to procure user consent prior to running these cookies on your website.

SAVE & ACCEPT