Skip to content
  • กว่าจะมาเป็น … นายกาฝาก
  • รู้จักนายกาฝาก
  • ติดต่อนายกาฝาก
บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
ข่าวเขาฝากมา
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล ยกทัพ SSD แบบพกพาความจุเต็มพิกัดทุกแบรนด์ในตระกูลออกจำหน่าย พร้อมนำเสนอทางเลือก SSD แบบพกพาความจุสูงถึง 4TB ที่หลากหลายให้กับผู้ใช้งานทั่วไปและระดับโปรเฟสชันนัลในยุคที่สตอเรจจำเป็นต้องเร็วและมีความทนทาน
  • realme จัดแคมเปญ ‘Empower The Next Gen’ เสริมพลังขับเคลื่อนคนรุ่นใหม่ เปิดพื้นที่โชว์ 4 ศักยภาพอย่างไร้ขีดจำกัด
  • ชี้เป้าสมาร์ทโฟน 5G สุดคุ้ม “Galaxy A42 5G” จากซัมซุง เร็วแรงพร้อมลุยทุกการใช้งาน ในราคาหมื่นต้น!
  • ดีแทคจับมือยารา เปิดตัว Kaset Go เครือข่ายดิจิทัลชุมชนเพื่อเกษตรกรแห่งแรกในประเทศไทย
  • อาร์ทีบีฯ ส่งแพ็กคอนเทนต์ครีเอเตอร์!!! ชุดหูฟัง ATH-M40x พร้อมไมโครโฟน ATR2500X-USB ของ Audio-Technica ราคาสุดคุ้มเอาใจผู้ผลิตคอนเทนต์
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล เปิดตัว WD_BLACK SN850 NVMe SSD มอบอีกขั้นของความเร็วแรงบนเทคโนโลยี PCIe® GEN4 รุ่นใหม่
Home>>รีวิว>>รีวิว ASUS ZenBook 14 UX433 โน้ตบุ๊กจอ 14 นิ้ว บาง เบา และมีการ์ดจอแยก
รีวิว

รีวิว ASUS ZenBook 14 UX433 โน้ตบุ๊กจอ 14 นิ้ว บาง เบา และมีการ์ดจอแยก

นายกาฝาก
กุมภาพันธ์ 17, 2019 924 Views0

เป็นโน้ตบุ๊กที่ถูกดองรีวิวเอาไว้จนผมต้องกราบขออภัย ASUS Thailand จริงๆ ครับ เอามาใช้จนเพลิน นึกว่าเป็นโน้ตบุ๊กของตัวเองไปแล้ว (ฮา) จริงๆ แต่ก็ถึงเวลารีวิว ASUS ZenBook 14 UX433 โน้ตบุ๊กจอ 14 นิ้ว ตัวนี้แบบจริงๆ จังๆ ซะทีครับว่าเจ้านี่มีอะไรเด่น มีอะไรน่าสนใจบ้าง

เห็นดีไซน์ของ ASUS ZenBook 14 UX433 แล้วผมว่า…

ASUS ZenBook 14 UX433 เป็นโน้ตบุ๊กที่ดีไซน์มาค่อนข้างดีทีเดียว ผมจำได้เลยว่าตอนเทียบ ASUS ZenBook 13 UX331UAL ที่แฟนซื้อมาใช้ กับ ASUS ZenBook S UX391UA ที่ผมซื้อมาใช้ อันหลังมันดีไซน์ออกมาเรียบหรูกว่า สมราคาที่แพงกว่าด้วยเช่นกัน แต่ ASUS ZenBook 14 UX433 ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับ ZenBook 13 UX331UAL แต่คนละปีเนี่ย มันดีไซน์ออกมาดีขึ้นกว่าเดิมเยอะ และเอาองค์ประกอบหลายๆ อย่างของ ZenBook S ไปใช้ด้วย เช่น ErgoLift เป็นต้น

ดีไซน์หน้าจอแบบ Nano Edge ขอบจอบางมาก แค่ 2.9 มม. เท่านั้น ตีซะว่า 3 มม. ก็แล้วกัน ทำให้แม้หน้าจอแสดงผลจะขนาด 14 นิ้ว แต่ตัวเครื่องจะใกล้ๆ กับจอ 13 นิ้วเท่านั้นเอง ซึ่งดีไซน์แบบนี้ไม่ใช่อะไรแปลกใหม่ แต่ที่ผมเคยเจอคือ Dell XPS 13 ซึ่งราคาเกินครึ่งแสน แต่ ASUS เปิดตัวที่ราคาเริ่มต้น 26,990 บาท และรุ่นท็อปสุดที่ผมเอามารีวิวก็ 35,990 บาทเท่านั้นเองครับ

  • ASUS ZenBook 14 UX433FA i5-8265U/ SSD 512 GB ราคา 26,990 บาท
  • ASUS ZenBook 14 UX433FN i5-8265U / MX150 / SSD 512 GB ราคา 29,990 บาท
  • ASUS ZenBook 14 UX433FN i7-8565U / MX150 / SSD 512 GB ราคา 35,990 บาท

วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่อง เป็นอลูมิเนียม แต่มีน้ำหนักเพียงแค่ 1.19 กิโลกรัม ถือว่าเบาเอาเรื่องสำหรับโน้ตบุ๊กที่ขนาดหน้าจอประมาณนี้ แต่ผมลองถือๆ ดูแล้ว ก็ยังรู้สึกว่าน้ำหนักที่เพิ่มมาสองขีดเนี่ย ทำให้เจ้านี่หนักกว่า ASUS ZenBook S UX391UA ของผม และ ASUS ZenBook 13 UX331UAL อยู่นิดหน่อย

แต่สิ่งที่แลกมา เมื่อเทียบกับความบางเบา เรียบหรูของ ASUS ZenBook S UX391UA ก็คือ พอร์ตที่ครบเครื่องกว่า ไม่ว่าจะเป็นพอร์ต HDMI แบบเต็มๆ พอร์ต USB-A 3.1 Gen 2 พอร์ตนึง และพอร์ต USB 3.1 Gen 2 แบบ Type-C อีกพอร์ตนึง ที่ด้านซ้ายของตัวเครื่อง … แต่พอร์ตชาร์จ เป็นหัวอะแดปเตอร์ DC หัวกลมครับ ไม่ยอมทำเป็น USB Type-C แบบ PD (Power Delivery)

ส่วนด้านขวา มีสล็อตใส่ MicroSD card, พอร์ต USB 2.0 ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. ไฟ LED แสดงสถานะการชาร์จ และการเปิดเครื่อง

ผมเข้าใจได้ที่ ASUS ไม่ให้พอร์ต Thunderbolt 3 มา เพราะเจ้านี่เป็นโน้ตบุ๊กราคาธรรมดาๆ ไม่ใช่พรีเมียมแบบ ASUS ZenBook S UX391UA แต่ที่ผมแปลกใจคือ ทำไมยังใส่ USB 2.0 มาให้พอร์ตนึงนี่สิ ทำไมไม่ใส่เป็น USB 3.1 Gen 2 ทั้งหมดไปเลย

คีย์บอร์ด มีการวางตำแหน่งปุ่มไว้ค่อนข้างดี พิมพ์ถนัดมือมากๆ อันนี้ผมชอบ มีไฟส่องใต้คีย์บอร์ด ปรับความสว่างได้ 3 ระดับ หรือจะปิดไม่ใช้งานก็ได้ ดูสวยงามดี ไม่รู้สึกว่ามีอะไรให้ติ ตัวทัชแพดก็มีขนาดใหญ่ประมาณนึง ไม่ใหญ่มาก แต่ก็ไม่ได้แย่มากเช่นกัน ตัวทัชแพดมีลูกเล่นในการใช้งานเป็น NumPad ด้วย แต่เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังทีหลัง ส่วนตรงโลโก้ ASUS ZenBook ด้านบน ตอนแรกผมนึกว่าเป็นลำโพง แต่จริงๆ มันไม่ใช่

ด้านใต้ของตัวเครื่อง มีช่องระบายอากาศ เอาไว้ดูอากาศเข้า เพื่อมาระบายความร้อน และมีลำโพงแบบสเตริโออยู่ตรงด้านหน้าของตัวเครื่อง ลำโพงเป็น harman/kardon ครับ ดูๆ ไปแล้ว เดี๋ยวนี้โน้ตบุ๊กราคาประมาณ 2-3 หมื่นขึ้นไปเนี่ย เขาแข่งกันใช้ลำโพงดีๆ แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี

โดยภาพรวมแล้ว ผมชอบดีไซน์ของ ASUS ZenBook 14 UX433 ตัวนี้ครับ เพราะมันคือโน้ตบุ๊กที่จอใหญ่ แต่มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักตัวไม่มาก พกพาไปไหนมาไหนก็สะดวกดี ใช้งานได้แบบหลากหลายท่วงท่าดีมาก แต่ข้อจำกัดก็อีกเช่นเคยคือ เจ้านี่ไม่ใช่จอสัมผัสครับ

ว่ากันที่เรื่องของสเปกแบบคร่าวๆ

จริงๆ แล้วที่เมืองนอก รุ่นท็อปของ ASUS ZenBook 14 UX433 จะไปจบลงที่หน่วยความจำ 16GB และ SSD 1TB แต่เข้าใจว่าราคาคงจะแอบแรงมากจนตลาดในประเทศไทยไม่น่ามีผู้ใช้งานทั่วไปคนไหนพร้อมใจควักกระเป๋าแน่ๆ เพราะโดยส่วนตัวของผม SSD ให้มา 512GB ผมก็พอใจแล้ว ที่อยากได้มากจริงๆ คือแรม 16GB มากกว่าครับ เพราะแค่ 8GB นี่โดน Google Chrome เอาไปแด๊กหมดเลย (ฮา) มันถึงเป็นที่มาที่ผมสอย ASUS ZenBook S UX391UA ตัวท็อปไง

ด้วยความที่มันเป็นโน้ตบุ๊กขนาดบางเบา เมื่อเลือกซื้อมาแล้วจะอัพเกรดแรมไม่ได้ครับ เพราะมันบัดกรีมาบนบอร์ดเลย แต่ว่า SSD อะ เป็นแบบ M.2 สามารถซื้อหามาอัพเกรดได้ งวดนี้เขาใช้ PCIe 3.0 x 4 SSD 512GB มาให้ตั้งกะรุ่นเริ่มต้น ยันตัวที่ผมได้มารีวิว (คือ ทุกรุ่นเป็น SSD 512GB หมด) ความเร็วสูงกว่ารุ่นปีก่อน ลองทดสอบแล้ว ได้ความเร็วสูงสุดคือ อ่าน 1.7GB/s และเขียนเกือบๆ 1GB/s เลยทีเดียว ตรงนี้คงเพราะว่าพอร์ตมันเปลี่ยนมาเป็น USB 3.1 Gen 2 แล้ว ถ้าไม่ให้ SSD ความเร็วสูงๆ มา มันจะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแบนด์วิธของพอร์ตได้นั่นเอง

อีกจุดนึงที่อัพเกรดเพิ่มมาคือ การใส่การ์ดจอแยก nVidia GeForce MX150 2GB GDDR5 มาให้ด้วยครับ (เฉพาะรุ่นรองท็อป และ รุ่นท็อป ที่วางจำหน่ายในประเทศไทย) ซึ่งถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้มาช่วยทำให้เจ้านี่เล่นเกมได้จริงๆ จังๆ ถูกใจเกมเมอร์นัก แต่ในด้านประสิทธิภาพ มีการทดสอบมาแล้วว่าเจ้านี่ เพียงพอสำหรับเล่นเกมอย่าง Overwatch ในความละเอียดระดับ Full HD (1,920×1,080 พิกเซล) ได้เฟรมเรตเฉลี่ยเกิน 60fps ด้วย ฉะนั้น เจ้านี่นอกจากจะบางเบา พกไปทำงานสะดวกแล้ว การมี GeForce MX150 ติดตั้งมาให้ ก็ทำให้มันพร้อมเอาไว้เล่นเกมแบบ Casual gamer ได้ด้วยเช่นกัน

ประสบการณ์ในการใช้งาน ASUS ZenBook 14 UX433

ด้วยความที่มันมีขนาดใหญ่กว่าตระกูล ZenBook S มันเลยมีพอร์ตมาครบเครื่องกว่า ในการใช้งานแบบทั่วไป บอกได้เลยว่าสะดวกสบายกว่ามาก เพราะไม่ต้องพกอะแดปเตอร์แปลงใดๆ ติดตัวเลย ยกเว้นกรณีจะต่อออกโปรเจ็กเตอร์แล้วมันดันต้องใช้หัวแบบ VGA ซึ่งอันนี้ช่วยไม่ได้ ที่ควรเปลี่ยนคือโปรเจ็กเตอร์มากกว่า เพราะโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ๆ เขาเปลี่ยนมาใช้ HDMI กันแล้ว การที่ไม่มีพอร์ต Thunderbolt 3 ไม่ใช่ปัญหาอะไร เพราะเป็นพอร์ตที่ใช้กันเฉพาะทางพอสมควร ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปเนี่ย ขนาดพอร์ต USB Type-C ยังอาจจะไม่ค่อยได้ใช้กันเลยเหอะ ต้องรออุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ อีกพักใหญ่ๆ

สล็อต MicroSD card จริงๆ น่าจะให้มาเป็นสล็อต SD card มากกว่า แต่ไม่ได้ให้มาก็ไม่ถึงกับตาย เพราะไม่ใช่สิ่งจำเป็นยิ่งยวดในการใช้งานของคนส่วนใหญ่ และถึงแม้จะจำเป็น ก็พก Card reader แทนเอาก็ได้

ตัวกล้องเว็บแคมที่ให้มาเป็นแบบ 3D IR camera สามารถใช้สแกนใบหน้าเพื่อปลดล็อกเครื่องได้ แบบเดียวกับที่เริ่มใช้กันเกร่อบนสมาร์ทโฟนนั่นแหละ ข้างๆ เลนส์กล้อง เป็นไมโครโฟนทั้งสองข้าง น่าจะเอาไว้บันทึกเสียงแบบคุณภาพสูง และทำให้เสียงเป็นสเตริโอด้วย ลำโพงของตัวเครื่อง เสียงดังดี ให้เสียงคุณภาพดี ไม่เสียชื่อ harman/kardon แต่อย่างใด ฉะนั้น จะดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้แต่เล่นเกมด้วยเจ้านี่ แม้จะไม่ได้เสียบหูฟัง ก็สบายๆ ครับ

ความร้อนเป็นยังไงบ้าง … ผมไม่ใช่คอเกม ผมคงตอบไม่ได้ว่าเล่นเกมแล้วร้อนระอุแค่ไหน แต่จากสเปกแล้ว GeForce MX150 กินพลังงานแค่ 25 วัตต์ ก็น่าจะไปเพิ่มความร้อนให้กับตัวเครื่องประมาณนึง แต่ถ้าใช้งานแค่แบบ ท่องเว็บ เขียนบล็อก ทำงานเอกสาร ความร้อนที่เกิดขึ้น อยู่ในเกณฑ์ที่แม้จะวางบนตัก ก็ไม่รู้สึกว่าร้อนมากแต่อย่างใด แบตเตอรี่เองก็สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ราวๆ 4 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นนิดหน่อย ในโหมดการทำงานแบบ Better Performance (ตั้งค่าในส่วนของ Power options ของ Windows 10)

ที่ผมคิดว่า ASUS น่าจะปรับปรุง คือการเปลี่ยนจากอะแดปเตอร์แบบหัว DC กลม มาเป็น USB Type-C PD ได้แล้ว มันเป็นมาตรฐานใหม่ และควรนำไปใช้กับโน้ตบุ๊กราคากลางๆ แบบ 2 หมื่นกลางๆ ขึ้นไปได้แล้ว คือ มันช่วยเพิ่มตัวเลือกสำหรับผู้ใช้งาน เวลาที่ซื้อหา PowerBank ด้วย เพราะหากจำเป็นต้องชาร์จแบตเตอรี่โน้ตบุ๊ก PowerBank ที่รองรับเทคโนโลยี Power Delivery ก็จะช่วยเติมแบตเตอรี่ให้กับโน้ตบุ๊กได้ด้วยเช่นกัน อ้อ! ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ตัวหัวปลั๊กมันพับเก็บหน่อยได้ไหม เอาหัวปลั๊กมายื่นเป็นสองแง่ง มันดูเกินๆ ยังไงชอบกล

เกือบลืม ไม่พูดถึงเจ้านี่เลยไม่ได้ เพราะ ASUS เป็นค่ายที่พยายามลองของใหม่กับทัชแพดครับ ASUS ZenBook Pro 15 ที่ผมรีวิวไปก่อนหน้า ก็มีความพยายามในการทำทัชแพดให้เป็นหน้าจอเสริมแบบสัมผัส และมีการใช้งานในรูปแบบต่างๆ มากมาย

ASUS ZenBook 14 UX433 ตัวนี้ ก็เอาทัชแพดมาทำเป็น NumPad ได้ครับ โดยการแตะที่ไอคอนรูป NumPad ตรงมุมบนด้านขวาของทัชแพดประมาณ 1 วินาทีเพื่อเปิดหรือปิดการใช้งาน จากนั้น ตัว NumPad มันจะเรืองแสงขึ้นมาให้ใช้ ในระหว่างที่ใช้อยู่ ก็ยังสามารถทำตัวเป็นทัชแพดได้ครับ ถือว่า ASUS ดีไซน์ตรงนี้มาได้ดีประมาณนึงเลย เพราะตัวทัชแพดสามารถแยกแยะได้ดี ระหว่างการแตะเพื่อกด NumPad กับการแตะเพื่อเตรียมลากในฐานะทัชแพด หรือการแตะเพื่อเป็นการคลิกเมาส์ซ้าย ลองใช้ๆ ดูแล้ว มันก็ตรวจจับได้ตรงกับความต้องการใช้งานพอดี ขอชมครับ และการมี NumPad ขึ้นมาให้แบบนี้ มันทำให้คนที่ต้องใช้งานโน้ตบุ๊กพิมพ์ตัวเลขสะดวกขึ้นประมาณนึงด้วย (แต่ยังไม่สะดวกเท่ากับการมีแป้น NumPad แบบคีย์บอร์ดปกติของพวก Desktop)

บทสรุปการรีวิว ASUS ZenBook UX433

เป็นโน้ตบุ๊กที่ราคาไม่แพง และให้สเปกมาดีงามจริงๆ อย่างน้อยๆ ราคาเริ่มต้น 26,990 บาทเนี่ย ก็ได้แรม 8GB และ SSD ประสิทธิภาพสูง 512GB แล้ว และหน้าจอแสดงผลขนาด 14 นิ้ว ในขนาดของตัวเครื่องที่เล็กกว่าโน้ตบุ๊กขนาด 13.3 นิ้วทั่วไปซะอีก น้ำหนักก็อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่าเบาสำหรับโน้ตบุ๊กขนาดหน้าจอเท่านี้ คือ 1.19 กิโลกรัม

แชร์โลด:

  • Tweet
  • Print

โพสต์อื่นๆ ที่อาจสนใจ

Related tags : ASUSLaptopNotebookWindows 10ZenBook
Share:

Previous Post

QNAP NAS 101 – EP 5: อธิบายเรื่องการจัดกลุ่มผู้ใช้งาน (User Groups)

Next Post

ดูยอยักษ์ยกตะวัน ทุ่งบัวแดง และควายน้ำ ที่พัทลุง

Related Articles

ภาพปกบล็อก รีวิว Huawei Y5P (2020) มีภาพของสมาร์ทโฟน Huawei Y5P สามเครื่อง สีน้ำเงิน สีดำ และสีเขียว รีวิว

รีวิว Huawei Y5P สมาร์ทโฟน แรม 2GB ความจุ 32GB ราคาสามพันบาทมีทอนนิดนึง

เด็กชาวต่างชาติกำลังเล่น Kid's Corner ของ Huawei MatePad T10 อยู่ รีวิว

รีวิว Huawei MatePad T10 แท็บเล็ตจอใหญ่ สเปกจุ๋มจิ๋ม

กล่องใส่หูฟัง WK Design V20 รีวิว

รีวิว WK Design V20 หูฟังไร้สายแบบ True wireless

รีวิว

รีวิว RealMe 2 Pro ราคาเล็กๆ สเปกไม่เล็กตาม

รีวิว

รีวิว Xiaomi Mi Jia Mosquito Repellent เครื่องไล่ยุงตัวจิ๋ว เวิร์กหรือไม่ยังไง?

Leave a Reply Cancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Translate this blog

อย่าลืมกดไลค์

อย่าลืมกดไลค์

ล่าสุดบ่นอะไรไป?

My Tweets

สับตะไคร้ติดตามบล็อกของผม

ใส่อีเมลของคุณที่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกของบล็อกนี้ และรับการแจ้งโพสใหม่ผ่านทางอีเมล

© 2001-2020 kafaak.blog | Theme By WPOperation
ประกาศเรื่องการใช้คุกกี้ในเว็บไซต์นี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลการเยี่ยมชม หากยอมรับกรุณาคลิกปุ่มยอมรับด้านล่าง เพื่อยืนยันการเยี่ยมชมต่อ หากคุณไม่ยอมรับคุกกี้ ให้คลิกปุ่มปฏิเสธ แล้วเราจะนำคุณไปที่ Google.com แทน หากสงสัยว่าเราใช้คุกกี้ทำอะไร อ่าน นโยบายคุกกี้ เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม

ยอมรับ ปฏิเสธ
คำประกาศการใช้คุกกี้

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these cookies, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may have an effect on your browsing experience.
Necessary
Always Enabled

Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. This category only includes cookies that ensures basic functionalities and security features of the website. These cookies do not store any personal information.

Non-necessary

Any cookies that may not be particularly necessary for the website to function and is used specifically to collect user personal data via analytics, ads, other embedded contents are termed as non-necessary cookies. It is mandatory to procure user consent prior to running these cookies on your website.

SAVE & ACCEPT