Home>>บทความ How-to>>QNAP NAS 101 – EP 3: การสร้าง Storage pool และ Volume ครั้งแรก
บทความ How-toQNAP User Guide

QNAP NAS 101 – EP 3: การสร้าง Storage pool และ Volume ครั้งแรก

ถึงตอนที่ 3 นี้ ผมถือว่าคุณได้ซื้อ QNAP NAS มาแล้ว ทำ Initialize มาแล้ว และอัพเดตเฟิร์มแวร์เป็นเวอร์ชันล่าสุดแล้วเรียบร้อย และมีฮาร์ดดิสก์ใส่ไว้ใน NAS แค่ลูกเดียว คุณอาจไม่ทันสังเกตว่าตอน Initialize มันไม่ได้ถามอะไรเกี่ยวกับการเตรียมฮาร์ดดิสก์เลย?

เปิด File Station มาแล้ว อย่าเพิ่งตกใจถ้าไม่เจออะไรเลย
เปิด File Station มาแล้ว อย่าเพิ่งตกใจถ้าไม่เจออะไรเลย

ฉะนั้นอย่าเพิ่งตกใจนะครับถ้ายังไม่เจออะไรเลยใน File Station เพราะเรายังไม่ได้ทำการสร้าง Storage pool หรือ Volume อะไรเลยครับ และบทความนี้จะมาทำความเข้าใจเรื่อง Storage pool และ Volume และบอกวิธีสร้างในเบื้องต้นให้ได้อ่านกันครับ

Storage pool คืออะไร?

Storage pool ก็สมตามชื่อของมันคือ มันคือ Pool (การรวมกัน) ของฮาร์ดดิสก์หลายๆ ลูก มาเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ โดยในกรณีของ NAS แล้ว มันก็จะเกิดขึ้นจากการทำ RAID ครับ โดย NAS จะมี Storage pool ได้มากกว่า 1 และตัว Storage pool นึงก็อาจจะมีหลาย RAID group

การทำ Storage pool เนี่ย มันมีประโยชน์หลายๆ อย่างสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปครับ ได้แก่

● เราสามารถสร้าง Volume ได้หลายๆ Volume ใน Storage pool เดียว ซึ่งช่วยให้เราสามารถแบ่งเนื้อที่เก็บข้อมูลให้กับผู้ใช้งานแต่ละคน แต่ละกลุ่ม หรือแต่ละแอปได้
● เราสามารถเอาฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดแตกต่างกัน ประเภทต่างกัน มาใส่รวมกันเป็น Sotrage pool ขนาดใหญ่ได้
● เราสามารถใส่ฮาร์ดดิสก์เพิ่มเข้าไปใน Storage pool ได้เลยเพื่อเพิ่มความจุ โดยไม่ไปกระทบต่อการใช้งาน NAS
● ถ้าไม่ทำ Storage pool ก็จะใช้ฟีเจอร์ Snapshots ของ QNAP NAS ไม่ได้ (เดี๋ยวค่อยมาพูดถึงเรื่องนี้ใน Episode หลังๆ นะ)

จริงๆ แล้วมันมีประโยชน์อย่างอื่นอีกเยอะครับ แต่มันจะเป็นของพวกผู้ใช้งานระดับองค์กรมากกว่า ซึ่งเป็นเนื้อหาที่นอกเหนือไปจาก QNAP NAS 101 นี่ ผมเลยไม่ขอพูดถึงนะครับ อยากรู้ก็ไปอ่านเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ QNAP เอาได้ฮะ

แล้ว Volume ล่ะ คืออะไร?

Volume คือ เนื้อที่เก็บข้อมูลส่วนนึงที่ถูกสร้างขึ้นมาบน NAS โดยดึงมาจาก Storage pool หรือ RAID group ให้คิดง่ายๆ ให้นึกถึง Partition บนระบบปฏิบัติการ Windows นั่นแหละ มันก็เหมือนไดรฟ์ C: D: ของพีซีนั่นแหละ

QNAP มี Volume ให้เลือก 3 แบบคือ Static volume, Thick volume และ Thin volume ซึ่งแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันดังนี้

ประเภทของ Volume
Static volumeThick volumeThin volume
โดยภาพรวมแล้วไม่รองรับฟีเจอร์ขั้นสูง แต่ให้ความเร็วในการอ่านและเขียนสูงสุดมีความสมดุลย์ที่สุดระหว่างการรองรับฟีเจอร์ และความเร็วในการเขียนและอ่านช่วยให้เราสามารถจัดสรรเนื้อที่เก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความเร็ว เขียน/อ่านเร็วสุดสำหรับการเขียนแบบสุ่มดีดี
ความยืดหยุ่นจะขยาย Volume ต้องเพิ่มฮาร์ดดิสก์เท่านั้นยืดหยุ่น สามารถขยาย Volume ได้ง่ายยืดหยุ่นมาก สามารถขยาย Volume ได้ง่าย และเนื้อที่ที่ไม่ได้ใช้ ยังสามารถเรียกคืนไป Parent storage ได้
Parent storage spaceRAID groupStorage poolStorage pool
จำนวนของ Volume ที่สร้างได้ใน Parent storage space 11 หรือมากกว่า1 หรือมากกว่า
ขนาดเริ่มต้นขนาดเท่ากับ Parent RAID groupแล้วแต่ผู้ใช้งานกำหนดศูนย์ เนื้อที่ของ Storage pool จะถูกจัดสรรให้เมื่อต้องการใช้งาน
ขนาดใหญ่สุดขนาดเท่ากับ Parent RAID groupขนาดเท่ากับ Parent storage pool20 เท่าของเนื้อที่ฟรีบน Parent storage pool ขนาดของ Thun volume สามารถใหญ่กว่า Parent storage pool ได้ อันนี้เรียกว่า Over-allocation
หากลบข้อมูลแล้ว…จะถูกลบออกจาก Volume เนื้อที่ก็จะว่างขึ้นจะถูกลบออกจาก Volume เนื้อที่ก็จะว่างขึ้น
QTS จะเรียกเนื้อที่คืนกลับไปที่ Parent storage pool
วิธีการเพิ่มเนื้อที่เก็บข้อมูลใส่ฮาร์ดดิสก์เพิ่มเข้าไป หรือเปลี่ยนไปใช้ลูกที่มีความจุมากขึ้นจัดเนื้อที่มาเพิ่มให้จาก Parent storage poolจัดเนื้อที่มาเพิ่มให้จาก Parent storage pool
รองรับ Snapshot ไหม?ไม่รองรับรองรับรองรับ
รองรับ Qtier ไหม?ไม่รองรับรองรับรองรับ

มาสร้าง Storage pool ได้แล้ว

เอาล่ะครับ ทีนี้มาสร้าง Storage pool กับ Volume กันครับ ก่อนอื่นก็ไปเปิด Storage & Snapshots ขึ้นมา จะเห็นหน้าตาประมาณรูปด้านล่างนี่ ตรงที่เห็นเครื่องหมายถูกสีเขียว มันจะบอกว่า NAS ตัวนี้มีสล็อตฮาร์ดดิสก์อะไรบ้าง อย่างกรณีของผม มันคือ QNAP TS-351 มันก็จะมีสล็อตสำหรับ SSD M.2 ให้ 2 สล็อต และถาดใส่ฮาร์ดดิสก์อีก 3 ลูก

ตรงหัวข้อ Storage Pool ด้านขวา ให้คลิกตรงไอคอนที่อยู่เหนือคำว่า No Storage Pool เพื่อเริ่มต้นด้วยการสร้าง Storage pool ก่อน … ตามหลักคือ มันต้องสร้าง Storage pool เพื่อมาเป็น Parent storage pool ก่อนที่จะสร้าง Volume นั่นเอง

ในหน้าจอแรก มันจะให้เราเลือกว่าจะทำ Qtier หรือไม่ทำ บอกเลยว่าสำหรับผู้ใช้งานตามบ้านทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องทำ Qtier เลยครับ ฉะนั้นไม่ต้องไปติ๊กถูกตรง Enable Qtier (auto-tiering storage) นะครับ คลิก Next ไปเลย

Qtier คืออะไร?

Qtier เป็นฟีเจอร์ของ QNAP NAS ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเข้าถึงข้อมูลของ QNAP NAS โดยการเอาข้อมูลที่ถูกเข้าถึงบ่อยไปไว้ในดิสก์ที่มีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลเร็วกว่า (SSD หรือ SAS) และเอาข้อมูลที่ไม่ค่อยถูกเข้าถึง ไปไว้ในดิสก์ที่ช้ากว่าแต่ความจุมากกว่า

การมีฮาร์ดดิสก์แค่ลูกเดียวเนี่ย ทำให้เราไม่มีตัวเลือกมากนักหรอกครับ ฉะนั้น ในขั้นตอนถัดมา คือการเลือกฮาร์ดดิสก์ที่จะเอามาสร้างเป็น Storage pool เราก็แค่ติ๊กตรงช่องของ Disk 1 แล้วก็คลิก Next ต่อได้เลย

ถัดมา ก็ไม่มีตัวเลือกอะไรให้เลือกมากเช่นกัน เพราะมีฮาร์ดดิสก์แค่ลูกเดียวนี่นา (ฮา) แต่มันจะมีติ๊กถูกเอาไว้ตรง Alert Threshold แล้วกำหนดไว้ว่า 80% มันหมายความว่าให้ระบบเตือนเราเวลาที่เราเก็บข้อมูลเอาไว้เกิน 80% แล้ว เราจะเอาติ๊กถูกออกเพื่อให้มันไม่ต้องเตือนก็ได้ หรือจะเปลี่ยนเปอรเซ็นต์เป็นตัวเลขอื่นก็ได้ … ตัดสินใจได้แล้ว ก็กด Next

ขั้นตอนสุดท้าย ก็จะเป็นการสรุปว่าเราตั้งค่าเอาไว้ยังไง จะเห็นว่ามีโดนกันเนื้อที่ไปนิดหน่อย ที่เรียกว่า Reserved Space มันเอาไว้เก็บพวก Metadata และเพื่อให้การทำงานของ NAS มีเสถียรภาพ … ถ้าทุกอย่างโอเคแล้วก็คลิก Next ครับ

เสร็จเรียบร้อย มันก็จะเตือนอีกครั้งว่าข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะถูกลบนะ โอเคไหม ถ้าเรามั่นใจแล้วก็คลิก OK เลย จากนั้นก็รอซักพักนึงครับ

ถัดมาก็สร้าง Volume บ้างล่ะ

ถ้าสร้าง Storage pool เสร็จแล้ว ยังไม่เคยมี Volume มาก่อน มันก็จะเด้ง Pop-up อันนี้มาเลยครับว่า Storage pool สร้างเสร็จแล้วนะ จะสร้าง New Volume เลยไหม ถ้าใช่ก็คลิกปุ่มนี้เลย แต่ถ้าไม่ใช่ คลิก Close ไปก่อนได้

ถ้าเกิดปิด Pop-up นั้นไปแล้ว ก็ไปคลิกไอคอนที่อยู่ข้างๆ คำว่า No Volume เพื่อเริ่มสร้าง Volume ใหม่ได้

ขั้นแรกก็เลือกก่อนว่าจะสร้าง Volume แบบไหน ซึ่งก็มีสามแบบให้เลือก แบบที่ผมอธิบายไปด้านบนนั่นแหละครับ สำหรับบุคคลทั่วไป แนะนำให้ใช้ Thick volume หรือไม่ก็ Static volume ครับ … ถ้าอยากทำการสำรองข้อมูลด้วย Snapshots ก็ให้เลือก Thick volume แต่ถ้าคิดว่าอยากได้เนื้อที่แบบจัดเต็ม และความเร็วในการเขียนและอ่านมากที่สุด ไม่ต้องการสร้าง Volume มากกว่า 1 แนะนำให้ใช้ Static volume ไปเลย … เลือกเสร็จก็คลิก Next

ขั้นตอนถัดมาคือการตั้งค่า Volume ซึ่งจะประกอบไปด้วย

● การกำหนด Volume Alias หรือพูดง่ายๆ คือ ชื่อของ Volume นั่นเอง คนทั่วไปไม่ต้องคิดมาก ใช้ DataVol1 ไปเลยก็ได้ ง่ายดี แต่สำหรับคนที่อยากสร้างไว้หลาย Volume และเอาไว้เก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน ก็อาจจะตั้งชื่อเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า Volume นี้เก็บอะไร
● การกำหนดขนาดของ Volume หรือ Volume capacity ซึ่งถ้าเราไม่คิดจะทำหลาย Volume หรือ ไม่คิดจะทำ Snapshots อะไร ก็คลิก Set to Max ไปเลยครับ ไม่งั้นก็กำหนดเอาตามใจชอบว่าอยากให้มีขนาดเท่าไหร่ แต่ถ้าอยากจะทำหลาย Volume ก็กำหนดขนาดให้เหมาะสมตามที่วางแผนเอาไว้ และหากใครจะทำ Snapshots ก็แนะนำให้อย่ากำหนดขนาดของ Volume จนเต็มครับ อาจจะเผื่อเหลือทิ้งไว้ซัก 20%
● เลือก File system option หมายถึง ขนาดของ inode ครับ มีให้เลือกคือ 4K/8K/16K/32K/64K ขนาดของ inode จะเป็นตัวกำหนดขนาดใหญ่สุดของ Volume, จำนวนไฟล์และโฟลเดอร์ที่มีได้ ให้พิจารณาดูให้ดีครับ ว่าเราอยากมี Volume กี่ Volume และตัว QNAP NAS ของเรามีการ Bay และเรากะจะใส่ฮาร์ดดิสก์ขนาดกี่ TB เข้าไป มันจะเป็นตัวกำหนดขนาดของ inode ครับ อย่างผมใช้ TS-453A มี 4-bay และกะอัพเกรดเป็น 10TB 4 ลูก โดยกะให้มี Volume เดียว ฉะนั้นผมก็ควรจะเลือกขนาด inode ไว้ 16K เป็นอย่างน้อย

มันจะมี Advanced Settings ให้คลิกตรงด้านล่าง คลิกไปดูกันหน่อย

มันจะมีตัวเลือกให้ 4 ตัวเลือก คือ

● Alert threshold ที่ถูกติ๊กเอาไว้อยู่แล้ว และกำหนดไว้ที่ 80% คือ เอาไว้เตือนเราเวลาที่เนื้อที่ถูกใช้ไปแล้ว 80% เราจะได้รู้ว่าต้องลบข้อมูลออกไปบ้างไหม หรือควรจะอัพเกรดเพิ่มเนื้อที่ดี
● Encryption คือการเข้ารหัสข้อมูลในดิสก์ ซึ่งพอติ๊กแล้ว มันจะให้เราใส่รหัสผ่าน และมีตัวเลือกให้ติ๊กเพื่อเซฟตัว Encryption key ออกมา สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ตัวเลือกนี้ไม่จำเป็นต้องติ๊กนะครับ ผมแค่เอามาอธิบายให้อ่านกันเฉยๆ มันมีประโยชน์ในแง่ของความปลอดภัย คือป้องกันคนถอดเอาฮาร์ดดิสก์ไปอ่านข้อมูลน่ะครับ

● Accelerate performance with SSD cache ตัวเลือกนี้จะติ๊กได้ก็ต่อเมื่อเราทำ SSD cache acceleration เอาไว้ ซึ่งคนทั่วไปก็ไม่ได้ใช้เช่นกันครับ แต่ถ้าใครฟิตซื้อ SSD มาทำก็จะติ๊กตัวนี้ได้ เพื่อบอกว่า Volume นี้จะใช้ประโยชน์จาก SSD cache ครับ
● Create shared folder on the volume จะเป็นตัวเลือกว่าพอสร้าง Volume เสร็จแล้วก็ให้สร้าง Shared folder เลยครับ ใส่ชื่อของ Shared folder ไว้ในกล่องข้อความเลย

เมื่อตั้งค่าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็คลิก Next ครับ ถ้าเกิดว่าคุณกำหนดขนาดของ Volume เป็น Max (หรือก็คือ ขนาดเท่าๆ กับความจุของ Storage pool ที่มี) มันก็จะขึ้นข้อความเตือนเอาไว้ว่า เราเลือกขนาดซะเต็มเหนี่ยวเลยนะ แต่ระบบจะทำการจองเนื้อที่เอาไว้ประมาณนึง หากเราเลือกทำ Thin provisioning หรือ Snapshots นะ แต่จริงๆ แล้ว กำหนดเองจะดีกว่า แน่ใจแล้วเหรอว่าจะไปต่อ … ถ้าเราแน่ใจก็คลิก OK ครับ

Thin provisioning กับ Snapshots เอาไว้ทำอะไร?

Thin provisioning ช่วยให้เราสามารถกำหนดขนาดของ Volume ทั้งหมดที่มีอยู่ใน Storage pool ให้มีขนาดรวมกันใหญ่กว่า Storage pool ได้ เพราะว่าเนื้อที่จะถูกใช้ไปก็ต่อเมื่อมีการเขียนข้อมูลจริงๆ แล้วเท่านั้น มันช่วยให้เราใช้งานเนื้อที่ใน Storage pool ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นมากขึ้น

Snapshots คือฟีเจอร์ในการสำรองข้อมูล เพื่อเอาไว้กู้ข้อมูลได้เวลาที่ข้อมูลเกิดสูญหาย ถูกลบ หรือถูกเขียนทับโดยไม่ได้ตั้งใจหรือพลั้งเผลอ

ขั้นตอนสุดท้าย ก็จะเป็นการสรุปว่าเราเซ็ตอะไรไว้ในการสร้าง Volume เราดูแล้วถ้าโอเค ไม่ได้มีอะไรจะเปลี่ยนแปลง ก็คลิก Finish ครับ จากนั้นก็แค่รอ มันจะเด้งหน้าจอ Pop-up นี่ขึ้นมา ไม่ได้มีอะไร แค่คลิก Close ก็จบ

ในการสร้าง Volume นี่มันจะสร้าง Default folders ขึ้นมาให้ด้วยเลยครับ อ้อ! ถ้าใครกำหนดให้ขนาดของ Volume เท่าๆ กับความจุของ Storage pool แล้วมาเจอคำเตือนว่า Warning แบบนี้อย่าตกใจครับ เพราะมันเป็นเรื่องปกติ ก็แหม คุณเล่นกำหนดเนื้อที่ทั้งหมดเอามาทำ Volume แล้วนี่นา

Default folders ก็ประกอบไปด้วย
● Home คือ โฟลเดอร์หลักของผู้ใช้งาน
● Homes คือ โฟลเดอร์ Home ของผู้ใช้งานทุกคน จะเห็นเฉพาะแค่คนที่เป็น Admin คลิกเข้าไปแล้วจะเห็นเป็นชื่อที่ละคน
● Public คือ โฟลเดอร์ที่คนทั่วไปเข้ามาใช้งานได้
● Web คือ โฟลเดอร์ที่เอาไว้สำหรับเก็บพวกไฟล์เว็บ (ในกรณีที่เราอยากเอา QNAP NAS มาทำเว็บเซิร์ฟเวอร์)

เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ถ้าเราเปิด File Station ขึ้นมา คราวนี้เราก็จะเห็นโฟลเดอร์ต่างๆ ถูกสร้างเอาไว้แล้วครับ

4 Comments

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ผมใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ผมกี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน ผมก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของผมกี่คน กี่ครั้ง
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า