ในแวดวงทางกฎหมายเขามีสุภาษิตกฎหมายว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่อาจเป็นข้อแก้ตัวได้” ซึ่งกฎหมายแรงงานก็ถูกรวมเอาไว้อยู่ในนี้ด้วยครับ จริงอยู่ว่าเจตนารมณ์หลักของกฎหมายแรงงานคือการคุ้มครองแรงงาน หลายๆ มาตรามีการกำหนด “หน้าที่” ตามกฎหมายของนายจ้างเอาไว้ แต่ในหลายๆ มาตราเองก็มีการพูดถึงสิ่งที่ลูกจ้างพึงกระทำด้วยเช่นกันนะครับ ปัญหาของกฎหมายแรงงานก็คือ คนไม่รู้กฎหมายแรงงานมีเยอะมาก ทั้งตัวลูกจ้างและตัวนายจ้างเองครับ
ถ้าลูกจ้างไม่รู้กฎหมายแรงงาน ก็เท่ากับว่าไม่รู้ถึงสิทธิของตน และหน้าที่ที่นายจ้างต้องทำให้ลูกจ้าง นายจ้างหัวใสบางคนก็เลยถือโอกาสเอาเปรียบลูกจ้างซะเลย แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีนายจ้างจำนวนไม่น้อยที่ทำผิดกฎหมายแรงงาน เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์จริงๆ เพราะไม่รู้ว่ากฎหมายกำหนดหน้าที่เอาไว้ หรือกำหนดสิทธิของลูกจ้างเอาไว้ และส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดี
มีข้อมูลจากรายงานสถิติคดีศาลยุติธรรมทั่วราชอาณาจักร ประจำ ปี พ.ศ. 2560 บอกว่า เฉพาะปี พ.ศ. 2560 ปีเดียว มีคดีแรงงาน 11,936 คดี บวกกับที่ค้างมาจากปี 2559 อีก 6,998 คดี รวมแล้วก็เกือบ 19,000 คดีเลยทีเดียว … ถ้าลูกจ้างและนายจ้างได้รู้กฎหมายแรงงาน และปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน มันก็น่าจะช่วยลดจำนวนคดีกันได้ครับ
ฉะนั้น มาดูสถานการณ์ที่ลูกจ้างและนายจ้างมักจะเข้าใจผิดกันต่อครับว่ามีอะไรบ้าง และในทางกฎหมายจริงๆ แล้ว มันเป็นยังไง
ช่วงนี้งานเร่ง ต้องบังคับทำโอทีกันทุกคนนะ
เจอบ่อยมากในโรงงานครับ อยู่ๆ หัวหน้าจะเดินมาคุยกับลูกน้องว่าช่วงนี้งานเร่ง ของสั่งผลิตเยอะ ต้องบังคำทำโอทีกัน หรือในออฟฟิศเอง หัวหน้าก็มักจะให้ลูกน้องอยู่ทำโอทีจนกว่างานที่มอบหมายจะเสร็จ … ไอ้สถานการณ์แรกอ่ะ ได้ค่าโอที แต่ไอ้แบบหลัง มักจะเป็นโอฟรีนี่สิ … แล้วจริงๆ กฎหมายเขาว่ายังไง?
มาตรา 24 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ระบุไว้ชัดเจนว่า “ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานเว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป” ดังนั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว เจ้านายไม่มีสิทธิที่จะมาบังคับเราทำโอทีครับ และเพราะว่านายจ้างต้องขอให้เราช่วยทำโอที นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่ม ที่เขาเรียกว่า ค่าล่วงเวลา หรือภาษาชาวบ้านคือ เงินโอที นั่นเอง
แต่ที่ผมบอกว่า โดยส่วนใหญ่ ก็เพราะว่าใน วรรค 2 ของมาตรา 24 ยังระบุเพิ่มไว้ว่า “ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น” เช่น ในกรณีของโรงงานหลอมแก้ว ที่หากหยุดทำงานแล้วเกิดเตาไฟดับ แก้วที่หลอมแข็งตัวเสียหายเป็นสิบล้านบาท แบบนี้ก็ถือว่าให้ทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น เป็นต้น
นายจ้างบางคนกำหนดว่า ถ้าจะทำโอทีต้องเขียนใบขออนุมัติจากหัวหน้า ซึ่งดูแล้วมันเหมือนจะสวนทางกับกฎหมาย ที่นายจ้างต้องขอความยินยอมจากลูกจ้าง แต่จริงๆ แล้วนี่คือการบริหารเรื่องโอทีครับ คือ มันแสดงว่านายจ้างไม่ได้อยากให้ลูกจ้างทำโอทีอยู่แล้ว ฉะนั้น หากต้องทำโอที ก็ต้องให้นายจ้างมาพิจารณาว่าเพราะอะไร ทำไมถึงต้องทำ … เหตุผลอาจฟังขึ้น แต่จริงๆ ผมว่ามันก็ไม่ถูกต้องนะครับ เพราะมันเหมือนกับว่าลูกจ้างเป็นฝ่ายอยากทำโอทีซะงั้น
ในทางปฏิบัติแล้ว ถ้านายจ้างมอบหมายงานแก่ลูกจ้างอย่างเหมาะสมแก่กำลัง และให้ทรัพยากรมาดีแล้ว เหตุผลเดียวที่ลูกจ้างจะต้องทำโอที ก็น่าจะเป็นเพราะว่ามีงานด่วน งานเร่งเข้ามา ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น ก็ต้องเป็นนายจ้างครับ ที่ขอให้ลูกจ้างช่วยทำโอที
และกฎหมายแรงงานก็กำหนดชัดเลยว่า ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำโอที ก็ต้องจ่ายเงินค่าล่วงเวลาครับ แต่ถ้าลูกจ้างอยู่ทำโอทีเองโดยที่นายจ้างไม่ได้สั่งให้ทำ ก็กลายเป็นโอฟรีไป แต่เรื่องนี้มันมีความละเอียดอ่อนครับ คือ
- ฝ่ายนายจ้างมองว่า ลูกจ้างต้องทำโอฟรีสิ เพราะงานมันคือความรับผิดชอบของลูกจ้าง ทำไม่เสร็จก็ต้องอยู่ทำจนเสร็จ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ถ้าเกิดจากการที่นายจ้างให้งานทำเยอะๆ จนเสร็จไม่ทันในเวลาปกติ จะได้มาทำโอฟรีกัน นายจ้างก็ทำผิดกฎหมาย
- ฝ่ายลูกจ้างอาจแกล้งอู้ เพื่อที่จะได้เอาค่าล่วงเวลา เพราะกฎหมายกำหนดว่าต้องจ่ายเป็น 1.5 เท่าของค่าแรงประจำวัน แบบนี้ลูกจ้างก็ทำไม่ถูกเช่นกัน เอาเปรียบนายจ้าง
แต่การพิจารณาประเด็นนี้ต้องดูเป็นกรณีๆ ไป
การคิดค่าล่วงเวลา (โอที) มีหลายอัตรา แตกต่างกันไปตามแต่ฐานเงินเดือนหรือตำแหน่ง
เคยเจอโรงงานบางแห่ง คิดค่าล่วงเวลาพนักงานแบบนี้ครับ ถ้าเงินเดือนไม่ถึง 20,000 คิดโอที 1.5 เท่าของค่าแรง แต่ถ้าเกิน 20,000 คิดที่ 130 บาท/ชั่วโมง หรือ ถ้าเป็นพนักงานรายวันคิดโอทีวันละ 50 บาท แต่ถ้าเป็นรายเดือน คิดโอที 1.5 เท่าของค่าแรง ฯลฯ
กฎหมายระบุชัดแล้วในมาตรา 61 ว่าค่าล่วงเวลานั้นอัตราต้องไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำ ฉะนั้น อย่างแรกที่ต้องคิดก่อนเลยคือ โอทีที่นายจ้างให้อ่ะ ต่อให้คิดเป็นเรทตายตัว คิดแล้วมันไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างไหมล่ะ?
- ถ้าเงินเดือน วันละ 300 บาท โอทีควรได้ 56.25 บาท/ชั่วโมง แต่ได้โอทีจากการทำงาน 2 ชั่วโมง 130 บาท หรือก็คือ 65 บาท/ชั่วโมง แบบนี้ถือว่า ผ่าน (ดีกว่าที่กฎหมายกำหนด กฎหมายบอกว่าโอเค)
- ถ้าเงินเดือน 20,000 บาท โอทีควรได้ 125 บาท/ชั่วโมง แต่ได้โอทีจากการทำงาน 2 ชั่วโมง 130 บาท หรือก็คือ 65 บาท/ชั่วโมง แบบนี้ถือว่าผิดกฎหมายแล้ว เพราะต่ำกว่าที่เขาควรจะได้
ผมเคยเจอโรงงานที่กำหนดค่าล่วงเวลาตายตัว 50 บาท/ชั่วโมง โดยไม่สนใจเลยว่าเป็นตำแหน่งงานไหน เงินเดือนเท่าไหร่ โดยอาศัยว่า หากยอมรับที่ค่าล่วงเวลาเท่านี้ได้ จะให้ทำ OT ได้ไม่จำกัด จากที่ปกติกำหนดไว้ที่ 3 ชั่วโมง/วัน ซึ่งตรงนี้จริงๆ ก็ส่อเค้าว่าจะมีปัญหาอีก เพราะว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้ชั่วโมงทำงานล่วงเวลา (รวมชั่วโมงทำงานในวันหยุด) ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 36 ชั่วโมง ดังนั้น หากให้ทำเกินกว่านั้น ก็จะกลายเป็นผิดกฎหมายครับ เพียงแต่ส่วนใหญ่พนักงานจะยอมนายจ้างไป เพราะตัวเองได้ประโยชน์จากโอทีเยอะๆ ครับ … แต่จริงๆ แล้วคือ นายจ้างเอาเปรียบสุดๆ เลยเหอะ ลองคิดดูนะ สมมติต้องจ่ายจริง 56.25 บาท/ชั่วโมง แต่จ่ายจริง 50 บาท/ชั่วโมง แล้วพนักงานมีซัก 500 คน ทำโอทีเดือนละ 60 ชั่วโมง/คน คูณไปแล้ว นายจ้างประหยัดเงินไปเดือนละ 187,500 บาทเลยครับ
หัวหน้างาน และผู้จัดการ ไม่มีสิทธิได้โอที จริงเหรอ?
คำถามนี้เด็ดมาก แต่คำตอบนี่อาจทำให้สับสนได้ … จริงๆ แล้วกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่ลูกจ้าง แต่ทว่า มาตรา 65 (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551) กลับมีการยกเว้นไว้อยู่ดังนี้
มาตรา 65 ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งนายจ้างให้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 แต่ลูกจ้างซึ่ง นายจ้างให้ทำงานตาม (3) (4) (5) (6) (7) (8) หรือ (9) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับ อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
(1) ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือ การเลิกจ้าง
(2) งานเร่ขายหรือชักชวนซื้อสินค้าซึ่งนายจ้างได้จ่ายค่านายหน้าจากการขายสินค้าให้แก่ ลูกจ้าง
(3) งานขบวนการจัดงานรถไฟ ซึ่งได้แก่งานที่ทำบนขบวนรถและงานอำนวยความสะดวก แก่การเดินรถ
(4) งานเปิดปิดประตูน้ำหรือประตูระบายน้ำ
(5) งานอ่านระดับน้ำและวัดปริมาณน้ำ
(6) งานดับเพลิงหรืองานป้องกันอันตรายสาธารณะ
(7) งานที่มีลักษณะหรือสภาพต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ และโดยลักษณะหรือสภาพ ของงานไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้
(8) งานอยู่เวรเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันมิใช่หน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง
(9) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง
Keyword ของกรณีนี้อยู่ที่ข้อ (1) ครับ คือ หากลูกจ้างมีอำนาจหน้าที่ในการทำแทนนายจ้างในกรณีการให้บำเหน็จ ลดค่าจ้าง หรือ เลิกจ้าง ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 (พูดง่ายๆ อดโอที) ดังนั้นส่วนใหญ่แล้ว พวกผู้จัดการระดับกลางมักจะเข้าข่ายนี้ เพราะพวกนี้สามารถแจ้งไปยังฝ่ายบุคคลให้เลิกจ้างลูกน้องได้ หรือเวลาปรับเงินเดือน ก็เป็นคนกำหนด (นั่นคือ กระทำการแทนนายจ้างนั่นเอง) แต่สำหรับหัวหน้างานนั้น ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีอำนาจในระดับนั้นครับ ฉะนั้นหากดูๆ แล้ว เราไม่ได้มีอำนาจอะไรขนาดนั้น นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาครับ
แต่ก็อีกนั่นแหละ ถ้าเกิดนายจ้างใจดี ให้โอทีแบบไม่สนใจว่าตำแหน่งอะไร มีอำนาจแค่ไหน แบบนี้กฎหมายก็เห็นชอบด้วยนะ เพราะถือว่าเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
ผมเคยอ่านเจอในเว็บไซต์หลายแห่ง สรุปมาตรา 65 (1) ไว้เป็น “ลูกจ้างที่มีตำแหน่งผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หัวหน้า” ซึ่งมองในมุมหนึ่งถือว่าพอใช้แทนกันได้ เพราะบริษัทส่วนใหญ่ คนที่อยู่ในตำแหน่งระดับนี้มักจะมีอำนาจในการกระทำแทนนายจ้างในกรณีที่กฎหมายระบุไว้ แต่เกิดมีบางบริษัทไม่ได้ให้อำนาจเหล่านี้ในตำแหน่งหัวหน้า หรือ ผู้จัดการล่ะ?!? มันก็จะมิชอบด้วยกฎหมายทันทีเช่นกันนะครับ … ดังนั้นยึดกฎหมายเป็นหลักครับ อย่าไปยึดที่เว็บเขาตีความแล้วเปลี่ยนเนื้อหากฎหมายแบบนี้
ผมทำปั๊มเถ้าแก่ให้ค่าแรง360/วันแต่ให้หยุดเดือนล่ะ3วัน..โอทีชม.ล่ะ40บาทครับ..ไม่ทราบว่าเราเรียกร้องอะไรได้บ้าง
ผิดกฎหมายหลายอย่างมาก 1) วันหยุดน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด 2) โอทีก็น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ร้องเรียนสำนักงานแรงงานได้เลย ฟ้องย้อนหลังได้อีก
โอทีเดือนละ 6-7 วัน 6ชม./วัน เหมาจ่าย2000ต่อเดือนผิดกฎหมายไหมครับ
แค่บอกว่าเหมาจ่ายก็ส่อแววผิดแล้วครับ มันเหมาไม่ได้ เพราะตามกฎหมาย ค่าทำงานล่วงเวลาต้องเป็น 1.5 เท่าของค่าแรงครับ แต่ถ้าเหมาแล้ว รวมๆ แล้ว มันเยอะกว่า 1.5 เท่าของค่าแรง นายจ้างก็อาจจะอ้างแบบนี้ แล้วก็ไม่ผิดกฎหมายได้ … ต้องกลับไปดูครับ ว่ามันต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
ผู้จัดการประเมินประจำปีต่ำจนไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน ทั้งๆที่ทำงานไม่ได้มีอะไรผิดพลาดเลย แบบนี้ถูกกลั่นแกล้งไหมครับ แล้วทำอะไรได้บ้่าง ร้องเรียนอะไรได้บ้างครับ
การปรับเงินเดือน เป็นสิทธิของนายจ้าง ฉะนั้นในทางกฎหมาย ไม่สามารถช่วยอะไรได้ มีแต่ต้องร้องเรียนไปยังนายจ้างเท่านั้น เช่น หากเราคิดว่าหัวหน้างานเรากลั่นแกล้ง ก็ต้องดูครับว่าบริษัทมีกระบวนการร้องทุกข์อย่างไรบ้าง ก็ร้องเรียนไปตามนั้นครับ
สอบถามหน่อยคับนายจ้างให้เซ็นสมุดเซ็นชื่อเข้างานแต่ตอนออกไม่ต้องเซ็นแลหนังสือรับรองเงินเดือนก็ต้องไปขอ ขอไปทำอะไรของเราก็ไม่ได้ถ้าไม่ถูกใจเค้าเค้าก็ไม่ให้ได้หรอคับแล้วเรามีปากเสียงกับหัวหน้างานเพราะที่เค้าทำไม่ถูกต้องเค้าไม่พอใจก็เลยสั่งลดเงินเดือนลดตำแหน่งเราลงได้มั้ยคับถือเป็นการแกล้งกันหรือป่าวสามารถเอาผิดได้มั้ย
งงกับคำถาม แต่จะพยายามตอบนะครับ
– เรื่องการเซ็นชื่อเข้าไม่ต้องเซ็นออก อันนี้อยู่ที่นายจ้างมีระบบการลงเวลาเข้าออกยังไง และเอาเวลาไปทำอะไรบ้าง มันจะมีปัญหาก็เรื่องคิดโอทีนั่นแหละ นายจ้างลงบันทึกยังไง
– หนังสือรับรองเงินเดือน ต้องขอถูกแล้วครับ เขาจะออกหรือไม่ออกก็ได้ แต่ปกติก็ควรจะออก เพราะผมไม่เคยเจอที่ไหนเขาไม่ออกให้ถ้าขอเขานะ
– หัวหน้างานสั่งลดเงินเดือน ลดตำแหน่งไม่ได้ครับ เพราะถือว่าเปลี่ยนสภาพการจ้าง จะทำได้เมื่อลูกจ้างยินยอมเท่านั้น
ขอบคุณครับแล้วหัวหน้าสั่งแบบนี้เราควรแก้ไขยังไงคับแจ้งที่ไหนเอาผิดได้หรือป่าวคับ
โดยหลักการ เบื้องต้นก็ร้องเรียนตามกระบวนการของบริษัท แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ไปขอคำปรึกษาจากสำนักงานแรงงานประจำพื้นที่ครับ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำคับขอบคุณมากๆคับ
ยินดีครับ
ตำแหน่งงานพนักงานประจำ(ช่วงทดลองงาน60วัน)นายจ้างจ่ายค่าแรงให้เดือนละ2ครั้ง คือ ทุกวันที่5และ20ของเดือน โดยปกตินายจ้างจะแจ้งสลีปก่อนโอนเงินเข้าบัญชีประมาณ 2-4วันเสมอ
แต่…ทาง ผจก.สาขาแจ้งสลีปแค่2งวดแรกที่เงินออก ส่วนงวดที่3และ4 นายจ้างไม่แจ้งสลีป ทวงถามหลายครั้งกว่าจะได้สลีปมาเช็ครายการรับ-หักเงิน ยากมากๆ
และถ้าหากนายจ้างจ่ายค่าโอทีขาดทุกครั้งที่รับเงินเดือน แต่บอกกล่าวด้วยวาจาว่าจะทบไปจ่ายให้งวดหน้า ทบมาจ่ายก็ไม่ครบตามที่เงินที่ค้างจ่าย
เงินเดือนเข้าบัญชีธนาคารไม่ตรงตามสลีปที่ได้รับ คือ ได้ไม่ครบ พอสอบถามกับ ผจก.ก็ตอบมาว่า ทางบริษัทหักเงินที่ลาออกจากงาน ทำงานไม่ครบเดือน (หักออก3วัน)
เราเช็คแล้วว่าในสลีปได้แจ้งรายการหักครบถ้วน แต่ทำไมถึงโอนเงินให้ไม่ครบ ทวงถามก็บอกว่าจะแก้ไขสลีปให้เป็นใบใหม่ จะเพิ่มรายการหักเงินเราเข้าไปเพิ่ม
ทั้งๆที่เราไม่ได้ทำผิดกฎหรือทำให้บริษัทเสียหายแต่อย่างใด ค่าแรงจ่ายไม่ครบตามกำหนด ขอเลื่อนจ่ายทบงวดถัดตลอด ทำงานเกินเวลาตามที่ตกลงกันในสัญญาทุกวัน โอทีก็คิดรายชั่วโมงให้ขาดทุกรอบ จ่ายเงินไม่ครบ แต่เวลาหัก คือ หักเงินรายการต่างๆไวมาก
แบบนี้นายจ้างผิดไหมคะ? เสียใจกับบริษัทนี้มาก ช่วยให้คำปรึกษาหน่อยค่ะ T_T ปัจจุบันลาออกเพราะสาเหตุข้างต้นนี้เลยค่ะ
เคสนี้ตอบยากครับ เอาเป็นว่าผมจะตอบแบบกลางๆ ให้ไปเช็กอีกทีนะครับ
ตามกฎหมายแล้ว นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าแรงให้เราตามที่ระบุในสัญญาจ้าง จ่ายขาดไม่ได้ จ่ายช้าก็ไม่ได้ ผิดหมด ซึ่งนั่นรวมถึงค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) ด้วย การจะหักอะไร นายจ้างทำได้แค่ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้มาทำงานเท่านั้น (ซึ่งกรณีนี้จะเรียกว่า No work, no pay หรือ ไม่ทำงานก็ไม่จ่ายเงิน ไม่ใช่การหักซะทีเดียว) นอกนั้นถ้าไม่อยู่ในเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด นายจ้างหักไม่ได้ครับ … พูดง่ายๆ ถ้าคุณทำงานไม่เต็มเดือน นายจ้างก็แค่จ่ายตามจำนวนวันที่คุณมาทำงานในเดือนนั้น แต่จะมาหักเงินเพราะคุณลาออกไม่ได้ นั่นไม่ใช่เหตุผลที่กฎหมายยอมให้หัก
ส่วนเรื่องเงินที่ได้ ตรงหรือไม่ตรงกับสลิปเงินเดือน อันนี้ให้ไปดูซ้ำครับ ว่าคุณได้เงินเดือนครบตามที่ควรจะได้รับไหม (ตามจำนวนวันที่ได้มาทำงาน) แล้วกลับมาดูที่สลิปว่าตรงไหม ถ้าไม่ตรง แสดงว่าสลิปผิด ก็แค่ให้นายจ้างแก้ไขสลิปให้ตรง
ส่วนการจ่ายเงินเดือนช้า โอทีช้า ถ้าไม่ยอมจ่ายซะที และเราอยากได้ ก็ฟ้องร้องได้ครับ ให้เจ้าหน้าที่แรงงานมาไกล่เกลี่ย เพราะถ้าขึ้นศาลจะวุ่นวาย แต่เราก็มีสิทธิฟ้องเรียกเงินได้พร้อมดอกเบี้ย แต่ปกติมันไม่คุ้ม ให้ไกล่เกลี่ยดีกว่า อย่าเพิ่มภาระให้ศาลท่าน
ทำงานเป็นกะ
21.00-6.00น.
5.00-15.00น.
12.00-21.00น.
แต่ได้ทำงานเกินเวลาทุกวัน ไม่ยอมปล่อย
บางวัน เลิก 6.00น. แต่ปล่อยช้า 2ชั่วโมงบ้าง 3 ชั่วโมงบ้าง กว่าจะได้กลับ ก็เกือบ 9.00น.
ล่วงเวลาก็ไม่ได้โอ ไม่ว่าจะทำงานกะไหน พอถึงเวลาเลิกงาน ให้แสกนเวลาออกงาน แต่ปล่อยช้า 2-3ชั่วโมง
แบบนี้ ทำอะไรได้บ้างครับ
แจ้งไปที่สำนักงานคุ้มครองแรงงานประจำเขตที่นายจ้างอยู่ครับ
งานปั๊มน้ำมันเถ้าแก่จ่ายค่าแรงวันละ335โอที38บ/ชม.หยุดเดือนล่ะ3วัน..ป่วยมีใบรับรองแพทย์ไม่จ่ายเงินผิดกม.แรงงานไหมครับหักประกันสังคม650บ/ด
ผิดกฎหมายครับ เพราะว่าตามกฎหมาย ลูกจ้างจะได้สิทธิลาป่วยได้ตามจริง และนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้ใน 30 วันแรก ต่อปี
หลังเหตุการณ์โควิด บ.ปรับลดOTของการทำงานวันหยุด ตำแหน่ง AM จากปกติ 8.30-17.00นได้OT 1.5เท่าของเงินเดือน หลังจากนั้นOT 3เท่าของเงินเดือน(ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน) ปรับเป็น เหมาจ่าย 8.30-17น=1,200บ. หลังจากนั้นเหมาจ่าย=600- ซึ่ง OT เงินหายไปครึ่งต่อครึ่งครับ และให้เซ็นสัญญาจ้างงานใหม่ แกมบังคับ -> แบบนี้ถือว่าผิดกฎหมายแรงงานไหมครับ ต้องดำเนินการอย่างไรครับ สัญญาเซ็นไปแล้ว
ผิดกฎหมายแรงงานตั้งแต่ปรับเป็นเหมาจ่าย และได้น้อยกว่ากฎหมายกำหนดแล้วครับ แต่ปัญหาคือ นายจ้างฉลาดครับ มีการทำสัญญาจ้างใหม่ แล้วให้คุณเซ็น เมื่อเซ็นไปแล้ว ก็หมายความว่าคุณยอมรับสภาพการจ้างงานใหม่นี้ไป กรณีแบบนี้ แนะนำให้ไปปรึกษาเจ้าหน้าที่แรงงานในพื้นที่ เพื่อหาทางไกล่เกลี่ยแก้ปัญหาครับ
สอบถาม ในกรณี ที่วันพรุ่งนี้ เป็นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และ มีวันหยุดชดเชยเพิ่ม อีก 1 วัน รวมเป็น 3 วัน พอเลิกงาน 5 โมงเย็นวันศุกร์ หัวหน้างานมีการเดินมาสั่งงาน ให้ทำรายงานด่วน ทั้ง ๆ ที่รายงานไม่ต้องใช้งานในวันที่เปิดงาน และ สามารถ มาทำได้ในวันที่ิเปิดทำการ แต่มีกาารสั่งงาน ตอนหลังเลิกงาน รวมทั้งมีการบังคับให้ทำ ทั้ง ๆ ที่ได้แจ้งแล้วว่าวันหยุด สามวัน จะต้องเดินทางไปต่างจังหวัด แบบนี้ เข้าข่ายการกลั่นแกล้งมั้ยครับ ส ขอบคุณครับ
ถ้ามาสั่งงานหลังเลิกงาน ก็คือจะให้ทำงานล่วงเวลา แบบนี้ลูกจ้างก็มีสิทธิปฏิเสธไม่ทำอยู่แล้วครับ เพราะกฎหมายบอกแล้วว่าจะให้ทำล่วงเวลา ต้องขอความยินยอมจากลูกจ้างเป็นครั้งๆ ไป และลูกจ้างก็มีสิทธิปฏิเสธได้ ในกรณีนี้แนะนำว่าเจรจากับหัวหน้า แจ้งความจำเป็นของเรา และความไม่จำเป็นต้องรีบทำของงานก่อน แล้วก็สัญญาว่าจะรีบทำให้เสร็จทันทีเมื่อกลับมา แบบนี้ดีกว่าครับ
บริษัทหยุดช่วงเทศกาล แต่เราอยู่ต่างจังหวัด ต้องการลากิจเพิ่มเติม แต่ทางบริษัทไม่ยินยอม แบบนี้บริษัทมีสิทธิ์มั้ยครับ
เห็นหลายที่ไม่ให้ลาหน้าหรือหลังหยุดเทศกาล บางที่ห้ามลาทั้งหน้าทั้งหลัง ในทางกฎหมายเค้าให้สิทธิ์ยังไงบ้าง
มีสิทธิครับ เช่น หากลากิจ เขาก็จะเรียกเต็มๆ ว่า ลาเพื่อกิจธุระที่จำเป็น ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องเป็นธุระที่จำเป็นเท่านั้นถึงจะลาได้ ซึ่งนายจ้างก็จะมีกำหนดกฎเกณฑ์เอาไว้ ส่วนกรณีที่ต้องการลาเพิ่ม เพราะเรากลับบ้านที่ต่างจังหวัด ปกติก็จะขอลาแบบ Leave without pay หรือ ลาหยุดแบบไม่รับค่าจ้าง แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น ก็อยู่ที่นายจ้างจะยินยอมหรือไม่อีกอยู่ดีครับ ในการทำงาน เขาจ้างเรา จ่ายเงินเรา เราก็มีหน้าที่ต้องทำงานครับ กฎหมายกำหนดทั้งวันหยุดพักผ่อนประจำปี วันหยุดตามประเพณีให้แล้ว ลูกจ้างก็ต้องวางแผนการหยุดของตนเองตามวันหยุดที่มีครับ แต่ถ้านายจ้างใจดี มันก็คุยกันได้
นายจ้างมีการเปลี่ยนแปลงเวลาการทำงาน จากเดิมทำงาน 08:10 ถึง 18:00 เปลี่ยนให้พนักงานทำงานสลับสองช่วง คือ 07:30-17:20 และ 08:50-18:40 โดยที่ไม่ถามความสมัครใจลูกจ้าง แบบนี้ผิดกฎหมายหรือร้องเรียนได้หรือไม่
ต้องกลับไปดูก่อนว่า ในสัญญาจ้างงานจริงๆ เขียนไว้ว่ายังไงครับ ถ้าเขากำหนดไว้ในสัญญาจ้างว่าเป็น 08:10-18:00 แล้วอยู่ๆ มาเปลี่ยน ไม่ได้ครับ การเปลี่ยนสภาพการจ้างใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างครับ
สามารถนำกฏหมายแบับไหนไปยืนยันกับบริษัทได้บ้างค่ะ สัญญาจ้างเป็น 08:10 ถึง 18:00
ลองอ่านเคสนี้นะครับ ของกองนิติการ กรมคุ้มครองสวัสดิการแรงงาน http://legal.labour.go.th/attachments/article/226/62_00001.pdf
มีญาติผมคนหนึ่งครับเขาทำงานได้เงิน320โดนหักค่ามาสายนาทีละ5บาทอะครับพอเงินออกนายจ้างเขาบอกว่าเขามาสายโดนหัก2000
เเล้วเงินเดือนเเกก็เเค่6000-7000พันอยู่เเล้วอยู่กันสามคนอะครับโดนหักไปอีกมีไม่ภึง4000พันอะครับสงสารมากรำบากจริงๆควรให้เขาทำยังไงดีครับ
แจ้งสำนักงานแรงงานเลยครับ เพราะการมาสาย นายจ้างมีสิทธิหักได้เต็มที่ก็แค่เท่ากับค่าแรงครับ จะมาแบบ นาทีละ 5 บาท (ชั่วโมงละ 300) แบบนี้ไม่ได้แน่นอน
ถ้าอยู่ในช่วงทดลองงาน1เดือนแต่ใน1เดือนนั้นนายจ้างไม่มึวันหยุดให้และบอกว่าถ้าออกไม่บอกล่วงหน้าจะได้เงินเดือนถัดไปทั้งที่ก่อนสมัครนายจ้างไม่ได้บอกไว้…ทำไงได้บ้างคับ
นายจ้างบอกให้ทดลองงาน1เดือนต้องทำครบ30วันโดยไม่มีวันหยุดให้และถ้าลาออกไม่บอกล่วงหน้าเงินเดือนจะได้เดือนถัดไปแต่ตอนสมัครงานจ้างก็ไม่ได้บอก…แบบนี้เอาผิดได้มั้ยค่ะ
ในทางกฎหมาย ไม่มีคำว่า “ทดลองงาน” ครับ สิทธิของลูกจ้างที่ยังไม่ผ่านการทดลองงานของนายจ้างและที่ผ่านแล้ว มีเท่ากันทั้งหมด ฉะนั้น ลูกจ้างก็มีสิทธิลาหยุดได้ในกรณีที่ป่วย และนายจ้างก็ต้องยอมให้หยุด (แต่นายจ้างก็สามารถนำไปใช้เป็นเหตุผลในการพิจารณาให้ไม่ผ่านทดลองงานได้) แต่การลาพักร้อน อยู่ที่การกำหนดของนายจ้าง และหากจะลากิจก็เป็นการพิจารณาของนายจ้าง ฉะนั้นนายจ้างจะไม่ให้หยุดในช่วงทดลองงานก็พอจะทำได้ครับ แต่หากเราต้องลากิจที่เป็นธุระอันจำเป็นจริงๆ กฎหมายก็บอกว่านายจ้างก็ต้องพิจารณายอมให้ลาไป
ส่วนเรื่องเงินเดือน เคสนี้ต้องบอกว่า หากเราทำงาน นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนครับ แต่ตามกฎหมาย ไม่ว่าเราจะลาออก หรือนายจ้างจะเลิกจ้าง ก็ต้องบอกล่วงหน้าอย่างน้อย 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง หากเราลาออกโดยไม่บอกล่วงหน้า นายจ้างเกิดความเสียหาย นายจ้างก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเราได้ แต่เงินเดือนก็คือเงินเดือน นายจ้างก็ยังต้องจ่ายให้เราอยู่ดี
สอบถามค่ะ ทำงานบริษัทเอกชน เข้างาน 09.00-18.00 ลักษณะงานต้องรีวิวงานกับเจ้านายก่อนกลับบ้านทุกวัน แต่บางวันนายยุ่งหรือประชุม กว่าจะเรียกให้เข้าไปรีวิว บางวันเลยเวลาเลิกงานไปมากค่ะ เช่นเกือบ ๆ ทุ่ม ก็ต้องอยู่รอ ห้ามกลับก่อนที่เค้าจะอนุญาต แล้ววันไหนอยู่ดึก ค่อยส่งอีเมลขอโอทีเป็นครั้ง ๆ ไป ลักษณะแบบนี้สามารถร้องเรียนหรือดำเนินการอย่างไรได้บ้างคะ
ในทางปฏิบัติ ตามกฎหมายแรงงานแล้ว การให้ลูกจ้างทำโอที ต้องขอลูกจ้างเป็นคราวๆ ไปครับ ดังนั้น หากจะให้อยู่รอ ก็ต้องบอก และเราก็ต้องตกลงด้วย ถึงจะถือว่าทำได้ครับ กรณีที่นายจ้างทำแบบนี้ (บังคับกลายๆ) ถือว่าทำไม่ถูกต้องก็สามารถร้องเรียนไปที่นายจ้างก่อนได้ และหากไม่มีการดำเนินการแก้ไข ก็สามารถแจ้งสำนักงานแรงงานให้เข้ามาไกล่เกลี่ยครับ
อยากทราบว่า เราเป็นพนักบริษัท ทำงาน 8 ชม
แต่อยู่ๆมา9 ปีแล้ว จะให้ทำงาน10 ชมโดยไม่ให้โอที ไม่จ่ายค่าแรงเพิ่ม ผิดกฏหมายไหมค่ะ
อยู่ที่สถานการณ์ครับ โดยหลักการแล้ว หากนายจ้างต้องการให้ลูกจ้างทำล่วงเวลา ต้องมาขอลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธ และหากลูกจ้างยอมทำ ก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่จ่ายคือผิดกฎหมาย เอาไปแลกเป็นวันหยุดก็ไม่ได้ แต่หากลูกจ้าง “อยู่ทำงานล่วงเวลาเอง” โดยนายจ้างไม่ได้ขอ นายจ้างก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าล่วงเวลา (ลูกจ้างสมัครใจทำเอง นายจ้างไมไ่ด้ขอ) ดังนั้น จะถามว่านายจ้างทำผิดกฎหมายไหม คุณต้องพิจารณากรณีของคุณว่าเข้าข่ายไหนครับ มีหลักฐานไหม ถ้ามีก็สามารถยื่นฟ้องนายจ้างได้
สอบถามหน่อยครับ
ถ้าบริษัทนึงแจ้งล่วงหน้าก่อนเขียนใบสมัครงานเลยว่า ทำงานวันละ 10 ชม. ทำ 9 พัก 1 ชม. ( 1 ชม. ที่เกินไม่จ่ายโอที )
ทำ 6 วันหยุด 1 วัน
แล้วถ้าผู้สมัครยินยอมข้อตกลง แปลว่า ทางบริษัทไม่ผิดอะไรเลยมั้ยครับ เพราะถือว่าแจ้งลวงหน้าแล้วว่า ทำงานวันละ 10 ชม.
เรายังสามารถเอาผิดอะไรบริษัทได้มั้ยครับ
ในวันนึงปกติส่วนใหญ่จะได้แค่ 8 ชั่วโมง เพราะกฎหมายกำหนดให้ สัปดาห์นึงเวลาทำงานปกติมีได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง
ถ้าเกิดจำนวนชั่วโมงเกิน ก็ต้องเป็นทำงานล่วงเวลาครับ ไม่งั้นถือว่าขัดต่อกฎหมาย และแม้ว่าจะมีการเขียนสัญญาแจ้งไว้ล่วงหน้า แต่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมายย่อมเป็นโมฆะครับ
ชอสอบถามครับ ผมสมัครทำงานแต่ไม่รู้ว่าที่นี่ทำงานแบบเงินเดือนเหมารวมทำทุกวัน12 ชม ก็ไม่ได้โอที นอกจากทำเกิน12ขึ้นไปถึงเป็นโอที ผมพึ่งรู้ทีหลังจากที่รับเงินเดือนๆเดือนแรก แล้วเชาบอกว่าเป็นเงินเดือนเหมา แบบนี้ถูกต้องหรือป่าวครับ
ไม่ทราบว่าเป็นงานแบบไหนครับ
สอบถามค่ะ ปกติทำงานตำแหน่งออฟฟิศ ประจำอยู่ที่ออฟฟิศ และภายหลังเมื่อวันที่ 31สิงหาคม หัวหน้างาน มาแจ้งตารางงานว่าเดือนกันยายน จะต้องไปนั่งทำงานที่อื่นและมีภาระงานเพิ่มมากขึ้นจากเดิม โดย 1 สัปดาห์ต้องไปทำงาน 5 สาขา ระยะห่าง 3-5 เมตร เขามีสิทธิ์ทำใช่ไหมค่ะ
ก่อนอื่น ผมเข้าใจว่าระยะห่างคือ 3-5 กิโลเมตร ถูกไหมครับ ในเรื่องนี้ สามารถทำได้อยู่แล้วครับ
ในส่วนของการทำงานที่มีภาระเพิ่มขึ้นจากเดิม ในทางทฤษฎีคือ เขาไม่ควรใช้งานนอกเหนือจากที่ระบุในใบพรรณาลักษณะงาน หรือ สัญญาจ้างงาน แต่โดยปกติ นายจ้างจะอุดช่องโหว่นี้ด้วย “ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง/หัวหน้างาน“ อะไรทำนองนี้ ดังนั้นตรงนี้ก็ออกเทาๆ ครับ แต่ในความเป็นจริงผมอยากให้มองอีกมุมคือ ทุกปีนายจ้างก็จะมีการขึ้นเงินเดือน ฉะนั้น หากมีภาระงานเพิ่มบ้างเล็กน้อย ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากมันเพิ่มมากจนแบบ เราคิดในใจแรงๆ ว่า “แบบนี้ก็ได้เหรอ?” เราก็ต้องพิจารณาแล้วครับว่ายังอยากทำงานกับนายจ้างนี้หรือเปล่า ถ้าคิดว่าไม่แล้ว ก็ลองไปคุยดูครับว่าเราคงทำไม่ไหว หากเงินเดือนเท่านี้ แต่งานเพิ่มมาขนาดนี้ ขอเจรจาดีๆ ซึ่งหากนายจ้างไม่โอเค ก็ยื่นใบลาออกครับ เป็นสิทธิที่ลูกจ้างทำได้
ขอสอบถามหน่อยค่ะ
บริษัทจ่ายโอทีให้ชั่วโมงละ 50 บาท แต่ถ้าคิดจากฐานเงินเดือน จริงๆ ควรได้ 100+ และไม่มีการแจ้งล่วงหน้าเรื่องวิธีการคิดเงินโอที แต่ดิฉันได้เซ็นสัญญาจ้างไปแล้ว ในสัญญามีข้อกำหนดต้องทำงาน 1.5 ปี ถ้าทำไม่ครบจะมีการปรับเงิน
การที่นายจ้างจ่ายเงินค่าโอทีแบบนี้ผิดกฎหมายแล้วทำให้สัญญาที่เซ็นไปเป็นโมฆะด้วยมั้ยคะ
รบกวนด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
กฎหมายระบุเรื่องค่าทำงานล่วงเวลาไว้ที่ 1.5 เท่าของค่าแรงครับ ถ้าจ่ายไม่ถึงก็คือผิดกฎหมาย ต่อให้เขียนระบุไว้ในสัญญา เพราะถือว่าขัดต่อกฎหมาย ส่วนเรื่องการทำงาน สัญญาจ้างอาจมีการระบุได้ว่าต้องทำงานอย่างน้อยไม่ต่ำกว่ากี่ปี หากเลิกสัญญาแล้วเกิดความเสียหาย จะมีการเรียกค่าเสียหาย แบบนี้สามารถทำได้ แต่นายจ้างก็ต้องมีเหตุผลว่าค่าเสียหายมาจากอะไร เท่าไหร่ สมเหตุสมผลไหม แต่ถ้าตั้งมาลอยๆ เฉยๆ หากโดนปรับเงินจริง ก็ต้องฟ้องร้องสู้คดีกันครับ
แฟนผมทำงานในร้านปิ้งย่างแห่งหนึ่งในห้างครับ ก่อนสถานการณ์โควิดก็ทำงาน 8 ชั่วโมงตามปกติ หลังจากสถานการณ์โควิด-19 นายจ้างให้เริ่มทำงาน 11:00 เลิกงานประมาณ 20:00 – 21:00 แล้วแต่ลูกค้า ที่มาปรึกษาก็คือ วันนี้นายจ้างให้ไปที่ทำงาน 07:00 เลิกงาน 21:00 เพราะจะมีคนจากบริษัทมาตรวจร้าน ส่วนค่าจ้าง 320 บาททุกวัน ไม่เคยมี OT เราพอจะมีวิธีแก้ปัญหายังไงบ้างครับ แล้วถ้าไปโวยวายโดยใช้ข้อกฎหมายก็กลัวว่าแฟนผมคงจะต้องหางานใหม่ รบกวนด้วยครับ เครียดมากจริงๆ
ทางนึงที่ลูกจ้างพอจะทำได้คือ ไปปรึกษาสำนักงานสวัสดิการแรงงานในพื้นที่ครับ ให้เขามาไกล่เกลี่ย ซึ่งอาจจะทำได้แบบแฟนของคุณไม่ต้องออกตัว
ขอสอบถามค่ะเป็นข้อมูลค่ะ ตัวเราเป็นตำแหน่งผู้จัดการร้านค่ะ แล้วกำลังจะมีพนักงานที่จะสอบขึ้นตำแหน่งเป็นหัวหน้างานเพื่อมาช่วยงานค่ะแต่พนักงานสอบไม่ผ่านบริษัทฯ ยังให้โอกาสพนักงานสอบอีกครั้งแต่ถ้าสอบใหม่แล้วพนักงานยังไม่ผ่านก็จะไม่สามารถขึ้นมาช่วยงานได้ค่ะ บริษัทฯ จึงส่งเป็นคำสั่งทางไลน์มาว่าถ้าพนักงานสอบไม่ผ่านผู้จัดการจะต้องทำงานตั้งแต่เปิดร้านถึงปิดร้านคือ 10:00-22:00 โดยไม่มีวันหยุดจนกว่าจะสามารถฝึกพนักงานให้มาสอบใหม่ได้ค่ะซึ่งการสอบของบริษัทมีลำดับขั้นตอนในการสอบถึง 6 ขั้น แต่ละขั้นใช้เวลา 1 – 2 เดือนรวมแล้วจะต้องทำงานโดยที่ไม่มีวันหยุดเลยอย่างต่ำ 6 เดือนและจริงๆ แล้วบริษัทฯ สามารถที่จะหาหัวหน้างานมาช่วยได้แต่บริษัทฯ ไม่อนุมัติ โดยจะให้ผู้จัดการมาทำงานในวันหยุดซึ่งไม่ให้สแกนนิ้วเพื่อไม่ให้มีเวลาทำงาน แบบนี้สามารถที่จะฟ้องร้องกับบริษัทฯ ได้ไหมคะ เบื้องต้นอยากได้ข้อมูลที่สามารถต่อรองกับบริษัทฯ ได้ค่ะ
กรณีนี้ต้องร้องเรียนไปที่สำนักงานสวัสดิการแรงงานในท้องที่เลยครับ และอาจต้องแยกเป็นสองประเด็นด้วย คือ
1. กรณีที่โดนบังคับให้มาทำงานในวันหยุด โดยไม่ให้เราปฏิเสธ เพราะทางกฎหมายแล้วนายจ้างจะบังคับคนมาทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดไม่ได้ครับ ต้องได้รับความสมัครใจจากลูกจ้าง (ต่อให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดให้ตามกฎหมายก็ตาม)
2. หากทำงานในวันหยุดแล้วไม่ได้รับค่าจ้าง อันนี้ต้องดูที่สัญญาจ้างแล้ว เพราะตำแหน่งผู้จัดการร้านอาจจะถูกอ้างว่าเข้าข่ายอยู่ในข้อยกเว้นของกฎหมายที่ว่า ลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด (แต่กรณีนี้ต้องพิสูจน์กันเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบว่ามีอะไรที่กระทำการแทนนายจ้างได้จริงไหม เช่น การรับคนเข้ามาทำงาน หรือ การพิจารณาปรับเงินเดือน เป็นต้น) แต่หากสัญญาจ้างระบุว่าจะมีการจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด นายจ้างก็ต้องจ่ายตามนั้น หากไม่ได้รับ ก็ผิดกฎหมายอีกเช่นกัน
ร้องเรียนก่อนครับ ให้เขามาไกล่เกลี่ย หากไกล่เกลี่ยกันไม่ได้ ก็ฟ้องร้องครับ แต่ต้องทำใจเลยว่าหากทำเช่นนี้แล้ว นายจ้างไม่ชอบเราแน่นอน อาจต้องเตรียมหางานใหม่ด้วยนะครับ
สอบถารมค่ะ พนักงานบางส่วนมีเข้างาน 06.00 – 15.00 เป็นบางอาทิตย์ เพราะส่วนใหญ่เข้างาน 08.00 – 17.00 น. คือพนักงานต้องการขอออกโอ คือไม่ทำโอทีต่อ พนักงานงานที่เข้า 06.00 ต้องให้เลิกงานตามเวลาบริษัท คือ 17.00 น. ใช่ไหมค่ะ หรือนับจากเวลาทำงานจริง 8 ชม.
อยู่ที่เวลาการทำงานแต่ละวันตามปกติเป็นอย่างไรครับ คือ ปกติก็นับ 8 ชั่วโมง บวกพัก 1 ชั่วโมง ฉะนั้น หากเข้างาน 06:00 ก็ออก 15:00 ครับ
วันหยุดปีใหม่ นายจ้างมีกำหนดให้หยุดอยู่แล้ว แต่อยากจะล่าต่อวันหยุด เพราะเป็นสิทธิ์ลาที่ทั้งปีได้วันหยุด 15 วัน ซึ่งแทบไม่ได้ใช้เลย แต่นายจ้างไม่อยากให้หยุดโดยกำหนดว่า หากใครหยุดจะหักค่าแรง 2 เท่า หากค่าแรก 600 บาท ก็จะโดนหักไป 1,200 บาท ซึ่งเราก็ยอม
(ไม่ได้เต็มใจ) ให้หักโดยที่ไม่รู้ว่าผิดกฏหมายหรือไม่ค่ะ
ตามกฎหมายแล้ว นายจ้างมีสิทธิ์ในการกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี (พักร้อน) ฉะนั้นนายจ้างมีสิทธิ์ไม่อนุมัติให้หยุดได้ครับ และหากเราฝืนหยุดไป ก็จะผิดฐานขาดงาน นายจ้างก็ลงโทษได้ตามกฎระเบียบของบริษัท และไม่จ่ายค่าจ้างได้ตามจริง (เข้าข่าย No work, no pay) แต่นายจ้างจะมาหักค่าแรกสองเท่าไม่ได้ครับผิดทันที
สอบถามหน่อยครับ ใกล้เวลาเลิกงานแล้ว แล้วเราแค่อยากไปห้องน้ำก่อนจะกลับบ้าน แต่เค้าห้ามออกจากไลน์ ก่อนเวลา ถือว่าผิดไหมครับ
ตามหลักแล้ว แค่เข้าห้องน้ำควรจะให้เข้าได้ครับ เพราะมันเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนอะครับ ถ้าเราออกไลน์ก่อนเวลาเพราะจะอู้ หรือจะกลับบ้าน นี่สิเขาถึงห้ามเราได้ ไปคุยกะหัวหน้า ทำความเข้าใจให้ดีๆ ก่อนดีกว่าครับ
คิดเงินค่าจ้างพนักงานขาดไป เงินโอนเข้าบัญชีพนักงงานไปแล้ว
ส่วนที่คิดขาดไปสามารถรอจ่ายพร้อมค่าจ้างงวดต่อไปได้ไหมค่ะ (งวดละ 15 วัน)
ดีที่สุด เมื่อรู้ตัวว่าจ่ายขาดแล้วก็รีบโอนจะดีที่สุดครับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าขาดไปเยอะ) แต่ถ้าไม่สะดวก ก็คุยกับลูกจ้างครับว่าจะตกเบิกไปจ่ายงวดถัดไป เคลียร์กันได้ แต่อย่าตกเบิกซะทุกงวดก็เท่านั้น
นายจ้างติดค้างค่าโอทีมานานแล้ว และตอนนี้ลาออกจากงานมา 6 เดือนแล้ว มีสิทธิ์เรียกร้องค่าโอทีไหมคะ ต้องทำอย่างไร
ถ้ามีหลักฐานครบ แนะนำให้ปรึกษากับสำนักงานแรงงานประจำพื้นที่เลยครับ ให้เขาไกล่เกลี่ยก่อน ถ้าเขาไม่ยอม ก็เตรียมทนายยื่นฟ้องครับ เรียกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ค้างจ่าย
นายจ้างปรับเปลี่ยนค่าจ้างจากพนักงานรายเดือนเปลี่ยนมาเป็นรายวัน โดยในวันหยุดจะไม่ได้รับค่าจ้าง (เช่น1สัปดาห์หยุด1วันก็เท่ากับทำงาน6วันต่อสัปดาห์) *แต่ทางนายจ้างยังได้จำกัด จำนวนของพนักงานที่ต้องมาทำงานต่อวันอีก จึงทำให้พนักงานบ้างคนต้องเสียสละหยุดงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง หลายวันต่อหนึ่งสัปดาห์* อยากถามว่านายจ้างทำแบบนี้ถูกต้องไหม ร้องเรียนหรือตรวจสอบได้ที่ไหนบ้าง
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง (เช่น เปลี่ยนจากรายเดือนเป็นรายวัน) เป็นสิทธิที่นายจ้างอาจทำได้แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนครับ ถ้าไม่ยินยอมก็ทำไม่ได้ ดังนั้นต้องไปถามก่อนว่าได้มีการเซ็นสัญญายินยอมไปหรือไม่ก่อนครับ แต่ถ้านายจ้างทำโดยเราไม่ได้ยินยอม ให้ร้องเรียนไปยังสำนักงานแรงงานในพื้นที่ที่บริษัท หรือ โรงงาน ตั้งอยู่
ทีบริษัท กรณีพนักงานต้องเดินทางไปทำงาน ต่างจังหวัดต้องมาเข้างานเร็วกว่าเวลาทำงานปรกติ เพราะต้องนั้งรถไป แต่บริษัทไม่จ่ายเป็น OT จ่ายเป็นค่าเดินทางแทน ทั้งไปและกลับ เช้า 2 ถัง 3 ชม. เย็น 2 ถึง 3 ชม.เช่นกัน แบบนี้ลูกจ้างสามารถเรียกร้องอะไรได้ไหมครับ
ไม่ได้อะครับ เพราะมันไม่ได้เป็นการ “ทำงาน” เป็นแค่การเดินทาง กฎหมายเขียนว่า ระยะเวลาในการเดินทาง ไม่ถือเป็นการทำงานครับ บริษัทจ่ายเป็นค่าเดินทางนี่ถือว่าใจดีนะครับ เพราะกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย ภรรยาผมนี่ เวลาออกไปตรวจงานต่างจังหวัด บางทีต้องออกจากบ้านตีห้า ยังไม่ได้ค่าอะไรเลยนะครับ 555
บริษัทที่ทำงาน ไม่มีการเซ็นสัญญาเข้าทำงาน หยุดวัน เสาร์อาทิตย์ บางเสาร์มีขอให้มาทำบ้าง 9-12.00 น. ไม่มีกำหนดวันลาพักร้อนชัดเจน ลาป่วย หากไม่มีใบลา (ลา1-2วัน)จะไม่จ่ายเงิน หากลาหยุดวันที่ติดกับวันหยุด(วัน ศุกร์, วันจันทร์)จะไม่ได้รับเงินในวันนั้นๆ บริษัทเป็นเอกชน วันหยุดนักขัตฤกษ์ขึ้นอยู่กับว่า เจ้าของบ. จะให้หยุดหรือไม่ ทั้งนี้ผมทำงานมา เกือบ 3 เดือน มีน้องในที่ทำงานเล่าให้ฟังว่า บางที วันหยุดนักขัตฤกษ์ไม่ได้หยุด แต่ก็มีทบไปให้หยุดช่วงปีใหม่แทน
กรณีนี้ เจรจายังไงได้บ้างครับ ต้อนสมัครเข้าทำงานมีแค่ใบสมัคร ไม่มีเซ็นสัญญาจ้างชัดเจน
ต้องถามว่าเจ้าของบริษัทเขาพร้อมจะปรับตัวไหมครับ เพราะเท่าที่ฟังมา (และที่คุณถามผมทาง LINE) คือ เขาไม่มีความรู้ด้านกฎหมายแรงงาน และก็ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลในบริษัทด้วย ถ้าเขาพร้อมจะปรับตัว ก็ให้คำแนะนำเขาครับ ถ้าเขางงก็ให้ไปขอคำปรึกษาจากสำนักงานสวัสดิการแรงงานได้ครับ แต่ถ้าเจ้าของไม่พร้อมปรับตัว ก็เตรียมใจย้ายที่ทำงานดีกว่าครับ
รบกวนสอบถามค่ะ
ลาออกแล้ว ทีนี้ มันมีวันลาเหลืออยู่ เค้าก็ไม่ให้ลาค่ะ เค้าบอกว่างานต้องเสร็จ คือเค้าก็ให้งานใหม่มาเรื่อยๆ
แล้วคนใหม่ที่มาก็ทำไม่เป็น เราก็พยายามสอนแล้ว เต็มที่มากๆ แต่ก็ยังไม่ได้
นายจ้างก็ชอบมาพูดประชดประชันเรา ทำงานล่วงเวลาไม่เคยได้ค่าจ้าง แต่จะได้เป็นชั่วโมงลาแทน
วันลาก็เลยเยอะไปหมด สุดท้ายก็ไม่ได้ใช้ เหมือนทำฟรี เปลี่นนเป็นเงินก็ไม่ได้
ทำวันเสาร์ก็จำนวนชั่วโมงลาแค่ 1 เท่า ทั้งๆที่ทำวันธรรมดาได้ 1.5
พอถามอะไรก็เมินตลอดเลยค่ะ เปลี่ยนเรื่อง ไม่คุยด้วย บางวันก็ทำเป็นไม่ได้ยิน บางวันก็ทำเป็นคุยโทรศัพท์ บางวันก็หายไปเลยค่ะ จะคุยด้วยก็ไม่ได้คุย ไม่รู้จะทำยังไงค่ะ
ถ้าเราลาไปเฉยๆ หมายถึงทำเรื่อง แต่เค้าไม่ approve เราสามารถหยุดได้เลยไหมคะ เป็นสิทธิ์ของเราไหมคะ
ที่นี่เห็นชอบเอาเรื่องพนังงานไปฟ้องศาลด้วยค่ะ ไม่รู้จะทำยังไง เค้าก็ชอบพูดลอยๆให้ทุกคนได้ยินว่า เรื่องฟ้องที่นี่ถนัด
สัญญาที่เซ็นตอนเข้าทำงานก็ไม่ให้ถ่ายรูปออกมา ไม่มีฉบับสำเนาให้ด้วยค่ะ
เรื่องวันลานี่ ถ้าเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีมันมีรายละเอียดเยอะครับ และนายจ้างเป็นฝ่ายได้เปรียบ เพราะกฎหมายกำหนดให้นายจ้างเป็นคนกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้าง ที่เราเรียกว่าลาพักร้อนมันก็แค่ นายจ้างให้ความยืดหยุ่นกับลูกจ้างให้การเลือก (แต่นายจ้างก็มีสิทธิไม่อนุมัติ) ฉะนั้น เราจะอยู่ๆ หายไปเฉยๆ จะบรรลัยนะครับ เพราะถือว่าขาดงาน ถ้าเกิดกฎหมายกำหนด นายจ้างก็อาจทำการสอบสวน แล้วเลิกจ้างแบบไม่จ่ายค่าชดเชย และเผลอๆ ฟ้องเราได้อีก ฐานทำให้นายจ้างเสียหาย ปกติแล้วในการจะลาออก ที่ผมแนะนำก็คือใช้สิทธิลาให้หมดๆ ก่อนครับ ค่อยยื่นใบลาออก เพื่อป้องกันนายจ้าง “ไม่ยอมให้ลา”
ทีนี้มาดูรายละเอียด … คือ ถ้านายจ้างยอมให้เรา “สะสมวันพักร้อน” เก็บข้ามปีได้ ไอ้วันที่เราสะสมมาอะ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นค่าทำงานในวันหยุดให้เรา เพราะอันนั้นเราสะสมมา สิทธิของเรา ไม่ให้หยุดไม่ได้ แต่ถ้าเป็น “วันพักร้อนประจำปีที่เราลาออก” แบบนี้ ไปเรียกร้องอะไรจากนายจ้างไม่ได้หรอกครับ นายจ้างจะตีหน้าซื่อบอกว่า จัดให้มีแล้วตามกฎหมาย แต่วันที่จัดให้นั้นมันเป็น “หลังจากที่เราลาออกไป” แค่นี้เขาก็ไม่ต้องจ่ายอะไรครับ … ง่ายๆ ช่องโหว่ของกฎหมายเลย … ยกเว้น กฎระเบียบของบริษัทจะมีระบุไว้เลยว่า ลูกจ้างมีสิทธิลาพักร้อนได้ปีละ 6 วัน (สมมตินะครับ) โดยใช้สิทธิได้ 1 วันทุกๆ 2 เดือน สามารถสะสมใช้ภายในปีนั้นได้ แบบนี้ คุณถึงจะพอเรียกร้องได้เฉพาะวันที่สะสมไว้
ส่วนเรื่องวันเสาร์ลาได้ 1 เท่า ทำไมวันธรรมดาได้ 1.5 อันนี้ผมไม่แน่ใจความหมายว่าคุณหมายถึงอะไร แต่ถ้าหมายถึงโอที ผมว่าเขาก็ให้ไม่ผิดนะครับ เพราะ ค่าทำงานล่วงเวลา (OT) นอกเวลางานปกติ ได้ 1.5 เท่าของค่าแรง แต่การมาทำงานวันเสาร์ ในช่วงเวลาทำงานปกติ เขาจะเรียกว่า ค่าทำงานวันหยุด (ชาวบ้านเรียก OT เหมือนกัน แต่จริงๆ มันคนละตัว) อันนี้ ถ้าคุณเป็นลูกจ้างรายเดือนที่ปกติวันหยุดก็ยังได้ค่าจ้าง (พวกที่ได้เงินเป็นรายเดือน โดยคำนวณแบบคูณ 30) เวลามาทำงานในวันหยุด จะได้เงิน 1 เท่าของค่าแรงครับ
สวัสดีค่า
ไม่เคยได้โอทีเป็นเงินเลยค่ะ ได้เป็นชั่วโมงลาแทน เลยอาจเขียนงงๆ ขอโทษด้วยนะคะ
แล้วเค้าก็จะไม่ให้เงินด้วยค่ะ ชั่วโมงลาที่ได้มาก็ไม่ให้ใช้ ตอนแรกที่คุยกันบอกให้ลาได้ พอจะลาจริงๆ ไม่อนุมัติ
ปวดหัวไปหมดเลยค่ะ ทั้งๆที่เราทำงานเกินเวลา ไม่ได้อยากอยุ่ แต่เค้าชอบบังคับให้อยู่ แล้วบอกให้ไปลาวันหลัง แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ทำเมิน ไม่คุยด้วยค่ะ
ส่วนลาพักร้อนนั้นทำใจแล้วว่าไม่ใช้ก็ได้ค่ะ
แต่วันลาที่ได้จากการทำโอทีมา รู้สึกโดนเอาเปรียบแบบสุดๆเลยค่ะ
ตามกฎหมายแล้ว การทำงานล่วงเวลา หรือ ทำงานในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินครับ จะมาแลกเป็นวันหยุดหรือเวลาหยุไม่ได้ครับ กรณีนี้ ไหนๆ ก็จะออกแล้ว ถ้ามีหลักฐานจำนวนชั่วโมงลาเยอะพอ คิดว่าฟ้องแล้วคุ้ม ฟ้่องเลยฮะ
ํเรื่องมีอยู่ว่าโดนให้ออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย โดยถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่โดยการให้โอทีลูกน้องเกินจริงไป เดือนละ 10 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 4 ปี ทางHRไม่เคยตรวจสอบ และมีการอนุมัติจ่ายเข้าพร้อมเงินเดือน แต่โดยที่จริงแล้วนายที่อยู่เหนือระดับเราเขาเป็นคนให้ (เราตำแหน่ง Manager) และมีการเซ็นต์อนุมัติกันทั้ง 2 คน (Manager และ General Manager) แต่นายจ้าง MD เอาผิดกับเรา และลูกน้อง กรณีสมยอมกัน แต่หนังสือเลิกจ้าง เราทั้ง 2 ไม่มีใครเซ็นต์รับ เราคิดว่าถูกกลั่นแกล้ง ไม่ทราบว่ากรณีนี้เราสามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้หรือไม่ค่ะ
ถ้าถามว่าฟ้องร้องได้ไหม? คำตอบคือ ฟ้องได้ครับ ฟ้องศาลเลย เจอกันในศาล ว่างั้นเลย แต่ถามว่าโอกาสชนะมีไหม ตอบยาก เพราะผมไม่มีรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ตามหลักแล้ว การเซ็นอนุมัติแบบนี้ปกติแล้ว ลูกน้องก็จะทำเรื่องมาที่เรา เราเซ็นก่อน (ในฐานะ Manager) แล้วค่อยเป็น General Manager เซ็นตาม ฉะนั้น ถ้าผิด เราก็โดนก่อนเลยครับ เพราะเราควรจะเป็นคนที่ตรวจสอบว่าโอทีเกิดขึ้นจริงไหม General Manager มักจะเซ็นแค่พอเป็นตาม Protocol (คือ เชื่อใจ Manager แล้วก็เซ็นตามไปกระบวนการ)
ขอถามหน่อยน่ะครับ พอดีว่าแฟนผมทำงานช่วงตัดวิคหลังปีใหม่ แล้วเงินจะต้องออกวันที่1กุมภาพัน แล้วแฟนผมไม่ได้จดวันทำงานกับโอทีไว้เลย พอถึงเงินเดือนออกได้5700 แต่ในใบสลิปมันเป็นเงินประมาน10200ครับ พอแฟนผมไปถามออฟฟิศที่ทำงาน(เป็นซับคอนแทรค) เจ้าหน้าที่ออฟฟิตเขาได้ตอบว่า เงินที่เข้า5700อ่ะถูก แต่ใบสลิปผิดครับ แล้วแฟนผมก็ขอใบดูเวลาทำงาน เขาก็บอกว่าทำให้ดูแค่ครั้งเดียวครับ ซึ้งแฟนผมก็ไม่ได้ดู เพราะไม่รู้ว่าใบลงเวลานั้นใครหยิบไป จะขอใบลงเวลาใหม่ก็ไม่ทำให้ แล้วอย่างนี้เราจะรู้ได้ไงครับว่าเงินเดือนเราได้ตรงจริงไหมกับที่เขาโอนมาให้แค่5700 เพราะเราก็ว่าเราต้องได้เยอะกว่า5700แน่นอน แล้วจะต้องทำไงได้บ้างครับเราถึงจะเช็คว่าเงินเราควรจะได้เท่าไหร่ ใบสลิปถูกหรือผิดกันแน่ครับ ใครรู้ช่วยแนะนำหน่อยครับ
ผมอ่านแล้วยังงงว่าอะไรเป็นอะไร แต่จะลองตอบตามที่เข้าใจนะครับ…
• ความยากมันอยู่ตรงที่เราไม่ได้เก็บข้อมูลใดๆ ไว้เป็นหลักฐานเพื่อโต้แย้ง
• ฉะนั้นเราต้องรวบรวมความกล้า เพื่อไปขอข้อมูลจากบริษัทที่เราไปทำงานให้ (ที่เป็นคนจ้าง sub-contract ของเรา) ถ้าเขาใส่ใจหน่อย เขาน่าจะมีการเก็บข้อมูลการเข้ามาทำงานของเราไว้ เราก็อาจจะเอาตรงนั้นมา แล้วไปขอข้อมูลการทำงานของเราจาก sub-contract ครับ ซึ่งตามกฎหมายเรามีสิทธิที่จะดูได้ ถ้าเขาไม่ยอมให้ดู เราก็มีสิทธิไปร้องเรียนที่สำนักงานแรงงาน