ตอนนี้ QNAP NAS เขาได้เฟิร์มแวร์ใหม่ล่าสุด QTS 4.3.5 กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เผอิญไปอ่านบล็อกของ QNAP ตอนนึง หัวข้อน่าสนใจ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานในระดับองค์กร เผื่อใครทำงานในระดับ SOHO หรือองค์กรเล็กๆ ไปจนถึงระดับกลาง อาจจะได้บล็อกอันนี้เป็นข้อมูลอัพเดตเกี่ยวกับการใช้ QNAP NAS ได้ครับ
ออกตัวล้อฟรี: บล็อกตอนนี้ แปลมาจากเวอร์ชันต้นฉบับเกือบทั้งดุ้นนะครับ
เป็นที่รู้กันว่า QNAP NAS มันไม่ได้ใช้งานเป็นแค่ NAS แต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ไม่ว่าจะสำหรับผู้ใช้งานระดับบุคคลทั่วไปตลอดไปจนถึงระดับองค์กร และด้านนึงที่ QNAP หันมาใส่ใจพัฒนามากขึ้นก็คือเรื่องของโครงสร้างระบบเครือข่าย ดังจะได้เห็นจากการที่ QNAP เริ่มออกผลิตภัณฑ์อย่างพวก 10GbE (QXG series) หรือ Wireless (QWA sereies) หรือแม้แต่ 10GbE unmanaged switch (QSW series) มาให้ผู้ใช้งานได้ใช้กัน
ในส่วนของตัว QNAP NAS เอง ก็มีแอป Network & Virtual Switch ที่ช่วยแปลงตัว NAS ให้ทำหน้าที่เป็น Network switch ได้ด้วย ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานระดับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประหยัดทรัพยากร (เพราะสามารถใช้ QNAP NAS ทำหน้าที่แทน Switch ได้) หรืออำนวยความสะดวกในเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชัน (เพราะใช้ Virtual network ที่สร้างจาก QNAP NAS ในการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน)
Network topology map แบบใหม่ ทำให้เราเห็นภาพรวมทั้ง Virtual network และการเชื่อมต่อจริง
พออัพเดตมาเป็น QTS 4.3.5 แล้ว QNAP ก็ได้อัพเกรดความสามารถด้านเครือข่ายให้มากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการออกแบบให้สามารถตรวจสอบสถานะของระบบเครือข่ายในภาพรวมได้ง่ายขึ้น เข้าใจได้ง่ายขึ้น ใช้งานง่ายขึ้น
ตัวแอป Network & Virtual Switch ใหม่ พอเปิดมาแล้วก็จะเห็น Network topology map ที่ชัดเจน เห็นทั้งการเชื่อมต่อจริง, อุปกรณืที่อยู่ใน VM/Containers และ Virtual switch ต่างๆ ที่ถูกสร้างเอาไว้ ซึ่งไม่เพียงแค่ทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจสถานะการเชื่อมต่อทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแบบที่เชื่อมต่อกันจริงๆ หรือเชื่อมต่อกันบนเครือข่ายเสมือน (Virtual network) ก็ตาม ซึ่งตรงนี้จะช่วยประหยัดเวลาของเจ้าหน้าที่ไอทีในการทำงานต่างๆ มากขึ้น
Virtual applications จำนวนมาก + Virtual networks ที่สร้างได้เมื่อต้องการ ก็เท่ากับ ประโยชน์เอนกอนันต์ที่ได้จากการเชื่อมโยงระหว่างโลกเสมือนจริงและของจริง
สภาพแวดล้อม Virtual machine ที่ QNAP มีให้เลือก ทำให้สามารถนำตัว QNAP NAS ไปประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ เช่น
- ผู้ใช้งานอาจจะเลือกต่อ Virtual machine ทั้งหมดที่มีให้อยู่ภายในระบบเครือข่ายแบบปิด เพื่อเอามาทำเป็นสภาพแวดล้อมสำหรับทดสอบ (Sandbox) เพื่อเอาไว้ทดสอบซอฟต์แวร์ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา
- Virtual machine บางตัวก็สามารถเชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้เป็น Virtual server สำหรับแอปพลิเคชันบนเครือข่ายได้
ซึ่งตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นสลับไปมาระหว่างการเชื่อมต่อจริงๆ กับ Virtual machine, การเปลี่ยนโหมดการเชื่อมต่อของ Virtual machine หรือแม้แต่การขยายขอบเขตการใช้งานของ Virtual machine ทั้งหมดนี้ สามารถตั้งค่ากันได้จากซอฟต์แวร์
ห่วงเรื่อง GDRP? ใช้ QBelt แล้ว การรับส่งข้อมูลในระยะทางไกลๆ ก็ไม่ใช่ปัญหา
ประเด็นนึงใน GDRP ก็คือการที่องค์กรจะต้องวางระบบเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลของลูกค้าจะมีความมั่นคงปลอดภัย ดังนั้นการรับส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ ในประเทศ ข้ามประเทศ หรือแม้แต่ข้ามทวีป ถ้าจะให้แน่ใจว่าปลอดภัย VPN (Virtual Private Network) ก็เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งตรงนี้แอป QVPN ซึ่งเป็นแอปสำหรับสร้าง VPN ของ QNAP ก็ได้รับการพัฒนาไปอีกขั้นใน QTS 4.3.5
QNAP เขามีโปรโตคอลสำหรับการทำ VPN โดยเฉพาะเป็นของตัวเองเลยคือ QBelt ซึ่งเข้ามาแก้ปัญหาของโปรโตคอลมาตรฐานเดิมอย่าง PPTP/L2TP ที่ถูกตรวจจับและถูกปิดกั้นได้ง่าย (ให้ลองนึกถึงประเทศจีนเข้าไว้นะครับ) ด้วย VPN มาตรฐานเฉพาะนี้ โอกาสที่จะถูกตรวจจับได้จะลดลงอย่างมาก และการเข้ารหัสบนโปรโตคอล QBelt เองก็มีระดับที่สูงกว่า ช่วยให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมั่นใจได้มากกว่า
นอกจากนี้ ตัว QTS ยังมีระบบบริหารจัดการสิทธิ์ผู้ใช้งานที่ดี ช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะไม่รั่วไหลไปได้ง่ายๆ แน่นอน (ถ้าเซ็ตอัพมาดี) และ QNAP เองก็มี QBelt client รองรับทั้งระบบปฏิบัติการ Windows/macOS/Android/iOS