Skip to content
  • กว่าจะมาเป็น … นายกาฝาก
  • รู้จักนายกาฝาก
  • ติดต่อนายกาฝาก
บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

บล็อกต๊อกต๋อยของนายกาฝาก

  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
  • ข่าว
  • รีวิว
  • แบ่งปันความรู้
    • บทวิเคราะห์
  • บทความ How-to
    • QNAP User Guide
    • QNAP NAS 101
    • How-to อื่นๆ
  • Living with Ubuntu
  • บ่นเรื่อยเปื่อย
  • เที่ยวไปทั่ว
    • ไทย
    • เอเชีย
    • ยุโรป
ข่าวเขาฝากมา
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล ยกทัพ SSD แบบพกพาความจุเต็มพิกัดทุกแบรนด์ในตระกูลออกจำหน่าย พร้อมนำเสนอทางเลือก SSD แบบพกพาความจุสูงถึง 4TB ที่หลากหลายให้กับผู้ใช้งานทั่วไปและระดับโปรเฟสชันนัลในยุคที่สตอเรจจำเป็นต้องเร็วและมีความทนทาน
  • realme จัดแคมเปญ ‘Empower The Next Gen’ เสริมพลังขับเคลื่อนคนรุ่นใหม่ เปิดพื้นที่โชว์ 4 ศักยภาพอย่างไร้ขีดจำกัด
  • ชี้เป้าสมาร์ทโฟน 5G สุดคุ้ม “Galaxy A42 5G” จากซัมซุง เร็วแรงพร้อมลุยทุกการใช้งาน ในราคาหมื่นต้น!
  • ดีแทคจับมือยารา เปิดตัว Kaset Go เครือข่ายดิจิทัลชุมชนเพื่อเกษตรกรแห่งแรกในประเทศไทย
  • อาร์ทีบีฯ ส่งแพ็กคอนเทนต์ครีเอเตอร์!!! ชุดหูฟัง ATH-M40x พร้อมไมโครโฟน ATR2500X-USB ของ Audio-Technica ราคาสุดคุ้มเอาใจผู้ผลิตคอนเทนต์
  • เวสเทิร์น ดิจิตอล เปิดตัว WD_BLACK SN850 NVMe SSD มอบอีกขั้นของความเร็วแรงบนเทคโนโลยี PCIe® GEN4 รุ่นใหม่
Home>>แบ่งปันความรู้>>ความรู้ทั่วไป>>กุญแจล็อกที่เป็น TSA compliant มันคืออัลไล แล้วมันปลอดภัยเหรอ?
ตัวล็อกใดที่เป็น TSA-compliant มันจะมีสัญลักษณ์รูปเพชรสีแดง มีรูกุญแจที่เขียนว่า TSA แล้วก็รหัส Master key สามหลัก
ความรู้ทั่วไปเที่ยวไปทั่วแบ่งปันความรู้

กุญแจล็อกที่เป็น TSA compliant มันคืออัลไล แล้วมันปลอดภัยเหรอ?

นายกาฝาก
กันยายน 22, 2018 2083 Views0

เคยสังเกตไหมครับ ว่ากระเป๋าเดินทาง หรือกุญแจล็อกบางยี่ห้อ​ (โดยเฉพาะยี่ห้อดังๆ) ต่อให้มันเป็นรุ่นที่ปลดล็อกด้วยเลขรหัส มันจะมีรูกุญแจเล็กๆ อยู่ เขียนว่า TSA พร้อมกับตัวเลข 3 หลัก เช่น 002, 007 แล้วคุณรู้ไหมว่ามันคืออะไร? เราอาจจะคิดว่ามันคือช่องทางสำรองสำหรับเปิดกระเป๋าในกรณีที่เราลืมรหัสละมั้ง แต่ทำไมไม่เห็นมีลูกกุญแจให้มาด้วยล่ะ? นั่นก็เพราะเราเข้าใจถูกเพียงครึ่งเดียวครับ

TSA ย่อมาจาก Transportation Secuirty Administration หรือสำนักงานความปลอดภัยในการขนส่ง เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งออกแบบระบบที่เรียกว่า TSA LOCK® นี่ขึ้นมาเพื่อเป้าหมายด้านความปลอดภัยในการคมนาคม แต่ยังคงอำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางครับ

คืองี้ ปกติเวลาที่สนามบิน (หรือศูนย์กลางการขนส่งใดๆ ก็ตาม) เขามีข้อสงสัยว่ามีวัตถุต้องสงสัยอยู่ในกระเป๋า เขาจะต้องเปิดกระเป๋าตรวจสอบ แต่ในหลายๆ เคส การตามหาเจ้าของกระเป๋าเพื่อให้เปิดให้เนี่ย มันไม่สะดวก ส่วนไอ้ครั้นจะต้องทำลายล็อกทิ้งเพื่อเปิดกระเป๋า มันก็ไม่สะดวกต่อผู้เดินทางเช่นกัน ฉะนั้น TSA LOCK® นี่เลยเข้ามาอำนวยความสะดวกตรงนี้ เพราะ TSA LOCK® เนี่ย มันจะมี Master key อยู่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยก็จะมีกุญแจชุดนี้ เพื่อเอาไว้เปิดล็อกได้ โดยไม่ต้องรอตามหาเจ้าของกระเป๋านั่นเอง

ตัวอย่างกระเป๋าที่มีล็อกที่เป็น TSA-compliant
ตัวอย่างกระเป๋าที่มีล็อกที่เป็น TSA-compliant

ว่ากันว่าปกติแล้ว สนามบินเขาไม่เปิดกระเป๋าผู้โดยสารโดยไม่จำเป็นหรอกนะครับ มันต้องมีพิรุธ มีเหตุให้ต้องสงสัย หรือมีข่าวกรองบางอย่างมาบอกให้เปิดนั่นแหละ แต่มันก็มีเช่นกันที่เขาจะ “สุ่ม” ขึ้นมาตรวจ เป็นไปตามกระบวนการด้านความปลอดภัยของเขา ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้ว ปัจจุบัน หากคุณจะเดินทาง คุณควรจะให้แน่ใจว่ากระเป๋าเดินทางของคุณนั้นเป็นแบบที่มี TSA LOCK® (หรือบางยี่ห้อจะเรียกว่าเป็น TSA-compliant lock) เพราะว่า หากจับพลัดจับผลู ดวงซวยขึ้นมา เขาสุ่มกระเป๋าคุณขึ้นมา แล้วตัวล็อกดันไม่เป็น TSA LOCK® ละก็ เขามีสิทธิทำลายล็อกของกระเป๋าคุณทิ้งเพื่อเปิดกระเป๋าได้เลยนะครับถ้าจำเป็น

ซึ่งการเดินทางไปประเทศต่างๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น อิสราเอล ฟินแลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ก สาธารณรัฐเชก เยอรมนี ออสเตรีย เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ (และจะมีเพิ่มอีกในอนาคต) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของประเทศนั้นๆ จะมีกุญแจสำหรับเปิดล็อกแบบนี้ เพื่อตรวจสอบของที่อยู่ข้างในกระเป๋า แล้วก็ล็อกกระเป๋าให้เราเสร็จสรรพ โดยไม่ต้องทำลายกระเป๋าฮะ

เฮ้ย! มีกุญแจที่เปิดกระเป๋าได้ทุกใบแบบนี้ แล้ว TSA LOCK® ปลอดภัยไหม?

บอกตรงๆ ระบบมันจะดีแค่ไหน ความชิบหายของระบบมันอยู่ที่ตัวบุคคลจริงๆ ครับ ปกติแล้ว ภาพของ TSA Master key นี่คืออะไรที่ห้ามเผยแพร่เลย แต่ปรากฏว่ามันก็หลุดออมาได้ยังไงไม่รู้ (ฮา) โผล่ในบทความของ Washington Post ทีนึง กับไฟล์ PDF ที่หลุดจากเว็บไซต์ของ Traven Sentry (ไม่ต้องไปคลิกลิงก์หานะครับ เขาเอารูปกับไฟล์ออกไปนานแล้ว) ผลก็คือ มีคนเอาข้อมูลเหล่านี้มาผสมผสานกัน แล้วก็เอามาสร้างเป็นไฟล์ CAD แล้วแจกจ่ายกันบนอินเทอร์เน็ต แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกดอกจะใช้งานได้ แต่ก็มีคนเอาไปทำด้วย 3D Printer ขึ้นมาแล้วลองเปิดล็อกได้ด้วยเช่นกันนะครับ อย่างเช่นที่ ars technica นี่เป็นต้น

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ความสะดวก กับ ความปลอดภัย มันมักไม่ค่อยไปด้วยกันซักเท่าไหร่ เมื่อเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น ความสะดวกมันก็จะลดลง ในทางกลับกัน หากเรายืดหยุ่นนิดหน่อย เพื่ออำนวยความสะดวกในบางเรื่อง ความปลอดภัยมันก็อาจจะลดลง (หรือลดฮวบ) ลงในทันที การที่ยอมให้มี Master key มันย่อมหมายถึงการยอมให้เกิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยต่อทรัพย์สินของผู้เดินทางอยู่แล้วล่ะนะ

แต่ข่าวดีก็คือ แม้ Master key จะหลุด แต่การที่มิจฉาชีพจะแอบดอดมาขโมยเปิดกระเป๋าเรามันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะว่าส่วนใหญ่ผู้เดินทางก็มักจะไม่ปล่อยให้กระเป๋าอยู่ห่างจากตัวอยู่แล้ว และจังหวะเดียวที่กระเป๋าอยู่ห่างจากตัว ก็มักจะเป็นหลังจากที่เช็กอินกระเป๋าไปแล้ว ซึ่งตอนนั้นมันก็ไปอยู่ภายใต้ความดูแลของสนามบินหรือสายการบิน ที่เราก็มั่นใจได้ระดับนึงแหละว่าจะไม่มีใครแอบดอดขโมยของของเราไป (ผู้ถือ Master key ก็จะต้องมีการเช็กประวัติก่อนรับเข้าทำงานอยู่แล้ว)

ฉะนั้น โดยสรุปแล้ว TSA LOCK® มีช่องโหว่ครับ และยากที่จะอุด เพราะกระเป๋าที่เป็น TSA LOCK® ก็กระจายไปทั่วโลกหมดแล้ว จะเปลี่ยนใหม่ตอนนี้ เดือดร้อนทั่วโลกแน่นอน แต่โอกาสที่เราจะโดนมิจฉาชีพแอบมาเปิดกระเป๋าเราด้วยกุญแจที่ทำจากข้อมูลที่หลุดไปนั้นก็ยังน้อยอยู่ครับ … อย่างน้อยก็ ณ ขณะที่ผมเขียนบล็อกนี้อยู่

แชร์โลด:

  • Tweet
  • Print

โพสต์อื่นๆ ที่อาจสนใจ

Related tags : TravelTSATSA CompliantTSA LOCK
Share:

Previous Post

รีวิว “กระปู๋แมน” การ์ตูนเพศศึกษาที่สนุกที่สุดในจักรวาล

การ์ตูนสอนเรื่องเพศศึกษาสไตล์จ่าพิชิต

Next Post

รีวิวหูฟัง 1MORE Triple Driver In-Ear Headphones

Related Articles

ซอฟต์แวร์แบ่งปันความรู้

ลองเล่น GIMP แทน Photoshop

ความรู้ทั่วไปแบ่งปันความรู้

Insights from The Adecco Group Global CEO Meets with Future Leaders in Thailand

โลโก้ Ubuntu Linux สีส้ม แบ่งปันความรู้ซอฟต์แวร์

Living with Ubuntu Linux: EP7 จะใช้เช็กเมลของบริษัทที่ปกติใช้ Microsoft Outlook ยังไงดี?

​ฮาร์ดแวร์แบ่งปันความรู้

จำเป็นไหม จะถอดแฟลชไดร์ฟออกแล้วต้องกด Eject มันออก (Safely remove USB)

แผงขาย MicroSD card โฟกัสไปที่ SanDisk Max Endurance Card 32GB แบ่งปันความรู้​ฮาร์ดแวร์บ่นเรื่อยเปื่อย

ทำไมถึงต้องเลือกใช้ SanDisk Max Endurace สำหรับกล้องวงจรปิด หรือพวกกล้องติดรถยนต์

Leave a Reply Cancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Translate this blog

อย่าลืมกดไลค์

อย่าลืมกดไลค์

ล่าสุดบ่นอะไรไป?

My Tweets

สับตะไคร้ติดตามบล็อกของผม

ใส่อีเมลของคุณที่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกของบล็อกนี้ และรับการแจ้งโพสใหม่ผ่านทางอีเมล

© 2001-2020 kafaak.blog | Theme By WPOperation
ประกาศเรื่องการใช้คุกกี้ในเว็บไซต์นี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลการเยี่ยมชม หากยอมรับกรุณาคลิกปุ่มยอมรับด้านล่าง เพื่อยืนยันการเยี่ยมชมต่อ หากคุณไม่ยอมรับคุกกี้ ให้คลิกปุ่มปฏิเสธ แล้วเราจะนำคุณไปที่ Google.com แทน หากสงสัยว่าเราใช้คุกกี้ทำอะไร อ่าน นโยบายคุกกี้ เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม

ยอมรับ ปฏิเสธ
คำประกาศการใช้คุกกี้

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these cookies, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may have an effect on your browsing experience.
Necessary
Always Enabled

Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. This category only includes cookies that ensures basic functionalities and security features of the website. These cookies do not store any personal information.

Non-necessary

Any cookies that may not be particularly necessary for the website to function and is used specifically to collect user personal data via analytics, ads, other embedded contents are termed as non-necessary cookies. It is mandatory to procure user consent prior to running these cookies on your website.